Blog

สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสสิ้นพระชนม์

สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสสิ้นพระชนม์ แม้ว่าผมและสมเด็จพระสันตปาปา ฟรานซิส จะมีความเชื่อต่างนิกายกัน แต่ผมเคารพศรัทธาและชื่นชมในชีวิต คำสอนและการรับใช้ของพระองค์เป็นพิเศษ วันนี้ ผมทราบข่าวการสิ้นพระชนม์ (21 เมษายน 2025) จากสำนัวาติกัน (ผ่านTheStandardNews) ที่เผยแพร่แถลงการณ์ว่า โป๊ปฟรานซิส สิ้นพระชนม์แล้ว ด้วยพระชนมายุ 88 พรรษา! การสิ้นพระชนม์ของพระสันตปาปาเกิดขึ้นในช่วงไม่ถึง 24 ชั่วโมงหลังจากที่พระองค์ปรากฏตัวที่จัตุรัสเซนต์ปีเตอร์ ในวาติกัน และประทานพรแด่ชาวคริสต์เนื่องในวันอีสเตอร์ ผมประทับใจในเส้นทางสู่การเป็นประมุขศาสนจักรโรมันคาทอลิกของพระองค์ ดังนี้ สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส เป็นพระสันตะปาปาพระองค์ที่ 266 ของพระศาสนจักรโรมันคาทอลิก พระองค์มีพระนามเดิมว่า “ฮอร์เก มาริโอ แบร์โกกลิโอ” (Jorge Mario Bergoglio) เป็นชาวอาร์เจนตินา ประสูติในกรุงบัวโนสไอเรส เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 1936 เป็นบุตรคนโตจากพี่น้อง 5 คน บิดาชื่อมาริโอ เป็นผู้อพยพชาวอิตาลี และนักบัญชีที่ทำงานให้กับการรถไฟ ส่วนมารดาชื่อ เรจินา ซิโวรี พระองค์จบการศึกษาระดับปริญญาสาขาเคมีเทคนิคจากมหาวิทยาลัยบัวโนสไอเรส ก่อนเป็นบาทหลวง โดยเข้าศึกษาที่เซมินารี […]

ร้านปัญญาจารย์ งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

ร้านปัญญาจารย์ งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ 27 มีนาคม – 8 เมษายน 2025 สัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 53 งานหนังสือที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งปี สมาคมพระคริสตธรรมไทย (TBS) เปิดร้านปัญญาจารย์ ย.ยักษ์ ลดเยอะ 10-70% บูธ R29 hall 7 จำหน่าย พระคัมภีร์ หนังสือเด็ก วรรณกรรมคริสเตียน โปรโมชั่นเด็ดๆ และกิจกรรมสนุกๆ มากมาย รอให้เหล่านักอ่านมาช้อปกันอยู่ หนอนหนังสือทั้งหลายรีบพุ่งมากันเลย สมาคมพระคริสตธรรมไทย ขอขอบคุณ นักอ่านทุกท่านที่เข้ามาร่วมอ่าน ร่วมช้อป

ค่ายประจำปีคริสตจักรแห่งนิมิต “Move On เคลื่อนไปสู่ความสำเร็จ”

ค่ายประจำปีคริสตจักรแห่งนิมิต “Move On เคลื่อนไปสู่ความสำเร็จ” ณ โรบินสันศรีราชา จ.ชลบุรี สมาคมพระคริสตธรรมไทย มาออกร้านที่ค่ายประจำปีคริสตจักรแห่งนิมิต “Move On เคลื่อนไปสู่ความสำเร็จ” ณ โรบินสันศรีราชา โดยมีสินค้าของสมาคมฯมาให้เลือกช้อปมากมาย รวมถึงกิจกรรมเพื่อสนับสนุนพันธะกิจสมาคมฯอีกด้วย ร้านจะอยู่ตั้งแต่วันที่ 4-6 เมษายน พี่น้องที่อยู่ใกล้เคียงสามารถมาเยี่ยมชมร้านของเราได้ครับ

คุณรู้หรือไม่ เกิดอะไรขึ้นบ้างในยุครอยต่อระหว่าง พันธสัญญาเดิมกับพันธสัญญาใหม่ 11/25

คุณรู้หรือไม่ เกิดอะไรขึ้นบ้างในยุครอยต่อระหว่าง พันธสัญญาเดิมกับพันธสัญญาใหม่ ช่วงเวลาระหว่างพันธสัญญาเดิมกับพันธสัญญาใหม่นั้นยาวนานราว 400 ปี โดยนับจากพันธกิจ ของมาลาคีสิ้นสุดลงจนถึงเหตุการณ์ในพระกิตติคุณเริ่มต้นขึ้น ยุคนี้ยังถูกเรียกว่า “ยุคเงียบ” ด้วยเหตุที่พระเจ้าไม่ได้ส่งผู้เผยพระวจนะมาสื่อสารกับชนชาติของพระองค์ ช่วงเวลานี้มีเหตุการณ์สำคัญหลายอย่างเกิดขึ้น แต่ในที่นี้จะขอกล่าวโดยสังเขป สมัยอาณาจักรเปอร์เซีย (ประมาณปี 538-331 ก่อน ค.ศ.) อาณาจักรเปอร์เซียรุ่งเรืองขึ้นและมีชัยเหนืออาณาจักรบาบิโลน ชาวยิวที่ถูกนำไปเป็นเชลยในบาบิโลนต่อมาได้รับอนุญาตจากไซรัสกษัตริย์ชาวเปอร์เซียให้เดินทางกลับมายังปาเลสไตน์เป็นสามระลอก นำโดยเศรุบบาเบล เอสรา และเนหะมีย์ พวกเขาได้ฟื้นฟูชนชาติของพระเจ้าขึ้นใหม่โดยมีพระวิหารหลังที่สองที่พวกเขาสร้างเป็นศูนย์กลาง (2 พศด.36:22-23; อสร.1:1-4) ในขณะเดียวกัน พวกเขาก็ยังคงดำรง รักษากิจกรรมฝ่ายจิตวิญญาณอย่างอื่นที่ได้พัฒนาขึ้นในช่วงที่เป็นเชลย อาทิ การประชุมในธรรมศาลา (กจ.15:21) และการตีความหมายกับการสอนพระคัมภีร์โดยพวกอาลักษณ์และธรรมาจารย์ในยุคนี้ ชนชาติยิวสามารถปกครองตนเองได้โดยมีปุโรหิตเป็นผู้นำที่มีอำนาจปกครองทั้งทางด้านศาสนาและการเมือง โดยขึ้นตรงต่อผู้สำเร็จราชการแห่งเปอร์เซีย สมัยอาณาจักรกรีก (ประมาณปี 331-164 ก่อน ค.ศ.) อาณาจักรกรีกของอเล็กซานเดอร์มหาราชได้พิชิตอาณาจักรเปอร์เซียและขยายบริเวณไปไกลถึงลุ่มแม่น้ำสินธุ ในขณะเดียวกันก็เผยแพร่ภาษาและวัฒนธรรมกรีกไปด้วย จนราวปี 323 ก่อน ค.ศ. อเล็กซานเดอร์ก็สิ้นพระชนม์ บรรดาแม่ทัพของพระองค์ชิงอำนาจกันทำให้อาณาจักรกรีกถูกแบ่งออกเป็นสี่ส่วน อาณาจักรที่สำคัญสองอาณาจักรปกครองโดยราชวงศ์ปโตเลมี (มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองอเล็กซานเดรียในอียิปต์) และราชวงศ์เซลูซิด (มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองอันทิโอคในซีเรีย) ซึ่งผลัดกันครอบครองแคว้นยูเดีย โดยทีแรกราชวงศ์ปโตเลมีปกครองชาวยิวอย่างเป็นมิตรในช่วง […]

ฉบับที่ 12 เมษายน-มิถุนายน 2025

จากใจเลขาธิการ สวัสดีครับ สมาชิกและเพื่อนของ TBS ทุกท่าน อัลวิน ทอฟฟ์เลอร์ นักเขียนชื่อดังชาวอเมริกันได้กล่าวไว้อย่างน่าฟังว่า “คนที่ไร้การศึกษาในศตวรรษที่ 21 จะไม่ใช่คนที่อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ แต่คือคนที่ไม่สามารถเรียนรู้ ละวิถีเดิมที่เคยเรียนรู้มา และเรียนรู้ใหม่อีกครั้ง” พูดอีกอย่างได้ว่า การอ่านออก เขียนได้ ไม่เพียงพอต่อความอยู่รอดในศตวรรษนี้ เพราะทุกสิ่งรอบตัวเราเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วมาก วิธีการบางอย่างที่เคยใช้ได้ผลในอดีต วันนี้ก็ใช้ไม่ได้ผลแล้ว หรือผลที่ได้ไม่เหมือนเดิม ผู้ใดที่ไม่ยอมปรับตัวก็จะถูกทิ้งไว้ข้างหลัง TBS เล็งเห็นความสำคัญของการปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัย เพื่อจะยังคงสามารถรับใช้และเป็นพรต่อพี่น้องคริสเตียนคนไทยได้ ไม่ว่าจะรุ่นใหญ่หรือรุ่นใหม่ ไม่ว่าจะอยู่ในประเทศไทยหรือต่างประเทศ อาทิเช่น การใช้เทคโนโลยีในการประกอบการ แม้เราจะยังมีร้านจำหน่ายสินค้าที่พี่น้องจะสามารถมาหยิบจับได้ด้วยมือ ชมได้ด้วยตา เราก็วางจำหน่ายสินค้าของเราทางออนไลน์ด้วย ไม่ว่าจะเป็นลาซา ด้า หรือช้อปปี้ รวมทั้งเว็บไซต์ของ TBS (www.thai.bible) เรานำเสนอความรู้พระคัมภีร์ให้กับพี่น้องไม่เพียงผ่านสัมมนาที่ผู้เข้าร่วมมาพบกัน แต่ทางออนไลน์ด้วย เช่น การประชุมนำเสนอผลงานทางวิชาการด้านคริสต์ศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย (TTAC) ที่จัดขึ้นราวไตรมาสแรกของทุกปี TBS’s Friends ที่อยู่ในมือของคุณรวมทั้งทุกฉบับย้อนหลังก็สามารถอ่านได้บนเว็บไซต์ของเรา ในด้านของสื่อ TBS ก็อยู่บนโซเชียลมีเดียหลักๆ ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเฟซบุ๊ก อินสตาแกรม […]

พระอัครสังฆราชฟรังซิสเซเวียร์ วีระ อาภรณ์รัตน์ พระอัครสังฆราชองค์ใหม่ของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพ

พระอัครสังฆราชฟรังซิสเซเวียร์ วีระ อาภรณ์รัตน์ พระอัครสังฆราชองค์ใหม่ของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพ สมาคมพระคริสตธรรมไทยขอแสดงความยินดีเป็นอย่างยิ่งกับ พระอัครสังฆราชฟรังซิสเซเวียร์ วีระ อาภรณ์รัตน์ เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสทรงแต่งตั้งท่านเป็น พระอัครสังฆราชองค์ใหม่ของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพ ขอพระเจ้าทรงสถิตกับท่านและโปรดอำนวยพระพร ให้ท่านประสบความรุ่งเรืองตลอดวาระการรับตำแหน่งใหม่ในครั้งนี้ พิธีเข้ารับตำแหน่งพระอัครสังฆราชแห่งอัครสังฆมณฑลกรุงเทพ ของพระอัครสังฆราช ฟรังซิสเซเวียร์ วีระ อาภรณ์รัตน์ วันอาทิตย์ที่ 2 มีนาคม ค.ศ. 2025 | เวลา 17.30 น. ณ อาสนวิหารอัสสัมชัญ กรุงเทพมหานคร

TBStory I พระคัมภีร์เปลี่ยนวิถี สู่ชีวีแห่งความหวัง | คุณชลวีร์ วัฒกีเจริญ

TBStory I พระคัมภีร์เปลี่ยนวิถี สู่ชีวีแห่งความหวัง | คุณชลวีร์ วัฒกีเจริญ TBStory เรื่องราวของผู้คนที่ชีวิตพลิกผันเพราะพลังของพระคัมภีร์ Ep.11 คุณชลวีร์ วัฒกีเจริญ เติบโตในครอบครัวคริสเตียนและเริ่มค้นพบความหมายของชีวิตผ่านพระคัมภีร์ในช่วงวัยรุ่น หลังจากได้รับความหวังจากข่าวประเสริฐ เขาตัดสินใจศึกษาพระวจนะอย่างจริงจังและนำมันมาใช้ในชีวิตประจำวัน ทำให้เขามีเป้าหมายในชีวิตที่ชัดเจนและมีความสันติสุขจากการดำเนินชีวิตตามคำสอนของพระเจ้า ขอเชิญร่วมสนับสนุนพันธกิจกับเรา ได้ที่ ธนาคารกรุงเทพ สาขาอินทามระ ชื่อบัญชี สมาคพระคริสตธรรมไทย เลขที่บัญชี 138-0-86415-5 และส่งสำเนาโอนเงินมาที่ Line : @thaibible แจ้ง ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ เบอร์โทร เพื่อสมาคมฯ จะทำการออกใบเสร็จรับเงิน ให้ท่านต่อไป ขอพระเจ้าอวยพร Bank details for donations Bank name : Bangkok Account name : Thailand Bible Society Account number : 138-0-86415-5  

คุณรู้หรือไม่ การแบ่งบทและข้อในพระคัมภีร์ มีความเป็นมาอย่างไร 10/24

คุณรู้หรือไม่ การแบ่งบทและข้อในพระคัมภีร์ มีความเป็นมาอย่างไร 10/24 สำหรับเราในทุกวันนี้ เลขบทและเลขข้อในพระคัมภีร์ช่วยให้เราค้นหาพระคัมภีร์ตอนต่างๆ ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม เลขบทและเลขข้อเหล่านี้มิได้มีอยู่ในต้นฉบับดั้งเดิมของพระคัมภีร์ แล้วสิ่งนี้มีความเป็นมาอย่างไร แม้ต้นฉบับดั้งเดิมของพระคัมภีร์ไม่มีเลขบทและเลขข้อ การแบ่งตอนของเนื้อหาก็มีมาอย่างยาวนานแล้ว เช่น ในม้วนคัมภีร์ทะเลตาย (ประมาณศตวรรษที่ 2 ก่อน ค.ศ.) มีการแบ่งเนื้อหาออกเป็นย่อหน้า เพื่อช่วยให้อาลักษณ์คัดลอกเนื้อหาได้อย่างถูกต้อง และเพื่อใช้อ่านในโอกาสหรือเทศกาลต่างๆ ขณะที่การอ้างอิงพันธสัญญาเดิมของพระเยซูคริสต์และบรรดาผู้เขียนพันธสัญญาใหม่ดูจะไม่ได้อิงกับการแบ่งย่อหน้าเช่นนี้เท่าไรนัก อย่างไรก็ดี ร่องรอยของการแบ่งบทและข้อในพันธสัญญาเดิมนั้นพอจะพบได้ในหนังสือมิชนาห์ (ตำราอธิบายและแนะแนวทางการประยุกต์ใช้พระคัมภีร์ฮีบรูของบรรดารับบี ประมาณช่วงศตวรรษที่ 1 ก่อน ค.ศ. จนถึงศตวรรษที่ 3) โดยเนื้อหาตอนหนึ่งได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการอ่านและตีความหมายพระคัมภีร์ว่า ถ้าผู้ใดจะอ่านถ้อยคำของธรรมบัญญัติหรือผู้เผยพระวจนะ ก็จงให้ผู้นั้นอ่านไม่น้อยกว่าสามข้อขึ้นไป (Mishnah Megillah 4:4) ถึงกระนั้น ดูเหมือนว่าการแบ่งบทและข้อในพันธสัญญาเดิมก็ยังไม่มีรูปแบบที่เป็นมาตรฐาน จนกระทั่งประมาณช่วงศตวรรษที่ 6 เป็นต้นไป สำเนาโบราณฉบับมาโซเรติก (สำเนาพระคัมภีร์ฮีบรูที่ถือว่ามีเนื้อหาสมบูรณ์ที่สุดและมักใช้เป็นตัวบทมูลฐานสำหรับการศึกษาและการแปลพระคัมภีร์ในปัจจุบัน) ได้มีการแบ่งบทและข้อที่ดูใกล้เคียงกับที่เรามีอยู่ในปัจจุบัน (โดยส่วนใหญ่เป็นผลงานของอาลักษณ์สกุลเบน-อาเชอร์) ส่วนต้นฉบับพันธสัญญาใหม่ภาษากรีกนั้น แม้สำเนาโบราณหลายฉบับจะมีการแบ่งย่อหน้า ก็มีหลายฉบับที่ไม่ได้แบ่ง บางฉบับไม่มีกระทั่งการเว้นวรรคระหว่างคำและประโยค นอกจากนี้ สำเนาพระคัมภีร์ภาษาละตินฉบับต่างๆ ตั้งแต่ศตวรรษที่ 4 เป็นต้นมาจนถึงยุคกลางก็มีการแบ่งบทและข้อที่แตกต่างกัน […]

TBStory I 35 ปีแห่งการรับใช้เพื่อพระคัมภีร์ไทยและชนเผ่า | คุณจงลักษณ์ ตะริโย

TBStory I 35 ปีแห่งการรับใช้เพื่อพระคัมภีร์ไทยและชนเผ่า | คุณจงลักษณ์ ตะริโย TBStory เรื่องราวของผู้คนที่ชีวิตพลิกผันเพราะพลังของพระคัมภีร์ Ep.10 การทำงาน 35 ปีของคุณจงลักษณ์ ตะริโย ที่สมาคมพระคริสตธรรมไทย เริ่มต้นจากการพัฒนาตัวหนังสือภาษาไทยบนคอมพิวเตอร์ เพื่อสร้างพระคัมภีร์ไทยให้เล็กและพกพาได้ง่าย ตอบโจทย์ผู้ใช้งานในยุคนั้น ต่อมางานได้ขยายไปสู่การสร้างพระคัมภีร์ในภาษาชนเผ่าต่างๆ เช่น สกอกะเหรี่ยง ซึ่งเป็นเล่มแรกที่สำเร็จผ่านคอมพิวเตอร์ เรื่องราวนี้สะท้อนถึงการรับใช้ ด้วยความเชื่อ ความอดทน และพระคุณของพระเจ้าที่ทำให้พันธกิจสำเร็จ และสร้างผลกระทบต่อคนไทยและชนเผ่าทั้งในประเทศและต่างประเทศ ขอเชิญร่วมสนับสนุนพันธกิจกับเรา ได้ที่ ธนาคารกรุงเทพ สาขาอินทามระ ชื่อบัญชี สมาคพระคริสตธรรมไทย เลขที่บัญชี 138-0-86415-5 และส่งสำเนาโอนเงินมาที่ Line : @thaibible แจ้ง ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ เบอร์โทร เพื่อสมาคมฯ จะทำการออกใบเสร็จรับเงิน ให้ท่านต่อไป ขอพระเจ้าอวยพร Bank details for donations Bank name : Bangkok […]

ฉบับที่ 11 มกราคม-มีนาคม 2025

คุณรู้หรือไม่ สำหรับเราในทุกวันนี้ เลขบทและเลขข้อในพระคัมภีร์ช่วยให้เราค้นหาพระคัมภีร์ตอนต่างๆ ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม เลขบทและเลขข้อเหล่านี้มิได้มีอยู่ในต้นฉบับดั้งเดิมของพระคัมภีร์ แล้วสิ่งนี้มีความเป็นมาอย่างไร แม้ต้นฉบับดั้งเดิมของพระคัมภีร์ไม่มีเลขบทและเลขข้อ การแบ่งตอนของเนื้อหาก็มีมาอย่างยาวนานแล้ว เช่น ในม้วนคัมภีร์ทะเลตาย (ประมาณศตวรรษที่ 2 ก่อน ค.ศ.) มีการแบ่งเนื้อหาออกเป็นย่อหน้า เพื่อช่วยให้อาลักษณ์คัดลอกเนื้อหาได้อย่างถูกต้อง และเพื่อใช้อ่านในโอกาสหรือเทศกาลต่างๆ ขณะที่การอ้างอิงพันธสัญญาเดิมของพระเยซูคริสต์และบรรดาผู้เขียนพันธสัญญาใหม่ดูจะไม่ได้อิงกับการแบ่งย่อหน้าเช่นนี้เท่าไรนัก อย่างไรก็ดี ร่องรอยของการแบ่งบทและข้อในพันธสัญญาเดิมนั้นพอจะพบได้ในหนังสือมิชนาห์ (ตำราอธิบายและแนะแนวทางการประยุกต์ใช้พระคัมภีร์ฮีบรูของบรรดารับบี ประมาณช่วงศตวรรษที่ 1 ก่อน ค.ศ. จนถึงศตวรรษที่ 3) โดยเนื้อหาตอนหนึ่งได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการอ่านและตีความหมายพระคัมภีร์ว่า ถ้าผู้ใดจะอ่านถ้อยคำของธรรมบัญญัติหรือผู้เผยพระวจนะ ก็จงให้ผู้นั้นอ่านไม่น้อยกว่าสามข้อขึ้นไป (Mishnah Megillah 4:4) ถึงกระนั้น ดูเหมือนว่าการแบ่งบทและข้อในพันธสัญญาเดิมก็ยังไม่มีรูปแบบที่เป็นมาตรฐาน จนกระทั่งประมาณช่วงศตวรรษที่ 6 เป็นต้นไป สำเนาโบราณฉบับมาโซเรติก (สำเนาพระคัมภีร์ฮีบรูที่ถือว่ามีเนื้อหาสมบูรณ์ที่สุดและมักใช้เป็นตัวบทมูลฐานสำหรับการศึกษาและการแปลพระคัมภีร์ในปัจจุบัน) ได้มีการแบ่งบทและข้อที่ดูใกล้เคียงกับที่เรามีอยู่ในปัจจุบัน (โดยส่วนใหญ่เป็นผลงานของอาลักษณ์สกุลเบน-อาเชอร์) ส่วนต้นฉบับพันธสัญญาใหม่ภาษากรีกนั้น แม้สำเนาโบราณหลายฉบับจะมีการแบ่งย่อหน้า ก็มีหลายฉบับที่ไม่ได้แบ่ง บางฉบับไม่มีกระทั่งการเว้นวรรคระหว่างคำและประโยค นอกจากนี้ สำเนาพระคัมภีร์ภาษาละตินฉบับต่างๆ ตั้งแต่ศตวรรษที่ 4 เป็นต้นมาจนถึงยุคกลางก็มีการแบ่งบทและข้อที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น สำเนาพระกิตติคุณยอห์นภาษาละตินฉบับหนึ่งมีการแบ่งเนื้อหาออกเป็น 13 […]

1 2 3 79