การเสด็จกลับมาครั้งที่สองของพระเยซู ความหวังอันน่ายินดี (ตอนที่ 1)
พระคริสตธรรมคัมภีร์ คือสิ่งอัศจรรย์จากสวรรค์ที่มอบไว้แก่ชาวโลก ทุกคนมีสิทธิ์และโอกาสสัมผัสหนังสืออัศจรรย์นี้ด้วยตนเอง ยิ่งอ่านก็ยิ่งพบความจริง มีคำตอบสำหรับทุกคำถามของมนุษย์ยิ่งไปกว่านั้นผู้อ่านจะเห็นถึงแผนงานของพระเจ้าเพื่อโลกและมนุษย์หากเรานำเหตุการณ์ทั้งหมดในพระคัมภีร์มาวาดเป็นภาพปริทัศน์(ภาพกว้างมีหลายเหตุการณ์ Panorama) เราจะเห็นสิ่งที่เหลือเชื่อประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติจากจุดเริ่มต้นถึงตอนจบ ปรากฏให้เห็นอย่างน่าตื่นตา ตื่นใจ บทแรกของหนังสือเล่มนี้บรรยายกำเนิดโลก พระเจ้าทรงวางแผนให้โลกเป็นสวรรค์สำหรับมนุษย์ การสูญเสียสวรรค์และชีวิตนิรันดร์ ภาพพระเยซูเสด็จมาทนทุกข์ เพื่อไถ่มนุษย์คืนจากซาตานบนไม้กางเขน การเสด็จสู่สวรรค์ของพระองค์ และฉากสุดท้ายจบลงที่พระเยซูเสด็จกลับมายังโลกนี้เป็นครั้งที่สองและโลกได้รับการสร้างใหม่ คนชอบธรรมได้รับชีวิตนิรันดร์กลับคืนและพระเจ้าสถิตอยู่กับมนุษย์ตลอดไปเป็นนิตย์ พระธรรมวิวรณ์บทสุดท้าย สองข้อสุดท้าย กล่าวเป็นคำทูลเชิญพระเยซู และอำนวยพรแก่ผู้เชื่อทั้งหลายว่า “พระองค์ผู้ทรงเป็นพยานในเหตุการณ์เหล่านี้ตรัสว่า ‘เราจะมาในเร็วๆนี้แน่นอน’ อาเมน พระเยซูองค์พระผู้เป็นเจ้าเชิญเสด็จมาเถิดขอ พระคุณของพระเยซูองค์พระผู้เป็นเจ้าจงอยู่กับทุกคนเถิด อาเมน” (วว.22:20-21) พระดำรัส “เราจะมาในเร็วๆ นี้แน่นอน”คือ พระสัญญาสุดท้ายของพระเยซู ที่บันทึกไว้ในพระคัมภีร์เป็นถ้อยคำแห่งความหวัง เป็นพลังขับเคลื่อนคริตจักรและพันธกิจการประกาศข่าวดีไปทั่วโลกการเสด็จกลับมาครั้งที่สองของพระเยซูเป็นหลักความเชื่อสำคัญที่สุดของพระคัมภีร์ในพันธสัญญาเดิมกล่าวถึงเรื่องเกี่ยวกับ “วันของพระยาห์เวห์” เป็นวันอันมืดมิดของคนอธรรม แต่เป็นวันแห่งความชื่นชมยินดีของบรรดาผู้รักการเสด็จมาปรากฏของพระองค์ (อสย.35:4) “รักการเสด็จมาของพระองค์” (2 ทธ.4:8) พระเยซูตรัสถึงการเสด็จกลับมาของพระองค์ (ลก.21:27 ยน.14:1-4) ทูตสวรรค์ที่ปลอบโยนอัครสาวกเมื่อพระเยซูเสด็จกลับสู่สวรรค์ว่า “พระเยซูองค์นี้ที่ ทรง รับไป จาก ท่าน ทั้ง หลาย ขึ้น ไป ยัง สวรรค์ นั้น จะ เสด็จมาอีกในลักษณะเดียวกับที่ท่านทั้งหลายได้เห็นพระองค์เสด็จไปยังสวรรค์นั้น” (กจ.1:11) ผู้เขียนพระธรรมฮีบรูกล่าวว่า พระคริสต์ “ จะทรงปรากฏ เป็นครั้งที่สองไม่ใช่เพื่อกำจัดบาปแต่เพื่อนำความรอดมาให้บรรดาผู้ที่รอคอยพระองค์ด้วยใจจดจ่อ” (ฮบ.9:28) ความเชื่อนี้คือ “ ความหวังอันน่ายินดี” (ทต.2:13)
แม้เราไม่ทราบวันและเวลาที่พระเยซูจะเสด็จกลับมา(มธ.24:36) พระคริสต์ทรงให้สังเกตจากหมายสำคัญต่างๆ (มธ.24:3-33) ในการเตรียมตัวเพื่ออวสานการณ์นี้ เมื่อพระคริสต์จะทรง “ ตอบแทน ตาม การ กระทำของแต่ละคน” (วว.22:12) คริสตชนได้รับคำแนะนำว่าให้เฝ้าระวังและอธิษฐาน เพื่อเขาทั้งหลายจะ“ยืนอยู่ต่อหน้าบุตรมนุษย์ได้” (ลก.21:36)
ภาพการเสด็จมาครั้งที่สองของพระเยซูในพันธสัญญาเดิม
ศูนย์กลางของยุคสุดท้ายในพันธสัญญาเดิมคือ การเสด็จมาของพระยาห์เวห์ เรียกว่า“วันนั้น” (ศคย.14:9) เกี่ยวเนื่องกับ “ในเวลานั้น” (ยอล. 2:29)ดาเนียลเรียกว่า เป็น “เวลา” แห่งความรอดที่จะเกิดขึ้น (ดนล.12:1) “วันของพระยาห์เวห์” ที่กำลังจะมาถึงจึงเป็นวันสำคัญอย่างยิ่งยวดในประวัติศาสตร์ จะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงทั้งสังคม การเมือง และสภาพแวดล้อมของโลกอย่างสิ้นเชิง การเสด็จมาของพระยาห์เวห์จะนำไปสู่การเนรมิตสร้างใหม่ เพราะพระองค์ทรงเป็นพระผู้สร้างนอกจากนพี้ ระยาห์เวห์ทรงเป็นองค์เจ้านายเหนือความเป็นไปของมนุษยชาติและเป็นผู้เดียวที่จะนำโลกมาถึงวาระสุดท้าย (อมส.1:13 ดู วว.14:6-7)
พระราชกิจของพระยาห์เวห์ในยุคสุดท้าย
ผู้เผยพระวจนะเตือนอิสราเอลและบรรดาประชาชาติว่า“จงแสวงหาพระยาห์เวห์…จงแสวงหาความชอบธรรมจงแสวงหาความถ่อม ใจ” (ศฟย. 2:1-3) หากไม่เตรียมตัวให้พร้อม เขาจะไม่สามารถยืนอยู่ต่อหน้าความบริสุทธิ์ของพระยาห์เวห์ได้ อาโมสสรุปเสียงเรียกร้องของผู้เผยพระวจนะ เมื่อเขากล่าวว่า “โอ อิสราเอลเอ๋ย จงเตรียมตัวเพื่อจะเผชิญพระเจ้าของเจ้า” เพราะวันนั้น
- จะเป็นวันที่จะเกิดขึ้นจริงในโลกที่มนุษย์มิอาจรอดพ้นได้
- เป็นวันอันน่ากลัว
“เป็น วัน ที่ มี เมฆและ ความ มืด ทึบ” (ยอล.2:2 อมส. 5:18 ศฟย.1:15)วันแห่งพระพิโรธ (ศฟย.1:18, 2:2) “เป็นวันที่ทุกข์ใจและระทม” (ศฟย.1:15) เป็น “วันเพื่อการแก้แค้น” (อสย.34:8 ยรม.46:10) เวลาแห่งการลงโทษ (ฮชย.9:7) และ “วันลงโทษ” (อสย.10:3) เป็นวันพิพากษาประชากรของพระองค์และบรรดาประชาชาติ พระเจ้าจะเสด็จมาเพื่อลงโทษความไม่ซื่อสัตย์ พระองค์ซึ่งถูกละเมิดเหยียบย่ำ และเพื่อสร้างความยุติธรรม บรรดาผู้ล่วงประเวณี กดขี่ผู้อื่นหลอกลวงและสร้างความวุ่นวายจะต้องถูกปรับโทษ (อมส.2;7 มลค.3:5) รวมทั้งบรรดาผู้ปฎิบัติศาสนาดูหมิ่นพระเจ้าและหยิ่งยะโส (มลค.1:6-14; 3:7-9)
ถึงแม้พระยาห์เวห์ทรงเป็นองค์บริสุทธิ์ ผู้ทรงลงโทษบาป พระองค์ทรงเป็นพระเจ้าผู้ทรงเมตตาทรงกรุณายกโทษและช่วยให้รอดด้วย (อพย. 20:5-6อสย.6:6-7) บรรดาผู้กลับใจใหม่และเข้าสู่พันธสัญญาของพระองค์ (ยรม.31:31-34) จะได้รับความรอด (อสย.49:50 ยรม.26:13 อสค.18:31,32) คนที่เหลือจะอยู่รอดปลอดภัย แต่จะมีเพียงจำนวนน้อย อาโมสบรรยายว่า คนที่เหลืออยู่จะเป็นดังเช่น “ผู้ เลี้ยง แกะ ชิง (แกะ) ได้ ขา สอง ขา หรือ หูชิ้น หนึ่ง มา จาก ปาก สิงห์” (3:12) “ เหมือน ดุ้น ฟืน ที่เขา หยิบ ออก มา จาก กอง ไฟ” (4:11) เหมือนลูกมะกอกเพียงสองสามลูกที่เหลือจากการตีต้นให้ร่วงหล่น (อสย. 17:5-6) เหมือนครอบครัวของโนอาห์ทรี่ อดจากน้ำท่วมโลก ดังที่พระเยซูทรงตรัสไว้ว่า ในวันสิ้นยุคจะเหมือนยุคน้ำท่วม (มธ. 24:37-41)
การเสด็จกลับมาครั้งที่สองและชาวยิว
ชนชาติอิสราเอลเฝ้ารอยุคสุดท้ายของพวกเขา ด้วยหวังว่าชาติของตนจะกลับสู่สภาพเดิม ซึ่งจะ“ ตั้งมั่นอยู่เป็นนิตย์” (ดนล.2:44) และจะไม่ถูกทำลาย นั่นคือราชอาณาจักรของพระเมสสิยาห์จากเชื้อสายของดาวิด ตามพระสัญญา (2 ซมอ.7:12-16) โดยมีภาพที่ชัดเจนขึ้นในดาเนียล 7:13 ผู้จะมาบนก้อนเมฆมิใช่อื่นใด คือพระเจ้านั่นเอง (ดู อสค.1:4, 10:3-4) ความเป็นชาตินิยมของชาวยิวคือการได้เห็นราชอาณาจักรที่จะมาจากเบื้องบนพร้อมด้วยพระองค์ผู้ทรงประทับบนก้อนเมฆจากฟ้าสวรรค์
ในนิมิตของพระธรรมดาเนียลบทที่ 2 เผยให้เห็นภาพความเป็นไปของโลกในมุมมองของพระเจ้า จากคำอธิบายความฝันภาพปฏิมากรของพระราชาเนบูคัดเนสซาร์ โลกถูกแบ่งออกเป็นยุคบาบิโลน (605-539 กคศ.) มิโด-เปอร์เซีย (539-331กคศ.) กรีซ (331-168 กคศ.) และโรมัน (168กคศ.-ค.ศ. 476) ไม่มีอาณาจักรใดต่อจากโรม ในที่สุดหลังจากอาณาจักรแตกแยกเป็นประเทศใหญ่น้อย มีอาณาจักรใหม่ ซึ่งมีก้อนหินเป็นสัญลักษณ์ลอยมากระทบปฏิมากร หมายถึงราชอาณาจักรของพระเจ้าที่จะดำรงตลอดไปเป็นนิตย์ (ดนล.2:36-45) พระเยซูทรงตรัสว่าพระองค์คือศิลา(ลก. 20:17-18)
การเสด็จกลับมาครั้งที่สองในพันธสัญญาใหม่
พระคัมภีร์พันธสัญญาใหม่ยังคงใช้ถ้อยคำ “วันขององค์พระผู้เป็นเจ้า” ในพันธสัญญาเดิมมาใช้เมื่อกล่าวถึงการเสด็จกลับมาครั้งที่สองของพระคริสต์ด้วยเหตุนี้พระองค์จึงกล่าวถึงการเสด็จมาของพระองค์ด้วยถ้อยคำ เช่น “เมื่อถึงวันนั้น” (มธ.7:22)และ “ในเวลานั้น” (24:19) จะเป็น “วันสุดท้าย” (ยน.6:39) และ “วันพิพากษา” (มธ.10:15) อัครทูตเปาโลเรียกวันนั้นว่า “วันที่พระเจ้าทรงพระพิโรธ” (รม.2:5)และ “วันของพระเยซูคริสต์องค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา” (1 คร.1:8) อคัรสาวกเปโตรเรียกวันนี้ว่า “วันของพระเจ้า” (2 ปต.3:12)
นอกจากนี้ผู้เขียนพระคัมภีร์พันธสัญญาใหม่ใช้หัวข้อหรือถ้อยคำเกี่ยวกับการเสด็จกลับมาครั้งที่สองมากกว่าพันธสัญญาเดิม คำในภาษากรีกที่เราคุ้นเคยได้แก่คำว่า
Parousia (พารูเซีย) แปลว่า “การมาถึง” “การมา” หรือ “ปรากฏ” พันธสัญญาใหม่ใช้คำนี้ 25 ครั้ง เปาโลใช้คำว่า “วันขององค์พระผู้เป็นเจ้า” มีความหมายเดียวกับพารูเซีย (1 ธก.4:12; 5:2) เปโตรใช้คำนี้ “จงเฝ้ารอและเร่งวันของพระเจ้าให้มาถึง” (2 ปต.3:12) “พารูเซีย” จึงเกี่ยวโยงกับ “วันของพระยาห์เวห์”ในพันธสัญญาเดิม นอกจากนี้ “พารูเซีย” ใช้ในความหมายเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับราชวงศ์ มีการใช้ร่วมกับคำว่า “องค์พระผู้เป็นเจ้า”
Epiphaneia (หรือ epiphany เอพิฟานี) ในพันธสัญญาใหม่ใช้คำนี้ 5 ครั้ง หมายถึงการ “แสดงให้เห็น”“ปรากฏตัว” เป็นคำที่มีความสำคัญต่อคริสตชนเกี่ยวกับการเสด็จกลับมาอีกครั้งของพระคริสต์ สองในสี่คำที่ใช้ในพระคัมภีร์เกี่ยวข้องกับการส่องสว่างในที่มืด (ลก.1:79 กจ.27:20) อีกสองความหมายกล่าวถึงพระคุณและความรักของพระเจ้าในชีวิตของพระเยซูที่สามารถมองเห็นได้จากการเสด็จมาครั้งแรกของพระองค์ (ทต.2:11; 3:4) คำนี้ยังใช้ในสองความหมายทั้งการเสด็จมาปรากฏของพระคริสต์ก่อนวันเพ็นเทคอสต์ (2 ทธ.1:10) และในวันที่จะเสด็จกลับมาครั้งที่สอง (1 ทธ.6:14) ด้วยเหตุนี้ “เอพิฟานี” จึงกล่าวถึงสามเหตุการณ์สำคัญคือ การเสด็จมาประสูติ การเสด็จมาปรากฏหลังจากทรงเป็นขึ้นมาจากความตายและการเสด็จกลับมาครั้งที่สอง กล่าวถึงการเสด็จกลับมาของพระคริสต์
Apokalypsis (อะโพคาลปิ ซสิ ) คำนี้หมายถึง “การเปิดเผย” (วิวรณ์) หมายถึงในอดีตมีบางสิ่งปิดบังไว้ บัดนี้เปิดเผยให้เห็น คำนี้ใช้ในความหมายอันล้ำลึกของความรอด (รม.16:25) ข่าวประเสริฐ (กท.1:12)และแผนงานให้ติดตาม (2:2) หมายถึงการมาปรากฏภาพอันเต็มไปด้วยพระสิริของการเสด็จกลับมาครั้งที่สองจากสวรรค์ของพระเยซู ขณะนี้พระสิรินั้นยังปิดบังไว้ (ลก.17:30) เห็นได้ด้วยดวงตาแห่งความเชื่อเท่านั้น (อฟ.1:17, 19) แต่ในวันนั้นจะปรากฏให้เห็น(กจ.3:21) เมื่อพระองค์ผู้จะเสด็จมา จะมา พระองค์จะทรงเสด็จลงมาจากสวรรค์ด้วยพระสิริ (2 ธก.1:7;1 ปต. 4:13) บรรดาผู้เชื่อที่ยังมีชีวิตอยู่ เฝ้ารอวันนั้น (1 คร.1:7; 1 ปต.1:7)
ศูนย์กลางแห่งความหวัง
จากศัพท์ที่ยกมาตอนต้น เราได้เห็นความหมายอันน่าชื่นชมยินดี เกี่ยวกับวาระสุดท้าย หัวใจของพันธสัญญาเดิมคือความหวังการเสด็จมาของพระเจ้า ขณะที่หวังใจของพันธสัญญาใหม่ อยู่ที่การเสด็จกลับมาครั้งที่สองของพระเยซู ซึ่งรวบรวมเอาอวสานการณ์ของพระคัมภีร์ไว้ทั้งหมด ความเชื่อนี้นำไปสู่สิ่งต่างๆดังนี้
- ความหวัง การเสด็จมาของพระคริสต์คือความหวังแห่งความชอบธรรม (กท.5:5) ศักดิ์ศรี (คส.1:27) การเป็นขึ้นจากตาย (กจ.24:15) ความรอด(1 ธก.5:8) และชีวิตนิรันดร์ (ทต.1:2) โดยตั้งความหวังในพระเจ้า (1ทธ. 4:10) พระเยซูทรงสัญญาว่าจะเสด็จกลับมาอีกครั้ง (ยน.14:3,28) ทรงประกาศถึงพระรัศมีของพระองค์ (มธ.24:30) ทรงรับประกันว่าพระองค์จะไม่เป็นผู้พิพากษาอธรรมที่ไม่ยอมฟังเสียงร้องของบรรดาคนที่ร้องเรียกหาพระองค์ทั้งกลางวันและกลางคืน (ลก.18:6-8) บรรดาผู้อดทนจนถึงที่สุดและวางใจพระองค์จะไม่ผิดหวัง (มธ.10:22) ความหวังนี้ไม่ควรนำไปเทียบกับความหวังใจตามความหมายของภาษามนุษย์ เพราะความหวังในพระคัมภีร์มีสมอยึดมั่น (ฮบ.6:19) อยู่บนราชกิจอันเต็มด้วยฤทธานุภาพของพระเจ้าในอดีต ที่ทรงปลดปล่อยอิสราเอลจากอียิปต์ พระเยซูคริสต์ “ เสด็จมายังบ้านเมืองของพระองค์” (ยน.1:11) สิ้นพระชนม์แทนบาปของเราและทรงเป็นขึ้นมาจากตายเพื่อชำระเราทั้งหลายให้บริสุทธิ์ (รม.4:25) ความหวังตามพระคัมภีร์ตั้งอยู่บนศิลานี้ ซึ่งเป็นฤทธิ์เดชของพระเจ้า สำเร็จสมบูรณ์ในพระเยซู “ เมื่อทรงทำให้พระคริสต์เป็นขึ้นจากตายและทรงให้ประทับที่เบื้องขวาพระหัตถ์ของพระองค์ในสวรรค์ สถาน” (อฟ.1:20-21) นี่คือความหวังที่มีชีวิตตั้งอยู่บนความเป็นพระเจ้าผู้ทรงครอบครองของพระเยซู ผู้ทรงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นองค์พระผู้เป็นเจ้าและพระคริสต์ (กจ. 2:36) พระองค์ทรงดำรงตำแหน่งเป็น มหาปุโรหิตชั่วนิรันดร์ “ ผู้ ทรง นำหน้า เสด็จเข้า ไป(ในพระวิหาร) ก่อน แล้ว เพื่อ เรา” (ฮบ.6:19-20) ปราศจากพระเจ้าเราไม่มีหวัง (อฟ.2:12)โดยพระองค์ความหวังเสริมความเชื่อให้เข้มแข็ง (คส.1:4,5)
- มารานาธา (Maranatha) ความหวังในวาระสุดท้ายเป็นสิ่งที่คริสตชนทั้งหลายรักยิ่ง ความอดทนของคนสมัยก่อนแสดงออกในภาษาอาราเมค คำว่ามารานาธา (1 คร.16:22) ธรรมเนียมปฏิบัติของคริสตจักรยึดมั่นในความเชื่อนี้ในคำอธิษฐาน “ขอองค์พระผู้เป็นเจ้าเสด็จมาเถิด” (พระคัมภีร์ฉบับคิงเจมส์รักษารูปแบบคำเดิมว่า “let him be AnathemaMaranatha”) เหมือนคำอธิษฐานของพระเยซูที่รักษาคำเดิมว่า “อับบา” (Abba พ่อ) (มก.14:36) คำว่ามารานาธา แปลออกเป็นภาษากรีกอยู่ใน วว.22:20
คำอธิษฐานนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งของคริสตจักรในยุคแรก เพราะผู้เชื่อสมัยนั้นเชื่อและหวังใจว่าพระคริสต์จะเสด็จมาในสมัยของพวกเขา การเข้าร่วมพิธีมหาสนิท เป็นการแสดงออกถึงความคาดหวังการเสด็จมาของพระองค์ อัครทูตเปาโลกล่าวว่า การกินขนมปังและดื่มเหล้าองุ่น เป็นการประกาศด้วยความเชื่อว่า องค์พระผู้เป็นเจ้าจะเสด็จมา (1 คร.11:26) ความหวังใจและการประกาศการเสด็จกลับมาครั้งที่สอง คือหัวใจในพิธีของคริสตจักรในยุคแรก วันนี้เมื่อใกล้สิ้นปี ผู้คนทั่วโลกต่างเฝ้ารอให้ถึงวันคริสตมาส คริสตชนทั่วโลกต่างชื่นชมยินดีที่จะได้เฉลิมฉลองวันประสูติของพระเยซู ทว่าหากเรามองมุมกลับ ทุกครั้งที่เราฉลองวันคริสตมาส นั่นก็เท่ากับว่า เราเข้าสวรรค์ช้าไปอีกหนึ่งปี! (โปรดติดตามอ่านตอนที่ 2)
- ศาสนาจารย์ ดร.สุรเชษฐ์ อินสม