การเสด็จกลับมาครั้งที่สองของพระเยซู ความหวังอันน่ายินดี (ตอนจบ) 2/16

การเสด็จกลับมาครั้งที่สองของพระเยซูความหวังอันน่ายินดี (ตอนจบ)

ความเดิมจากตอนที่แล้ว กล่าวถึงแผ่นดินของพระเจ้าเกี่ยวข้องกับการเสด็จกลับมาครั้งที่สองและลักษณะการเสด็จกลับมาของพระเยซู ซึ่งแตกต่างจากการเสด็จมาครั้งแรกเมื่อสองพันปีที่แล้ว ในตอนสุดท้ายนี้เราจะมาหาคำตอบจากคำถามที่ว่าพระองค์จะเสด็จมาทำไม และทำไมการเสด็จมาจึงเนิ่นช้า?พระเยซูเจ้าของเราจะต้องเสด็จมาเพื่อให้แผนการไถ่ให้รอดสำเร็จ เพราะการเสด็จกลับมาครั้งที่สองคือคำตอบของพระเจ้าแก่มวลมนุษย์และแม้แต่ซาตานศัตรูของพระองค์ก็รู้ดีว่าพระเยซูจะเสด็จกลับมา มันจึงมุ่งมั่นแผนการทำลายอย่างไม่หยุดยั้งของพระประสงค์การเสด็จกลับมาครั้งที่สองของพระเยซู7 ประการ

1. พระเยซูเสด็จมาเพื่อรวบรวมบรรดาผู้ที่เลือกสรร
ในสมัยพันธสัญญาเดิม ปุโรหิตเป่าแตรเรียกประชาชนเมื่อมีการประชุมใหญ่อย่างไร(กดว. 10:2)ในวันสุดท้ายของโลก ทูตสวรรค์ผู้มีอำนาจจะเรียกคนทั้งหลาย “ ด้วยเสียงแตรที่ดังมาก” เพื่อรวบรวมบรรดาผู้ที่เลือกสรรไว้แล้วจากทั้งสี่ทิศ (มธ.24:31มก.13:27) การ “รวบรวม” สะท้อนให้เห็นถึงความหวังที่ชาวอิสราเอลใคร่เห็นพระเจ้าจะทรงรวบรวมบรรดาชาวยิวที่กระจัดกระจายไปทั่วกลับมา ตาม พระสัญญาของพระองค์(ตัวอย่าง ฉธบ.30:32-2016 180416.indd 14 4/5/2559 6:51อสย.43:3-5 อสค.39:27) หลังจากที่คนเหล่านั้นกระจัดกระจายไปทั่วโลก เพื่อเป็นพยานให้แก่พระ-เยซูคริสต์ (กจ.1:8) บรรดาสาวกจะมารวมตัวกันอีกครั้ง บรรดาผู้เชื่อของพระเยซูก็มีความหวังเช่นเดียวกัน เมื่อพระองค์จะทรงรวบรวมธรรมิกชนและรับทุกคนไปกับพระองค์

2. พระเยซูเสด็จมาเพื่อเรียกคนที่ตายแล้วให้เป็นขึ้นมา
บรรดาผู้เชื่อที่เสียชีวิตจะได้รับสิทธิพิเศษยิ่งที่มีส่วนในการเป็นขึ้นมาจากความตายของพระเยซู“ ถ้าเราเข้าสนิทกับพระองค์แล้วในการตายอย่างพระองค์ เราก็จะเข้าสนิทกับพระองค์ในการเป็นขึ้นจากตายอย่างพระองค์ (รม.6:5 ฟป.3:10) การเป็นขึ้นมาจากความตายของพระเยซูทำให้เรามีความหวังใจ (1 ปต.1:3; 1 ธส.4:14) เป็นสิ่งยืนยันพระสัญญาของพระองค์ (ยน.6:40) หากพระเยซูไม่เรียกให้คนตายคืนชีวิต ข่าวประเสริฐก็ไร้ความหมาย และความหวังของเราก็ไร้ประโยชน์ (1 คร.15:14-19) แตกต่างจากความเชื่อการตายแล้วไปสวรรค์ เพราะแผนงานของพระเจ้าเพื่อบรรดาผู้ที่ตายในพระคริสต์ยังไม่สำเร็จ จนกว่าจะถึงวันแห่งรัศมีอันยิ่งใหญ่ของการเป็นขึ้นมาจากความตาย ซึ่งเท่ากับแสดงว่าบรรดาผู้เชื่อพระองค์ยังคงพักผ่อนอย่างสงบ รอคอยเป็นขึ้นมาจากความตาย และรับบำเหน็จของตนเอง ออสก้า คัลแมน กล่าวไว้ว่า“ความหวังจากการเป็นขึ้นมาจากความตายในพระคัมภีร์ ไม่ได้มองไปที่จุดหมายปลายทางของแต่ละคน แต่กล่าวถึงผลรวมที่จะเกิดขึ้นจากราชกิจของพระคริสต์ นี่จึงเป็นเหตุผลว่าการเป็นขึ้นมาจากความตายของ ‘กายซึ่งต้องตาย ’ (รม. 8:11) จะเกิดขึ้นในวันสุดท้าย” (Le retour du Christ: Esperance de l’eglise selon le Nouveau Testament.1945.20)

เสียงแตรเพื่อเรียกบรรดาผู้ได้รับการเลือกสรรจะดังขึ้นเรียกคนที่ตายแล้ว “ด้วยเสียงแตรของพระเจ้าและทุกคนที่ตายแล้วในพระคริสต์จะเป็นขึ้นมาก่อน” (1 ธส.4:16) ทุกคนจะออกจากหลุมฝังศพของตนด้วยรัศมีเจิดจ้าบดบังสภาพที่ต้องตาย “ร่างกายที่ถูกหว่านลงนั้นเสื่อมสลายได้ ร่างกายที่เป็นขึ้นมานั้นไม่เสื่อมสลาย…สิ่งที่เสื่อมสลายได้นี้ต้องสวมด้วยสิ่งที่เสื่อมสลายไม่ได้และสภาพที่ต้องตายนี้ต้องสวมด้วยสภาพที่ไม่ตาย”(1 คร.15:42-44, 53) จากนั้นทุกคนจะเปล่งเสียงร่วมกับอัครทูต “ความตายก็ถูกกลืนเข้าในชัยชนะแล้ว โอความตายชัยชนะของเจ้าอยู่ที่ ไหน? โอ ความตายเหล็กในของเจ้าอยู่ที่ไหน?” (ข้อ 55)

3. พระเยซูเสด็จมาเพื่อเปลี่ยนแปลงบรรดาธรรมิกชนและรับทุกคน
บรรดาธรรมกิชนผู้มีชีวิตอยู่จะได้รับร่างกายใหม่ แม้ไม่เหมือนกับร่างกายนี้“พระองค์จะทรงเปลี่ยนแปลงร่างกายอันต่ำต้อยของเราให้ เหมือนพระกายของพระองค์ที่เต็มด้วยพระรัศมี” (ฟป.3:21) “ในพริบตาเดียว” (1 คร.15:51, 52) เพราะ“สิ่งที่เสื่อมสลายไม่มีส่วนในสิ่งที่ไม่เสื่อมสลาย” (ข้อ50) พระเจ้าทรงประสงค์ให้บรรดาผู้ที่ซื่อสัตย์ตลอดทุกยุคสมัย พร้อมทั้งบรรดาผู้ที่ยังมีชีวิต คนชอบธรรมที่เป็นขึ้นจากความตาย พร้อมหน้ากันรับไปบนอากาศ เพื่อร่วมโห่ร้องด้วยความชื่นชมยินดีในองค์พระผู้เป็นเจ้า (1 ธส.4:17)

4. พระเยซูเสด็จมาทำลายอำนาจของมารร้ายและคนชั่ว
พระเยซูจะเสด็จมาหยุดยั้งความทุกข์ยากทั้งหลาย ด้วยการทำลายบรรดาผู้ก่อสิ่งชั่วร้าย การกระทำนี้ ตอบคำทูลอธิษฐานของบรรดาผู้เสียสละชีวิตเพื่อข่าวประเสริฐ“ข้าแต่องค์เจ้านายผู้บริสุทธิ์และสัตย์จริงอีกนานเท่าใดพระองค์จึงจะทรงพิพากษาและแก้แค้นต่อคนทั้งหลายที่อยู่บนแผ่นดินโลกซึ่งหลั่งเลือดของเรา” (วว.6:19)คนอธรรมจะไม่สามารถทนต่อพระรัศมีเจิดจ้าของพระองค์ได้ พวก เขาจะ ขอให้พระเจ้าลงโทษ 6:5 ตนเอง “ร้องบอก ภู เขาและโขดหินว่า ‘จงล้มทับเราเถิด จงซ่อนเราไว้ให้พ้นจากพระพักตร์’….” (วว.6:16) อำนาจของสิ่งชั่วร้ายทุกอย่างจะถูกทำลายบรรดาคนชั่ว (2 ธส.2:8) ซึ่งมีสัญลักษณ์เรียกว่า“บาบิโลน” (วว.18:8; 19:2) สัตว์ร้ายและผู้เผยพระวจนะเท็จ (วว.19:20) และบรรดาผู้ร่วมงานกับพวกเขา (วว.19:21) หลังจากครบเวลาหนึ่งพันปีซาตานจะถูกเผาผลาญสิ้น (วว.20:10)

5. พระเยซูเสด็จมาเพื่อพิสูจน์พระเจ้า
การแก้ไขปัญหาความชั่วจะไม่ครบถ้วนเพียงทำลายผู้ก่อความชั่ว ตลอดเวลาที่ผ่านมา ความรักของพระเจ้าถูกตั้งคำถามเสมอมา การเสด็จกลับมาครั้งที่สองของพระเยซูจะเป็นการพิสูจน์ เมื่อคนอธรรมจะถูกทำลายเพราะพระรัศมีของพระองค์เป็นการบอกให้ทราบว่า การพิพากษาหลังหนึ่งพันปีไม่ได้มีเป้าหมายไปที่คนที่ทำผิดโดยไม่รู้ตัวและความผิดของใคร(วว.20:4-6,11-15) แต่เป็นการพิสูจน์พระเจ้าและการที่พระองค์ทรงปฏิบัติต่อมวลมนุษย์ (อฟ.3:10, 11) การพิสูจน์นี้เกิดจากการให้โลกคืนดีกับพระองค์โดยพระคริสต์ (2 คร.5:19) เพราะทุกสิ่งทุกอย่างสืบเนื่องมาจากพระองค์พระสิริเป็นของพระองค์ เป็นสิ่งแสดงให้เห็นว่า ในที่สุดแล้วความรัก พระคุณ ความยุติธรรมเป็นของพระเจ้า และพิสูจน์ให้จักรวาลได้รู้ว่าคนอธรรมจะเป็นขึ้นมาจากตายหลังหนึ่งพันปีแล้ว (ดู วว.20:11-15)

6. พระเยซูเสด็จมาเพื่อสร้างโลกใหม่
สรรพสิ่งในธรรมชาติตกอยู่ภายใต้อำนาจของบาป ต่างเฝ้ารอการสร้างขึ้นใหม่“เพราะสรรพสิ่งที่ทรงสร้างแล้วคอยด้วยความปรารถนา อย่างยิ่งให้บุตรทั้งหลายของพระเจ้าปรากฏ….ด้วยมีความหวังว่าสรรพสิ่งเหล่านั้นจะได้รอดจากอำนาจแห่งความเสื่อมสลายและจะเข้าในเสรีภาพและศักดิ์ศรีแห่งลูกๆของพระเจ้า” (รม.8:19-20) บรรดาคนที่ได้รับการเลือกสรรไว้แล้วไม่ต้องสร้างสิ่งปรักหักพังขึ้นมาใหม่ หรือลบซากผลแห่งความชั่วร้ายของสังคมมนุษย์ พระเจ้าจะทรงสร้างสวรรค์และโลกใหม่ “เพราะดูสิเราสร้างฟ้าสวรรค์ใหม่และสร้างแผ่นดินโลกใหม่เพราะสิ่งเก่าก่อนนั้นจะไม่ถูกจดจำและไม่นึกขึ้นในใจอีก” (อสย.65:17; 66:22;2 ปต.3:13 วว.21:1) เมื่อทุกสิ่งกลับคืนสู่สภาพเดิมบรรดาผู้ได้รับการไถ่ให้รอดจะเข้าใจแผนการไถ่ให้รอดอันยิ่งใหญ่ของพระเจ้าทั้งหมด

7. พระเยซูเสด็จมาเพื่อนำการคืนดีที่สมบูรณ์กลับคืน
ไม่มีสิ่งใดที่พระทัยของพระเจ้าทรงชื่นชมยินดียิ่งไปกว่าการที่ทุกสิ่งกลับคืนสู่พระองค์โดยทางพระเยซูคริสต์“พระเจ้าพอพระทัยที่จะให้ความบริบูรณ์ทั้งหมดคำรงอยู่ในพระองค์และโดยพระองค์พระเจ้าทรงให้ทุกสิ่งคืนดีกับพระองค์เองไม่ว่าสิ่งนั้นจะอยู่บนแผ่นดินโลกหรืออยู่บนสวรรค์โดยทรงทำให้เกิดสันติภาพโดยพระโลหิตแห่งกางเขนของพระองค์” (คส. 1:19-20; 2 คร. 5:20 อฟ.1:9, 10) บัดนี้ การติดต่อกับสวรรค์และมนุษย์ที่ถูกรบกวนด้วยความบาป (อสย. 59:2) จากนี้พระเจ้าจะทรงอยู่ท่ามกลางประชากรของพระองค์ (วว.21:3) และบรรดาผู้ได้รับความรอดจะอยู่กับองค์พระผู้เป็นเจ้าของเขาตลอดไปเป็นนิตย์ (1ธส. 4:17) จากเหตุผลทั้งหมดนี้ การเสด็จกลับมาครั้งที่สองพระเยซูจึงทำให้การตรวจสอบการประพฤติก่อนการพิพากษาเกิดขึ้นก่อนการเสด็จมา (ดนล.7:9-14) คำอุปมาในพระธรรมมัทธิว บทที่ 25ทำให้เห็นชัดเจน บอกล่วงหน้าว่าอนาคตของผู้ประพฤติตน ในระหว่างรอการเสด็จกลับมาจะได้รับผลอย่างไร เปาโลคาดหวังว่าท่านจะได้รับบำเหน็จเมื่อพระเยซูเสด็จกลับมาครั้งที่สอง ไม่ใช่การมาพิสูจน์การประพฤติของท่าน เมื่อเวลานั้นมาถึงท่านจะได้รับ “มงกุฎแห่งความชอบธรรม”(2 ทธ.4:8) พระเยซูทรงตรัสว่า “นี่แน่ะเราจะมาในเร็วๆนี้และจะนำ​บำเหน็จของเรามาด้วยเพื่อตอบแทนตามการกระทำ​ของแต่ละคน” (วว. 22:12)

ผลของความเชื่อการเสด็จกลับมาครั้งที่สองต่อผู้เชื่อ
การเชื่อเรื่องการเสด็จกลับมาครั้งที่สองของพระเยซูทำให้คริสเตียนมีมุมมองต่อชีวิตในโลกทั้งทางบวกและทางลบ การมองโลกในแง่ร้าย เป็นการมองเรื่องนี้แบบสุดขั้ว เช่น ในสมัยของเปาโล มีบางคนไม่ยอมทำงานเพราะคิดว่าไหนๆ พระเยซูก็จะเสด็จมาแล้ว(1 ธส. 4:11, 12, 2 ธส. 3:10-12) บางคนไม่แต่งงานหรือเลิกสัมพันธ์ฉันสามีภรรยา (1 คร. 7:3-5) บางคนแยกกับสามีหรือภรรยา (ข้อ10) อย่างไรก็ตาม มีคริสตชนจำนวนมากที่ยึดมั่นในการเสด็จกลับมาครั้งที่สอง เป็นสิ่งย้ำเตือน และผลักดันพวกเขาในการดำเนินชีวิตพร้อมสำหรับวันสำคัญนี้เป็นแสงสว่างเป็นเกลือบนแผ่นดินโลก (มธ.5:13-16) ชีวิตแต่ละวันดำรงอยู่ในพระคุณเกิดผลตามพระประสงค์ขององค์พระผู้เป็นเจ้า (ลก.13:6-9) ทำหน้าที่เป็นคนใช้ผู้มีปัญญา (ลก. 19:13-26 มธ.25:14-30) ยิ่งไปกว่านั้น ชีวิตของผู้เชื่อการเสด็จกลับมาครั้งที่สองสะท้อนออกมาในการแสดงออก ความคิดเห็น ลักษณะนิสัย สิ่งที่เห็นได้เช่น ความหวังใจ ความรัก ความถ่อมใจและความบริสุทธิ์

1. ความหวัง โดยการรับใช้พระเจ้าแห่งความหวัง ชีวิตที่เต็มล้นไปด้วยความชื่นชมยินดี สันติสุขและความเชื่อในการครอบครองร่วมกับพระคริสต์ในอนาคต(รม.15:13) ไม่มีเหตุการณ์ใดทำให้เขาสิ้นหวัง เพราะเขามีพระวิญญาณบริสุทธิ์เป็นมัดจำพระสัญญาในอนาคต ความหวังจึงเป็นสมอแห่งจิตวิญญาณ นาวาแห่งชีวิตทอดสมออยู่ในสถานศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้า “ความหวังที่เรายึดนั้นเป็นเสมือนสมอที่แน่นอนและมั่นคงของจิตใจ” (ฮบ.6:19-20) ความหวังจึงขจัด ความวิตก ความกลัวและความเจ็บปวด เสริมกำลังใจให้ผงกศีรษะเฝ้ารอองค์พระผู้เป็นเจ้าผู้จะเสด็จมา (ลก.21:28)

2. ความรัก พระเยซูมิได้ทรงเรียกให้ผู้ติดตามพระองค์ให้รักกันมากขึ้น เพราะใกล้เวลาที่พระองค์จะเสด็จกลับมาแล้ว หามิได้ การเสด็จกลับมาครั้งที่สองนั่นเองที่ดำรงความรักไว้อย่างต่อเนื่องอัครทูตเปาโลวางความรักไว้ตรงกลางระหว่างความเชื่อและความหวัง อยู่ตรงกลางระหว่างสิ่งที่พระเยซูได้ทรงกระทำเพื่อเรา และสิ่งที่พระองค์ยังคงกระทำเพื่อเราเมื่อทรงเสด็จมา(กท.5:5, 6)คริสตชนได้รับการเรียนให้ดำรงชีวิตอยู่ในโลกที่ขัดแย้งกับสิ่งที่เราเชื่อ เขาจึงมองสภาพการณ์ต่างๆ ขของโลกปัจจุบันด้วยความมั่นใจ เพราะพระเจ้าแห่งความรักจะทรงเผยชัยชนะของพระองค์อีกไม่นานความเชื่อ จึงแสดงออกมาด้วยความรัก พิสูจน์ให้เห็นว่าความหวังนี้เป็นจริงแน่นอน

3. ความถ่อมตน เมื่อทราบว่าปัจจุบันคือยุคสุดท้ายเป็นเวลาที่คริสตชนสังวรณ์ถึงการมีชีวิตอยู่ในโลกไม่ยึดติดกับสิ่งของในโลก ความร่ำรวยไม่ใช่เรื่องเสียหายแต่การคิดถึงแต่สิ่งเหล่านั้นซึ่งเป็นศัตรูกับไม้กางเขน เป็นสิ่งที่คริสตชนระมัดระวัง (ฟป. 3:18-19) ผู้รอคอยพระเยซู พระผู้ไถ่ เขาเป็น“พลเมืองแห่งสวรรค์” (ข้อ 20) จึงมีทัศนะในการใช้ชีวิตและดำเนินธุรกิจในโลกนี้ตามคำแนะนำของท่านเปาโล ผู้ไม่ยึดติดกับโลก “พวกที่เศร้าโศกเหมือนกับไม่ได้เศร้าโศก พวกที่ชื่นชมยินดีเหมือนกับไม่ได้ชื่นชมยินดี บรรดาคนที่ซื้อก็เหมือนกับว่าไม่มีอะไรเลยพวกที่ใช้ของโลกนี้ก็เหมือนกับว่าไม่ได้ใช้อย่างเต็มที่ เพราะระบอบของโลกนี้กำลังล่วงไป” (1 คร.7:30-31) ใช้ทรัพย์ที่ได้มาอย่างฉลาด “ส่วนพวกที่มั่งคั่งในชีวิตนี้ จงกำชับพวกเขาไม่ให้เย่อหยิ่งหรือมุ่งหวังในทรัพย์ที่ไม่ยั่งยืน แต่ให้มุ่งหวังในพระเจ้าผู้ประทานทุกสิ่งแก่เราอย่างบริบูรณ์ เพื่อให้เราได้ชื่นชมจงกำชับพวกเขาให้ทำการดี ให้ทำการดีมากๆให้เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และแบ่งปัน การทำเช่นนี้เป็นการสะสมทรัพย์ที่เป็นรากฐานอันดีสำหรับตนในภายหน้าเพื่อพวกเขาจะยึดมั่นในชีวิตที่แท้จริงนั้น” (1 ทธ.6:17-19)ให้แสวงหาแผ่นดินของพระเจ้าและความชอบธรรมก่อนสิ่งใด (มธ.6:19, 20, 33)คริสตชนเป็นทายาทของพระเจ้าและเป็น“ทายาทร่วมกับพระคริสต์” (รม.8:17) ตามคำแนะนำของท่านเปาโลที่ย้ำว่า “อย่า ลอก เลียน แบบอย่างคนในยุคนี้แต่จงรับการเปลี่ยนแปลงจิตใจแล้วอุปนิสัยของท่านจึงจะเปลี่ยนใหม่ เพื่อท่านจะได้ทราบพระประสงค์ของพระเจ้าจะได้รู้ว่าอะไรดี อะไรเป็นที่ชอบพระทัยและอะไรดียอดเยี่ยม” (รม.12:2)

4. มีชีวิตที่บริสุทธิ์ ผู้รอคอยการเสด็จกลับมาครั้งที่สองจะดำเนินชีวิตด้วยศีลธรรมอันสูงส่ง การเน้นสอนเรื่องนี้ไม่ถือว่าเป็นการย้ำเกินจำเป็น ด้วยว่าการรอคอยเพื่อเข้าสู่การพิพากษานั้น ทุกคนควรมุ่งดำรงชีวิตดีงาม“พวกท่านควรจะเป็นคนแบบไหนในการดำเนินชีวิตที่บริสุทธิ์และที่ยำเกรงพระเจ้า” (2 ปต. 3:11) ความเชื่อการเป็นขึ้นมาจากความตายนำมาซึ่งการเคารพในความเท่าเทียมของมนุษย์ทุกคน นำไปสู่การเห็นคุณค่าชีวิต และคุณค่าของเวลา (1 คร. 15:32-34) คริสตชนมิได้มีชีวิตอยู่ในโลกนี้ด้วยความหวาดกลัวการพิพากษาเพราะเขาทราบดีว่า “ไม่มีการลงโทษคนที่อยู่ในพระ เยซู คริสต์” (รม. 8:1) กระนั้นก็ตาม เขาจะต้องดำเนินชีวิตในฐานะของผู้ที่ได้รับการไถ่แล้วใช้ชีวิตตามความเชื่อ ตามคำแนะนำที่กล่าวว่า “ท่านจงอุตส่าห์ ประพฤติอย่างสมกับความรอด ของท่านทั้งหลายด้วยความเกรงกลัวและตัวสั่น…เพราะว่าพระ เจ้า เป็น ผู้ ทรง ทำ​การ อยู่ ภาย ใน พวก ท่าน ให้ท่าน มี ความ ประ สงค์ และ มี ความ สา มารถ ทำ​ตามชอบ พระทัย ของ พระ องค์” (ฟป. 2:12-13) ชีวิตที่ไม่ได้รับการชำระให้บริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์ จะไม่มีใครได้เห็นพระเจ้า “เพราะ ถ้า ปราศ จาก ความ บริสุทธิ์แล้ว ก็ จะ ไม่ มี ใคร ได้ เห็น องค์ พระ ผู้เป็น เจ้า เลย”(ฮบ. 12:14)

ข่าวการเสด็จกลับมาครั้งที่สองกระตุ้นการประกาศข่าวประเสริฐ
ข่าวการเสด็จกลับมาครั้งที่สองไม่ได้มีผลต่อการดำเนินชีวิตของคริสตชนเท่านั้น แต่เป็นข่าวที่กระตุ้นให้เกิดการประกาศข่าวประเสริฐ ก่อให้เกิดสิ่งต่อไปนี้

1. เวลาแห่งพระวิญญาณบริสุทธิ์ขณะที่รอคอย เป็นเวลาที่พระวิญญาณบริสุทธิ์จะทรงทำราชกจิในชีวิตของบรรดาผู้เชื่อ อิ่มเอิบด้วยความรู้สึกในการเร่งรีบทำหน้าที่ นำเอาของประทานทุกอย่างไปใช้เพื่อนำข่าวดีนี้ออกไปประกาศทั่วโลก

2. เวลาแห่งพระคุณ พระคัมภีร์เน้นให้คนทั้งหลาย“กลับใจใหม่” และ “เชื่อ” ในพระเยซู (มก.1:15 กจ. 3:19, 20) นี่คือโอกาสสุดท้ายของมนุษย์ไม่ต้องรอพรุ่งนี้ การกลับใจใหม่ต้องทำ “วันนี้” “วันนี้ ถ้า ท่าน ทั้ง หลาย ได้ ยิน พระสุรเสียงของ พระองค์ อย่า ให้ จิต ใจ ของ ท่าน ดื้อ รั้น” (ฮบ. 4:7)

3. เวลาเร่งด่วน การมีชีวิตรอการเสด็จมาของพระเยซู เป็นเวลาเร่งด่วน ทรง ทำพระ ราช กิจของ พระองค์อย่างเร่งรีบ เพราะเวลา“กำ​ลัง ใกล้ เข้ามา” (ยน. 9:4) เปาโลกระตุ้นผู้เชื่อว่า “จงใช้โอกาสให้ เป็น ประโยชน์เพราะว่าทุกวันนี้เป็นยุคสมัยที่ชั่วร้าย” (อฟ. 5:16 คส. 4:5) หากซาตานกระตือรือร้นในการทำงานเพราะ “มันรู้ว่าเวลาของมันมีน้อย” (วว. 12:12) คริสตชนควรมีความกระตือรือร้นเพียงใด? “ท่านควร จะ รู้ ว่า นี่ เป็น เวลา ที่ ควร ตื่น จาก หลับแล้ว เพราะว่าความรอดได้เข้ามาใกล้กว่าสมัยที่เราเริ่มเชื่อนั้น” (รม.13:11)

4. เวลาแห่งของประทานฝ่ายพระวิญญาณพระธรรมกิจการของอัครทูตแสดงให้เห็นการรอคอยโอกาส รับของประทานเพื่อการประกาศข่าวประเสริฐ (กจ.13:1-2) เพื่อการเสริมสร้างคริสตจักรให้เจริญขึ้น(อฟ.4:11-13) เพื่อให้สาวกทั้งหลายเป็นเกลือเป็นแสงสว่างแก่ชาวโลก

เตรียมจิตวิญญาณให้พร้อมสำหรับการเสด็จกลับมาของพระเยซู
พระเยซูทรงยกเรื่องของหญิงพรหมจารี10 คนมาเป็นอุปมาให้เห็นการเตรียมตัวของผู้รอคอยการเสด็จกลับมาครั้งที่สองของพระองค์ (มธ. 25:1-13) ขณะรอคอยเราจะรับใช้พระองค์เหมือนบ่าวผู้รอการกลับมาของนาย(มธ. 24:45-51) ผู้มีความผูกพันใกล้ชิด ติดสนิทกับพระองค์เท่านั้นจะมีโอกาสได้พบพระองค์ ดังนั้นคริสตชนจึงควรขอบพระคุณสำหรับโอกาสที่มีทุกวันได้กลับใจใหม่และเติบโตเพื่อการชำระให้บริสุทธิ์“เพราะ ถ้า ปราศจาก ความ บริสุทธิ์ แล้ว ก็ จะ ไม่ มี ใคร ได้ เห็น องค์ พระผู้ เป็น เจ้า เลย” (ฮบ.12:14) การมีอุปนิสัยที่บริสุทธิ์และศรัทธาแก่กล้าเป็นผลที่เกิดจากการรอคอยการเสด็จกลับมาครั้งที่สองด้วยการ “ดำเนิน ชีวิต ที่บริสุทธิ์ และ ที่ ยำ​เกรง พระ เจ้า” (1 ปต. 3:11)

ถ้าดูเหมือนว่าพระองค์เสด็จมาช้า
คริสตชนคาดหวังการเสด็จมาของพระคริสต์กว่า2,000 ปีแล้ว เป็นไปได้หรือไม่ที่การเสด็จกลับมาของพระองค์มีการ “ผัดผ่อน” หรือที่เลวร้ายกว่านั้นคือ “ยกเลิก” ไม่เสด็จมาเสียเลย? ผู้เชื่อจำนวนมากอาจคิดเช่นนี้ ทว่า ความคิดของบรรดาผู้มีชีวิตใกล้ชิดกับพระเยซูมากที่สุดหาได้คิดเช่นนั้นไม่ สำหรับเปาโลเปโตร ยากอบ ต่างกล่าวว่า วันนั้น “ ใกล้ เข้ามา” (รม.13:12 ยก.5:8, 1 ปต.4:7) พระเยซูทรงย้ำและยืนยันว่า “เราจะมาในเร็วๆนี้แน่นอน” (วว.22:20) อย่างไรก็ตามข้อพระธรรมอื่นๆ ชี้ให้เห็นว่าการเสด็จมาเป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต พระเยซูทรงเล่าคำอุปมาเรื่องเจ้านายที่เดินทางไกล (ลก.19:11-27) มัทธิวกล่าวว่ากว่าที่เจ้านายจะกลับมา “ ผ่านไปเป็นเวลานาน” (มธ. 25:19)อุปมาอื่นพระองค์ทรงชี้ให้เห็นการ “มาช้า” (24:48,25:5)พันธสัญญาเดิมกล่าวถึงวันขององค์พระผู้เป็นเจ้าว่าจะมาทั้งไกลและใกล้ (ฮบก.2:3 อสย. 2:2,20, 13:6 ศฟย. 1:14) แต่ไม่ว่า “บัดนี้” หรือ “ยังมาไม่ถึง” สิ่งที่พระเจ้าทรงประสงค์ให้เราทำคือ “จงคอยเรา คอยวันที่เราลุกขึ้นเป็นพยาน” (ศฟย.3:8) ท่านเปโตรกล่าวว่า การเฉื่อยช้าของพระองค์ มีสาเหตุจาก     “ไม่ ทรง ประ สงค์ ให้ ใคร พินาศ เลย แต่ประ สงค์ ให้ ทุก คน กลับ ใจ ใหม่” (2 ปต. 3:9) พระเจ้าไม่ได้เฉื่อยช้าทำตามพระสัญญา นักเขียนชื่อ จี. ซี.เบอร์คูเวอร์ กล่าวว่า “หากการเสด็จกลับมาของ

พระคริสต์ถูกยกเลิก ผลที่จะตามมาไม่เพียงแต่ความผิดหวังหรือไม่เป็นไปตามที่คาดคิดเท่านั้นแต่เป็นวิกฤตของความเชื่อในสัจจะและความน่าเชื่อถือของพระเจ้าเลยทีเดียว” พระสัญญาใดๆ ในพระคัมภีร์ไม่เคยผิดเลย (2 ปต.3:9 ฮบ.10:39) ดังนั้น ความแน่นอนในการเสด็จกลับมาครั้งที่สองจึงได้รับการยืนยันดังนี้

1. พระบิดาทรงยืนยันพระสัญญา การเสด็จกลับมาครั้งที่สองด้วยพระวจนะของพระองค์เองการเปลี่ยนแปลงพระดำรัสที่ออกจากพระโอษฐ์ก็เท่ากับขัดแย้งกับพันธสัญญาของพระองค์(สดด.89:35) เพราะพระองค์ “ไม่ ใช่ มนุษย์ ที่จะ มุสา”(กดว.23:19, 1 ซมอ.15:29) “พระ องค์ ก็ ยัง ทรง ไว้ซึ่ง ความ สัตย์ จริง” (2 ทธ. 2:13) “ขอ ให้ เรา ยัง คง ยึดมั่นในความหวังที่ประกาศรับไว้นั้นโดยไม่หวั่นไหวเพราะว่าพระองค์ผู้ประทานพระสัญญานั้นทรงซื่อสัตย์” (ฮบ.10:23)

2. พระบุตรทรงยืนยันการเสด็จกลับมา การเสด็จมาครั้งแรกยืนยันว่าจะมีการเสด็จกลับมาครั้งที่สองไม้กางเขนเป็นที่ให้คนทั้งหลายเป็นคนชอบธรรม เป็นหลักฐานยืนยันความมุ่งมั่นในการทำให้แผนการไถ่ให้รอดของบรรดาผู้เชื่อพระเยซูสำเร็จสมบูรณ์(รม. 5:8-10) “พระองค์ผู้ ไม่ทรงหวงพระบุตรของพระองค์เองแต่ประทานพระบุตรนั้นเพื่อเราทุกคน ถ้าเช่นนั้นพระองค์จะไม่ประทานสิ่งสารพัดให้เราด้วยกันกับพระบุตรนั้นหรือ” (รม.8:32) สะท้อนให้เห็นถึงความแน่นอน นอกจากนี้การเป็นขึ้นมาจากความตายของพระคริสต์ และการเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ชี้ไปในอนาคตอย่างชัดเจนว่าพระองค์จะเสด็จกลับมาแน่นอน พระคริสต์ทรงยืนยันด้วยพระองค์เอง “อย่าให้ใจของพวกท่านเป็นทุกข์เลย พวกท่านจงวางใจในพระเจ้าจงวางใจในเราด้วย ในพระนิเวศของพระบิดาเรามีที่อยู่มากมาย ถ้าไม่มีเราคงบอกท่านแล้ว เพราะเราไปจัดเตรียมที่ไว้สำหรับพวกท่าน เมื่อเราไปจัดเตรียมที่ไว้สำหรับท่านแล้ว เราจะกลับมาอีกและรับท่านไปอยู่กับเรา เพื่อว่าเราอยู่ที่ไหนพวกท่านจะได้อยู่ที่นั่นด้วย” (ยน.14:1-3)

3. พระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงยืนยัน การเสด็จกลับมาครั้งที่สองของพระเยซู การประทับอยู่ของพระวิญญาณในจิตใจของบรรดาผู้เชื่อและของประทานฝ่ายจิตวิญญาณ เป็นการยืนยันในพระสัญญา(2 คร.1:18 ฮบ.2:4) การประกาศข่าวประเสริฐ ตามพระบัญชาของพระคริสต์ มีความหมายและได้รับการเสริมกำลังจากความหวังในชีวิตที่จะได้รับ พระเจ้าจะไม่เรียกผู้ประกาศข่าวคนไหนให้ประกาศเรื่องนี้ จากนั้นไม่เป็นไปตามข่าวสารที่ประกาศอย่างแน่นอน เพราะข่าวนี้ “ซึ่งอยู่บนความหวังของชีวิตนิรันดร์ ที่พระเจ้าผู้ไม่ตรัสมุสาทรงสัญญาไว้ตั้งแต่ก่อนเริ่มต้นของกาลเวลา (ทต.1:2-3 ฮบ.1:1-3) จากเหตุผลทั้งหมดนี้ “การเฉื่อยช้า” ของพระเยซูจึงไม่ได้เป็นปัญหาของผู้เชื่อพระองค์กลับกลายเป็นสิ่งที่ให้ทำให้จุดมุ่งหมายของผู้เชื่อที่ทนทุกข์ยากอยู่ในโลกเกิดความหวังใจ แต่ละวันความหวังนี้นำมาซึ่งความชื่นชมยินดีที่เห็นจิตวิญญาณเกิดใหม่เข้ามาร่วมกับประชากรของพระเจ้าและแผ่นดินของพระองค์ คริสตชนจึงเผยแผ่ความรักความไว้วางใจในพระสัญญาของพระเจ้าและการเสด็จกลับมาครั้งที่สองของพระเยซูออกไป “เพราะอีกเพียงไม่นานพระ องค์ผู้จะเสด็จมาก็จะเสด็จมาและจะไม่ทรงชักช้า” (ฮบ. 10:37)พี่น้องทั้งหลาย อีกไม่นานสงครามฝ่ายจิตวิญญาณระหว่างพระคริสต์กับซาตานจะสิ้นสุดลงจากนั้น “พระเจ้าทรงให้ทุกสิ่งคืนดีกับพระองค์เองไม่ว่าสิ่งนั้นจะอยู่บนแผ่นดินโลกหรืออยู่บนสวรรค์โดยทรงทำให้เกิดสันดีภาพโดยพระโลหิตแห่งกางเขนของพระองค์” (คส.2:20 ; 1 คร.15:28) พระสัญญานี้จึงให้ความอบอุ่นใจ ความมั่นใจและสันติสุขแก่ทุกคนที่มีความหวังพระเยซูทรงตรัสยืนยันด้วยพระองค์เองว่า “นี่ แน่ะ เรา จะ มา ใน เร็วๆนี้ และ จะ นำบำ​เหน็จของ เรา มา ด้วยเพื่อ ตอบ แทนตาม การ กระ ทำ​ของ แต่ ละ คน” (วว.22:12) ในการตอบสนองนี้ “พระวิญญาณและเจ้า สาวกล่าวว่า‘เชิญเสด็จมาเถิด’ และให้คนที่ได้ยินกล่าวด้วยว่า‘เชิญ เสด็จมาเถิด’” (วว.22:17) บรรดาผู้เชื่อพระเยซูทั้งหลาย ท่านพร้อมจะตอบสนองคำเชิญชวนนี้หรือไม่ พร้อมไหมที่จะกล่าวพร้อมกับพระวิญญาณและเจ้าสาวว่า “อาเมน พระเยซูองค์พระผู้เป็นเจ้าเชิญเสด็จมาเถิด” (วว.22:20) ท่านพร้อมแล้วหรือยังที่จะพบกับองค์พระผู้เป็นเจ้า พระผู้ไถ่ผู้ทรงรักและปรารถนาให้ท่านไปอยู่กับพระองค์ตลอดนิรันดร์?

(หากท่านสนใจศึกษาการเสด็จกลับมาครั้งที่สองของพระเยซูสามารถศึกษาได้จากบทเรียน“พบแล้ว” ทางอินเตอร์เน็ต www.
thaivop.com รับฟังรายการสุขภาพที่ www.awr.org)

  • ศาสนาจารย์ ดร.สุรเชษฐ์ อินสม