ข้อคิดสะกิดใจ พินิจสาส์นวันสื่อในบริบทของการนำไปใช้

พินิจสาส์นวันสื่อในบริบทของการนำาไปใช้  แนวทางที่พระศาสนจักรมอบให้คริสตชน ไม่ใช่กฎระเบียบข้อบังคับแต่เป็นข้อเสนอแนะข้อคิดเห็นที่ผ่านการตกตะกอนทางความคิดและการเฝ้ามองการเคลื่อนไปของโลกด้วยสายตาแห่งจิตวิญญาณที่จาริกไปพร้อมกับโลกใบนี้แน่นอนคำถามเดียวกันอาจมีคำตอบหลากหลายสังคมไทยอาจตอบโลกของสื่อสารมวลชนกับการมาถึงของยุคทีวีดิจิตอลเพียงใครจะถือครองหรือได้ประโยชน์มากน้อยกว่ากันเม็ดเงินจะหมุนเข้ารัฐบาลเท่าไหร่ ใครจะถือสิทธิ์และช่วงชิงผลกำไรต่อปี ที่ถือว่าเป็นความก้าวหน้าขององค์กรท่ามกลางความเคลื่อนไหวอันร้อนระอุ พระศาสนจักรไม่ได้คิดแค่นั้นมาอ่านสาส์นวันสื่อมวลชนสากล ไปพร้อม ๆ กันกับการตีความให้เข้าใจมากขึ้นและปรับใช้ในชีวิต

ประเด็นที่ ปูพื้นฐานกันก่อน
ปกติแล้วพระศาสนจักรคาทอลิกมีหน่วยงานที่ดูแลเกี่ยวกับงานสื่อสารมวลชนชื่อว่า สมณสภาสื่อสารสังคม สันตะสำนัก โดยมีพระอัครสังฆราชเคลาดิโอ เชลลี เป็นประธาน และวันฉลองนักบุญฟรังซิส เดอ ซาลส์ คือวันที่ 24 มกราคม ของทุกปี องค์สมเด็จพระสันตะปาปาจะออกสาส์นที่เราเรียกว่าสาส์นวันสื่อมวลชนสากล ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 47 ในหัวข้อที่ว่า “เครือข่ายของสื่อมวลชน ประตูแห่งความจริงและความเชื่อช่องทางใหม่แห่งการเผยแผ่พระวรสาร” ออกในสมณสมัยของสมเด็จพระสันตะปาปากิตติคุณเบเนดิกต์ ที่ 16 แต่วันสื่อมวลชนจะอยู่ในเดือนพฤษภาคม ซึ่งมาสู่ยุคสมัยของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสแล้วสำาหรับพระศาสนจักรไทยเราทำการฉลองวันสื่อมวลชนสากลในอาทิตย์แรกของเดือนสิงหาคมที่เปิดประเด็นไว้แบบนี้เพราะผู้เขียนสังเกตว่าแม้จะมีผู้นำาต่างกัน แต่กระแสธารของความเป็นหนึ่งเดียว สามารถดำเนินต่อไปอย่างไม่ติดขัดเอกภาพภราดรภาพ ความเป็นหนึ่งเดียวกัน เป็นสิ่งที่พระศาสนจักรสื่อให้โลกได้เห็นเสมอมา

ประเด็นที่ ชัดเจนเมื่อย่อหน้าแรกบรรทัดที่สาม
กล่าวว่า “เครือข่ายการสื่อสารในแบบดิจิตอล ซึ่งช่วยเสริมสร้างเวทีใหม่” หน้าที่หนึ่งของสื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทยคือการติดตามความเคลื่อนไหวของสื่อมวลชน เพื่อตอบรับร่วมมือแบ่งปันความคิดเห็นในเวทีระดับต่างๆ ข้อมูลจากการประชุมเรื่องทีวีดิจิตอล ในเวทีเสวนาเรื่องประโยชน์สาธารณะจากการจัดสรรคลื่นความถี่ในกิจการทีวีดิจิตอล มีข้อมูลที่น่าสนใจคือ “ตามที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้กำาหนดการเปลี่ยนผ่านการรับส่งสัญญาณโทรทัศน์จากระบบอนาล็อกไปสู่ระบบดิจิตอลโดยมีเป้าหมายเริ่มทดลองการแพร่ภาพภายในปี 2556 เริ่มเปิดประมูลใบอนุญาตประกอบกิจการทีวีดิจิตอลได้ภายในกลางปี 2556 อีกทั้งยังได้กำหนดให้ครัวเรือนในเมืองใหญ่สามารถรับสัญญาณในระบบดิจิตอลได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80ภายใน 5 ปี จนสุดท้ายจะเริ่มกระบวนการยุติการให้บริการระบบอนาล็อกในช่วงเดือนมกราคม 2558 ซึ่งถือเป็นการปิดฉากยุคอนาล็อก สู่ยุคดิจิตอล ของวงการโทรทัศน์เมืองไทยอย่างเป็นทางการ” เวทีใหม่ของยุคดิจิตอลที่กำลังจะมาไม่ใช่ความน่าหวาดกลัวอีกต่อไป และไม่ใช่การเตรียมตั้งรับ แต่เป็นการที่เราจะเข้าไปมีส่วนร่วมใช้เส้นทางใหม่ เพื่อสื่อพระคริสต์อย่างไรต่างหาก

ประเด็นที่ ในจัตุรัสสาธารณะที่เปิดออก
ในสาส์นวันสื่อมวลชนสากล พระสันตะปาปาได้กล่าวถึงจัตุรัสเหมือนพื้นที่สาธารณะที่เปิดออกให้ผู้คนได้แบ่งปัน การแบ่งปันในโลกออนไลน์ดูเหมือนเป็นหัวใจหลักเราพบการกดภาพมากมายอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ทั้งในงานพิธี การเดินทาง ก่อนรับประทานอาหาร หัวใจของการกระทำแบบนี้มากไปกว่าการบันทึกเก็บไว้คือ“แบ่งปัน” แบ่งปัน ในมุมนี้ของสาส์นวันสื่อคือ แบ่งปันความคิดเห็น แบ่งปันข่าวสารข้อมูลอันแสดงถึงความสัมพันธ์ต่อกัน และสร้างชุมชนของผู้ที่รัก ชอบในสิ่งเดียวกัน นอกจากนั้นยังเป็นเวทีแสดงข้อคิดอันหลากหลายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ หัวใจของการแบ่งปันนี้ นำไปสู่ความเคารพ การให้เกียรติ และการคำนึงถึงความเป็นบุคคลของผู้อื่นด้วย

ประเด็นที่ เมื่อมีความคิดเห็นต่าง เราควรทำาอย่างไร?
ในสาส์นวันสื่อมวลชนฉบับนี้ ได้เตือนเราไว้ล่วงหน้าว่า คนจะให้ความนิยมชมชอบตัวบุคคล มากกว่าความสลักสำคัญและคุณค่าหรือในประเด็นของความคิดเห็นที่ต่างกัน พระสันตะปาปาได้เสนอทางออกไว้ดังนี้ การเสวนาและการโต้แย้งทางความคิดเห็นสามารถที่จะทำาให้เกิดความก้าวหน้าและเติบโตได้ เมื่อเรายอมรับความต่างนั้นเสียก่อน การยอมรับความต่างจึงเป็นการยอมรับในความหลากหลาย พระพรของพระน่าสนใจและเหมาะสมกับสถานการณ์ในสังคมไทย เวทีเสวนาในแง่มุมต่าง ๆ จึงควรถูกส่งเสริม แต่ทุกคนต้องมาด้วยสมองที่เปิด และใจที่กว้างพอจะรับความรู้สึกแห่งความเป็นบุคคลที่พระเจ้ารักทุกคนเท่าเทียมเสมอกันก่อน

ประเด็นที่ ภาษาใหม่ ไม่ใช่เพื่อให้ทันต่อเหตุการณ์เท่านั้น
ความรวดเร็ว เป็นแนวทางต้นๆ ของการสื่อสารในยุคปัจจุบัน การช่วงชิงพื้นที่ให้ได้ข่าวก่อนใครวงในแค่ไหนยิ่งดูยั่วยวนให้คนใคร่รู้และติดตามมากไปกว่านั้นคือนอกจากภาพนิ่งและถ้อยคำยังมีเสียงและภาพเคลื่อนไหว ยิ่งมีคลิปสั้น ๆ ประกอบ ยืนยันความเที่ยงตรงแม่นยำของสิ่งที่ปรากฏในสื่อ ยิ่งดูเหมือนว่ามาถูกทาง แต่สื่อในแบบศาสนาต้องการมากไปกว่านั้น “จำเป็นที่จะต้องใช้ภาษาใหม่ มิใช่เพื่อให้ทันกับเหตุการณ์เท่านั้นแต่โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อเป็นการช่วยให้คุณค่าอันสูงส่งของพระวรสารได้มีหนทางที่จะสามารถเข้าถึงจิตใจของมนุษย์ทุกคน” สื่อในมุมของศาสนา ไม่ได้เรียกร้องมาก แต่เรียกร้องให้เป็นประจักษ์พยานถึงสิ่งนี้ “คุณค่าพระวรสาร”

ประเด็นที่ คำาถามไหนที่จะพบในวงการสื่อสาร
สิ่งที่มนุษย์เฝ้าเพียรถาม และแสวงหาคำตอบอยู่ทุกวันคือ “ความรัก ความจริง และความหมายของชีวิต” คำว่าเครื่องมือยังสะท้อนมากกว่าอุปกรณ์ มนุษย์เป็นเครื่องมือที่เผยแสดงความรักของพระเจ้า เป็นความจริงของสิ่งสร้างและทุกวันจึงดำเนินไปเพื่อตอบคำถาม ความหมายของการมีชีวิตอยู่น่าสนใจมากขึ้นไปอีกตรงที่เมื่อนึกถึงพระวาจาของพระมากมายที่พูดถึงชีวิตของเรากับการทำงานของพระ การไว้วางใจในพันธกิจของพระเจ้าย่อมยิ่งใหญ่กว่าความไว้วางใจที่เรามอบให้

กับความพยายามของมนุษย์ในแวดวงดิจิตอล ในสาส์นวันสื่อได้ชี้ชวนให้เราดูชีวิตของประกาศกอิสยาห์ พระสุรเสียงของพระเจ้า “พระสุรเสียงที่ราบเรียบ เสียงที่แผ่วเบา” (1 พกษ. 19:11-12) แม้จะราบเรียบ แผ่วเบาแค่ไหน ผมก็เชื่อว่ายังเป็นน้ำเสียงที่มีพลังอยู่ดี เพราะตั้งมั่นอยู่ในพลังของความรักและความจริง

ประเด็นที่ อย่าหลงลืมหน้าที่คริสตชนในโลกใบนี้ ในโลกดิจิตอล
ในโลกดิจิตอลก็ยังมีเครือข่ายสังคมซึ่งช่วยให้พวกเราในปัจจุบันได้มีโอกาสอธิษฐานภาวนารำพึงและแบ่งปันพระวาจาของพระเจ้า แต่เครือข่ายเหล่านี้ก็สามารถเปิดทางให้มุมมองด้านอื่น ๆ ในความเชื่อของคนเป็นจำนวนมาก และยังพบกับความจริงถึงความสำคัญของการเผชิญหน้าสัมผัสกับชุมชนหรือแม้กระทั่งการแสวงบุญไม่มีอะไรต้องอธิบายเพิ่มเติม ถ้อยความชัดเจน และสามารถปฏิบัติได้ในสาส์นวันสื่อย่อหน้าท้าย ๆ

ประเด็นที่ เราได้รับเชิญให้ป่าวประกาศความรักของพระเจ้าจนสุดแดนแผ่นดิน
ปัจจุบัน ถ้ามีคำว่า “สื่อของคาทอลิกมีน้อย” คงต้องคิดใหม่ เรามีผู้ผลิตสื่อในพระศาสนจักรมากขึ้น ทั้งทำอย่างยิ่งจริงจัง ทั้งทำแบบสนับสนุนงานตนเอง ผมเห็นว่ายังมีช่องทางเปิดให้เราอีก 2 ทางที่น่าสนใจคือ การเผยแพร่ให้มากขึ้น และการนำไปสู่ช่องทางของเวทีระดับประเทศ ผมเคยถามครูคำสอนของสังฆมณฑลหนึ่งเล่นๆ ว่า ครูคาทอลิกนักเรียนคาทอลิก คือคนที่ทำให้เกิดโรงเรียนคาทอลิกใช่ไหม? คำตอบคือใช่…ผมเคยถามว่า แล้วโรงเรียนคาทอลิกมีห้องสมุดไหม? คำตอบคือมี…ผมถามต่อไปอีกว่า ห้องสมุดโรงเรียนคาทอลิกควรมีหนังสือเกี่ยวกับคาทอลิก หนังสือพิมพ์คาทอลิก นิตยสารคาทอลิก ใช่ไหม? คำตอบคือใช่… เป็นโลจิกที่ง่ายที่สุด แต่ในทางปฏิบัติคงไม่มีใครบังคับใคร ทุกคนพยายามทำดีที่สุด นี่คือคำตอบที่บอกว่า ควรเผยแพร่ให้มากขึ้น เรามีอีกหลายสนามของการเผยแพร่ โรงเรียนคาทอลิก โรงแรมที่พักที่มีเจ้าของเป็นคาทอลิก สำนักงานที่มีผู้บริหารเป็นคาทอลิก ห้องสมุดประชาชน ขายบ้างแจกบ้าง ช่วยเหลือกันประกาศความรักของพระส่วนเวทีด้านนอกอีกมากมาย สัปดาห์หนังสือต่าง ๆ การมีหนังสืออ่านนอกเวลาที่เป็นวรรณกรรมดี ๆ ของคาทอลิก เราให้นักเรียนในสถาบันเราอ่านได้ไหม การเปิดตัวหนังสือ เสวนาเกี่ยวกับเรื่องหนังสือ ไม่เพียงเท่านั้นในรายการโทรทัศน์ วิทยุ แวดวงศิลปิน เมื่อเราต้องเผยแพร่ก็แปลว่าต้องทำให้คนรู้จัก เมื่อเราต้องทำให้คนรู้จัก คำว่าอยากดังกับการเป็นที่รู้จักและเผยแผ่ความรักของพระ ต้องถูกจัดวางให้แม่นยำ ถ้าสื่อไม่เผยแสดงตัวเองก็คงผิดธรรมชาติ เราแสดงอะไรต่างหากคือธรรมชาติของเรา

ประเด็นที่ เราต้องประกาศข่าวดี
ประเด็นสุดท้าย เมื่อคำตอบชัดเจนแล้ว กลับโยนคำถามให้เราคริสตชนอย่างจังว่า ทุกสื่อที่เรามีในมือ ในอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ ในไอดีที่จดทะเบียน ในการแสดงความคิดเห็นส่วนตัว ในอินสตราแกรมที่เราแสดงภาพ ในการกดไลค์แต่ละครั้ง ในการทวิตข้อความ ให้ช่องทางที่เราอ่านข่าว ในรายการสนุกที่เรารับชม ในแอพพลิเคชั่นที่เราโหลดมาใช้ ในโทรศัพท์ที่เราพูดคุยสนทนา ฯลฯ เราเลือกประกาศข่าวดี เป็นข่าวดี และเผยแผ่ข่าวดี ข่าวดี

ที่ว่านี้ก็คือพระเจ้ารักเรา“ท่านทั้งหลายจงออกไปทั่วโลกประกาศข่าวดีให้มนุษย์ทั้งปวง” (มก.16:15)

คุณพ่ออนุชา ไชยเดช