ทำไมคำจารึกข้อหาพระเยซูบนไม้กางเขนในพระกิตติคุณสี่เล่มจึงไม่เหมือนกัน?
คำถาม : เหตุใดพระกิตติคุณทั้งสี่เล่มคือ มัทธิว มาระโก ลูกา และยอห์น จึงได้บันทึกคำจารึกบนป้ายที่ติดไว้บนกางเขนซึ่งใช้ตรึงพระเยซูคริสต์ด้วย ข้อความที่ไม่เหมือนกันเสียทีเดียว ดังนี้
- มัทธิว 27:37 “คนนี้คือเยซู กษัตริย์ของชนชาติยิว”
- มาระโก 15:26 มีคำจารึกข้อหาที่ลงโทษพระองค์ไว้ว่า “กษัตริย์ของพวกยิว”
- ลูกา 23:38 “คนนี้เป็นกษัตริย์ของพวกยิว”
- ยอห์น 19:19 ปีลาตให้เขียนป้ายติดไว้บนกางเขนอ่านว่า “เยซูชาวนาซาเร็ธ กษัตริย์ของพวกยิว”(จากพันธสัญญาใหม่ฉบับมาตรฐาน 2002)
คำตอบ : ผู้อ่านคงจะสงสัยว่าหากพระคริสตธรรม คัมภีร์เขียนขึ้นโดยการดลใจของพระวิญญาณบริสุทธิ์อย่างแน่นอนแล้ว ก็น่าจะไร้ข้อผิดพลาดและจะต้องสอดคล้องกันทุกประการ แต่เหตุใดพระกิตติคุณทั้งสี่เล่มที่บันทึกเรื่องราวเดียวกันจึงได้ระบุราย ละเอียดที่ยังแตกต่างกันอยู่บ้างในประเด็นนี้? แล้วข้อ ความจารึกที่แท้จริงคืออะไร?
เราทราบว่าปีลาตเป็นผู้คิดข้อ ความกล่าวหาพระเยซูที่ใช้ติดไว้บนป้ายเหนือพระเศียรของพระองค์บนไม้ กางเขน ความแตกต่างในประเด็นปลีกย่อยเหล่านั้นจึงเป็นที่ สงสัยของนักศึกษาพระคริสตธรรมคัมภีร์มานานหลายปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ “การ ไร้ข้อผิดพลาดของพระคัมภีร์” กลายเป็นประเด็นสำคัญยิ่งในการอภิปรายทางวิชาการในปัจจุบัน
จากข้อความในพระกิตติคุณทั้งสี่เล่มด้านบน เราจะสังเกตเห็นส่วนที่เหมือนกันคือ “กษัตริย์ของพวกยิว” (King of the Jews) เพราะเหตุใดส่วนนี้จึงสอดคล้องกัน? พระ ธรรมยอห์นได้ให้คำบอกใบ้ซึ่งมีคุณค่ามากคือ “พวกยิว จำนวนมากได้อ่านป้ายนี้ เพราะที่ที่เขาตรึงพระเยซูนั้นอยู่ใกล้กับกรุง และป้ายนั้นเขียนเป็นภาษาฮีบรู ภาษาลาติน และภาษากรีก” (ยอห์น 19:20)
บางทีป้ายซึ่งเขียนด้วยสามภาษานี้จะให้ความรู้กับ เราได้ในหลายๆ ประเด็น และประเด็นที่น่าสังเกตคือตัวปีลาตเองชำนาญภาษาลาตินซึ่งเป็นภาษาแม่ของชาว โรมัน นอกจากนั้น ปีลาตยังชำนาญภาษากรีกซึ่งเป็นภาษาที่ท่านใช้สนทนากับพวกที่มิใช่อิตาเลียน ในปาเลสไตน์ แต่แทบเป็นไปไม่ได้เลยที่ปีลาตจะเขียนเป็นภาษาฮีบรูหรือภาษาอาราเมค (ภาษาพูดของชาวยิว) ในส่วนของภาษาฮีบรูหรืออาราเมคนี้ พระธรรมยอห์น 19:20 ใช้ คำว่า Hebraisti ซึ่งไม่ได้หมายความว่า “(เขียน เป็น) ภาษาฮีบรู” แต่ “(เขียนเป็น) ภาษาอาราเมค” เราทราบข้อมูลนี้เพราะมีการใช้คำนี้ในที่อื่นๆ เช่น ยอห์น 5:2; 19:13, 17; 20:16 ซึ่งคำที่ใช้นั้นได้ให้ไว้ในรูปภาษาอาราเมคที่ถอด ออกมาเป็นอักขระกรีก
ดังนั้น เรื่องนี้จึงวิเคราะห์ได้ดังนี้
ยอห์น 19:19 บันทึก ว่า ปีลาตให้เขียนป้ายติดไว้บนกางเขนอ่านว่า “เยซู ชาวนาซาเร็ธกษัตริย์ของพวกยิว”
พระธรรมยอห์นเป็นพระธรรมเล่มเดียวที่อ้างถึง “ปี ลาต” “นาซาเร็ธ” และ “ป้าย” (ภาษาลาตินคือ titulus) นี่จึงเป็นหลักฐานที่สำคัญยิ่งที่บอก ให้เราทราบว่าท่านยอห์นได้บันทึกโดยอ้างถึงภาษาลาติน ดังนี้
IESVS NAZARENVS REX IVDAEORVM
นี่คือภาษาลาตินที่ได้รับการยืนยันว่าคริสต จักรยุคแรกได้ใช้ตัวอักษรแรกของคำลาตินแต่ละคำในจารึกนี้มาเรียงกันเป็นคำ ว่า ‘INRI’ และใช้เป็นสัญลักษณ์ที่ปรากฏในภาพวาดการ ตรึงที่กางเขนตั้งแต่ยุคแรกๆ
ลูกา 23:38 บันทึก ว่า “คนนี้เป็นกษัตริย์ของพวก ยิว”
ท่านลูกาเป็นชายที่ได้รับการศึกษาสูงคือเป็นแพทย์ (โคโลสี 4:14) และท่านได้เขียนพระกิตติคุณถึงผู้มี เกียรติชาวกรีกคือ“ท่านเธโอฟีลัส” (ลูกา 1:3) เราจึงมีเหตุผลเพียงพอที่จะสันนิษฐานว่าท่านลูกาน่าจะบันทึกตามจารึก ภาษากรีก
OUTOS ESTIN O BASILEUS TWN IOUDAIWN
มัทธิว 27:37 บันทึก ว่า “คนนี้คือเยซู กษัตริย์ของชนชาติยิว”
ข้อความนี้อาจจะเป็นภาษาอาราเมค เนื่องจากนักวิชาการ เช่น ปาเปียส เชื่อว่าพระกิตติคุณของท่านมัทธิวนั้นได้รับการบันทึกเป็นภาษาอาราเมคโดย ดั้งเดิม
aydwhyd aklm [ywXy and
มาระโก 15:26 บันทึก ว่า มีคำจารึกข้อหาที่ลงโทษพระองค์ไว้ว่า “กษัตริย์ ของพวกยิว”
มาระโกเป็นพระกิตติคุณที่เนื้อหาสั้นกว่าอีกสามเล่ม และเป็นพระกิตติคุณที่ให้ข้อมูลชีวประวัติโดยย่อของพระเยซูคริสต์ จุดประสงค์ของท่านมาระโกคือการเล่าเรื่องราวที่พระเยซูทรงกระทำมากกว่าที่ พระองค์ตรัส เช่น มาระโกได้ละเรื่องการประสูติของพระเยซู เช่นเดียวกับคำเทศนาบนภูเขาทั้งหมดและคำบอกเล่าอื่นๆ อีกมาก ฉะนั้น ตามลีลาการเขียนของท่านมาระโก เป็นไปได้ว่าท่านได้ย่อจารึกให้อยู่ในคำทั่วไปที่ทั้งสามภาษาใช้ คือ “กษัตริย์ ของพวกยิว” จากการวิเคราะห์ที่กล่าวมาแล้ว น่าจะสรุปเพิ่มเติมได้ดังนี้
ภาษาลาตินเป็นภาษาราชการ ดังนั้นคำจารึกภาษาลาตินจะต้องเขียนไว้บรรทัดบนสุดของป้าย และจะต้องมีการกำหนดความยาวของป้ายและขนาดของตัวอักษรให้พอดีกับคำจารึกใน บรรทัดเดียว และจะต้องให้ฝูงชนสามารถอ่านได้จากระยะไกล
ในยุคสมัยนั้น การเขียนข้อความจะไม่มีการเว้นวรรคระหว่างคำ ไม่ว่าจะเป็นภาษาใดก็ตาม ดังนั้น ป้ายภาษาลาตินที่ท่านยอห์นอ้างถึงจะประกอบด้วยตัวอักษรเพียง 26 ตัว และไม่มีช่องว่าง
ส่วนจารึกภาษากรีกของท่านลูกาประกอบด้วยตัวอักษร มากถึง 30 ตัว ดังนั้นจะต้องเขียนตัวอักษรให้เล็กกว่าภาษาลาตินเล็กน้อย จึงเป็นเหตุผลที่ชัดเจนว่าไม่มีที่พอสำหรับตัวอักษรอีก 16 ตัว สำหรับข้อความ “เยซูชาวนาซาเร็ธ” ในภาษากรีก (IHSOUS O NAZWRAIOS)
ส่วนในพระธรรมมัทธิว ข้อกล่าวหาในภาษาอาราเมคประกอบด้วยตัวอักษร 19 ตัว ซึ่งน้อยกว่าอีกสองภาษา และไม่มีการเขียนสระ ผู้ที่ช่วยปีลาตแปลป้ายเป็นภาษาอาราเมคไม่น่าจะใส่ข้อความ “ชาวนา ซาเร็ธ” เพราะอาจรู้สึกว่าไม่มีความสำคัญเพียงพอที่จะเป็นข้อ กล่าวหาที่รุนแรงต่อพระเยซูคริสต์นัก
เมื่อเรานำข้อมูลเหล่านี้มารวมกัน ก็มีความเป็นไปได้สูงว่าป้ายน่าจะเป็นดังด้านล่างนี้ โดยภาษาลาตินน่าจะถูกเขียนไว้ด้านบนสุด ต่อมาคือภาษากรีก และสุดท้ายคืออาราเมค
IESVSNAZARENVSREXIVDAEORVM
OUTOSESTINOBASILEUSTWNIOUDAIWN
aydwhydaklm[ywXyand
ด้วยบริบทและเบื้องหลังของผู้เขียนและวัฒนธรรมใน สมัยนั้น คำจารึกที่บันทึกบนแผ่นป้ายเหนือไม้กางเขนที่ใช้ตรึงพระเยซูคริสต์จึงแตก ต่างกัน แต่ความหมายหลักไม่ได้คลาดเคลื่อนและไม่ใช่ความผิดพลาดใดๆ ที่เกิดจาก การแปลพระคัมภีร์
- อ.ประณต บุษกรเรืองรัตน์
- ภาพ Kalawin – Freepik.com