ทำไมพระคัมภีร์ฉบับมาตรฐานเปลี่ยนจากคำว่า “เจิม” เป็น “ชโลม”?
ความจริงพระคริสตธรรมคัมภีร์ฉบับมาตรฐานยังคงรักษาคำว่า “เจิม” ไว้ในกรณีที่บริบทนั้นเกี่ยวข้องกับการแต่งตั้ง หรือ การคัดสรร แต่หากหมายถึงการชำระร่างกายก็จะใช้คำว่าชโลม เพราะคำว่า เจิมในภาษาไทยนั้นมีความหมายไม่เหมือนกับคำว่า anoint ในภาษาอังกฤษทุกครั้ง ถ้าเราจะตรวจดูว่า คำว่า “anoint” เราก็จะพบคำแปลใน Dictionary English-Thai ฉบับ LEXiTRON แปลความหมายเป็นไทยว่า “แต่งตั้ง” หรือ “ทาด้วยน้ำมัน”
ความหมายของคำว่า “เจิม” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2542 ได้ให้คำนิยามว่าเอาแป้งหอมแต้มเป็นจุดๆ ที่หน้าผากหรือสิ่งที่ต้องการให้มีสิริมงคล; เสริม, เพิ่ม, เช่น เจิมปากกระทง สิ่งที่เราเห็นความแตกต่างที่ชัดเจนคือ ธรรมเนียมปฏิบัติในการเจิมของไทยคือ เอาแป้งหอมมาแต้มเป็นจุดๆ ที่หน้า
ผาก แต่ในขณะที่การเจิมของพระคัมภีร์เดิมนั้นจะใช้นำ้มันที่บรรจุในเขาสัตว์แล้ว เทลงบนศีรษะของผู้รับการเจิม คนไทยส่วนใหญ่เมื่อได้ยินคำว่า “เจิม” จะคิดถึงการเอาแป้งแต้มที่หน้าผากมากกว่าคิดถึงการเทน้ำมันลงบนศีรษะ
ในพระคัมภีร์เดิมมีคำกริยาฮีบรู 2 คำที่ใช้กับการชโลมและการเจิมด้วยน้ำมันมะกอกคือคำว่า “ซูค” มักจะใช้ในบริบทที่น้ำมันมะกอกนั้นเป็นยาหรือเครื่องสำอางที่ใช้กับร่างกาย และคำว่า “มาชาฆ” ซึ่ง เป็นคำกริยามักจะใช้กับบริบทที่เกี่ยวกับพิธีกรรมทางศาสนาคือ แต่งตั้ง หรือสถาปนาบุคคลได้แก่ มหาปุโรหิต กษัตริย์และผู้เผยพระวจนะ หรือเป็นการสถาปนาสถานที่สำคัญทางศาสนาหรือเครื่องใช้ไม้สอยในการนมัสการ เช่น แท่นบูชา พลับพลา เป็นต้น
ตัวอย่าง ของพระคัมภีร์เดิมที่ใช้คำว่า “ซูค” ได้แก่ใน ฉธบ. 28:40 ที่กล่าวว่า “ท่านจะมีต้นมะกอกอยู่ทั่วอาณาเขตของท่าน แต่ท่านจะไม่ได้น้ำมาชโลมตัว ท่าน เพราะว่าผลมะกอกของท่านจะร่วงหล่นเสีย” คำว่า “ชโลม” ในข้อนี้พระคัมภีร์ภาษาอังกฤษมักจะแปลว่า “anoint” แต่บริบทนี้ไม่จำเป็นต้องแปลว่าเจิม เพราะมันไม่เกี่ยวกับพิธีกรรมทางศาสนาเลย อีกตอนหนึ่งได้แก่ 2 ซมอ. 12:20 ที่กล่าวว่า “แล้วดาวิดทรงลุกขึ้นจากพื้นดิน ชำระพระกาย ชโลมพระองค์ เปลี่ยนฉลองพระองค์ ดำเนินเข้าไปในพระนิเวศของพระยาห์เวห์และนมัสการแล้วเสด็จกลับพระราชวังของ พระองค์ รับสั่งให้จัดอาหารมา แล้วพระองค์ก็เสวย” ถึงแม้ในบริบทนี้ไม่มีคำว่า “น้ำมัน” แต่คำว่า “ชโลม” ก็ทำให้เรานึกภาพออกว่าใช้น้ำมันมาชโลมร่างกาย บางครั้งคำว่า “ซูค” ไม่ได้ถูกแปลว่า “ชโลม” แต่จะถูกแปลว่า “ทา” เช่น นรธ 3:3 ที่นาโอมีบอกนางรูธว่า “จงอาบน้ำทาน้ำมันหอม สวมเครื่องแต่งกายแล้วลงไปที่ลานนวดข้าว แต่อย่าให้เขารู้ว่าเจ้าอยู่ที่นั่นจนกว่าเขาจะรับประทานและดื่มเสร็จแล้ว” เมื่อมีการไว้ทุกข์นั้นก็มีการละเว้นไม่ใช้น้ำมัน เช่นใน ดนล. 10:2-3 ที่ดาเนียลกล่าวว่า “ในคราวนั้น ข้าพเจ้าดาเนียลไว้ทุกข์อยู่ 3 สัปดาห์ ข้าพเจ้าไม่ได้รับประทานอาหารชั้นสูง เนื้อหรือเหล้าองุ่นก็ไม่ได้เข้าปากข้าพเจ้าข้าพเจ้าไม่ได้ชโลมตัวเลยตลอด 3 สัปดาห์
คำ ที่ลองคือคำว่า “มาชาฆ” นี้ใช้กับสถานที่และเครื่องใช้ทางศาสนา รวมทั้งบุคคลสำคัญ เช่น ใน อพย. 30:26-31 ที่พระยาห์เวห์ได้บัญชาโมเสสว่า “แล้วจงเอาน้ำมันนั้นเจิมเต็นท์นัดพบ หีบแห่งสักขีพยานโต๊ะและเครื่องใช้ทุกอย่างสำหรับโต๊ะ คันประทีบกับเครื่องใช้ประจำคันประทีป และแท่นเผาเครื่องหอม แท่นเครื่องบูชาเผาทั้งตัวและเครื่องใช้ทุกอย่างสำหรับแท่น ทั้งอ่างและฐานรองนั้น จงชำระของเหล่านี้ให้บริสุทธิ์ เืพ่อจะได้บริสุทธิ์ที่สุด สิ่งใดๆ มาถูกของเลห่านี้ก็จะบริสุทธิ์ไปด้วย แล้วเจ้าจงเจิมและชำระอาโรนกับบุตรของเขาให้บริสุทธิ์ เพื่อพวกเขาจะได้เป็นปุโรหิตปรนนิบัติเรา จงกล่าวแก่ชนชาติอิสราเอลว่า “นี่เป็นน้ำมันเจิมอันศักดิ์สิทธิ์สำหรับเราตลอดชั่วชาติพันธุ์ของพวกเจ้า” และเมื่อเราอ่านข้อ 32 ต่อไปเราจะพบว่าคำที่แปลว่าเจิมในภาษาฮีบรูเป้นคนละคำ “ห้ามเจิมคนสามัญด้วยน้ำมันนี้ น้ำมันนี้บริสุทธิ์ มันจะบริสุทธิ์สำหรับพวกเจ้า” เพราะคนสามัญไม่ได้รับการสถาปนา ซึ่งใน อพย. 29:29 ได้กล่าวถึงการเจิมและการสถาปนานั้นเป็นการกระทำที่ควบคู่กัน “เสื้อตำแหน่งบริสุทธิ์ของอาโรนจะเป็นของเชื้อสายของเขาสืบต่อไป ให้พวกเขาสวมเมื่อรับการเจิมและรับการสถาปนา” จากภาษาฮีบรูเราจะเห็นว่าในการสถาปนานั้น นอกจากจะมีการใช้น้ำมันเจิมแล้ว ยังมีการวางมือด้วย
นอกจากนี้คำว่า เมสสิยาห์ หรือ มาชีอาฆซึ่งเป็นคำคุณศัพท์ของคำว่า “มาชาฆ” ที่ถูกใช้ในความหมายของคำนามเพื่อกล่าวถึงบุคคลพิเศษที่ได้รับการเจิม เช่นมหาปุโรหิตดังใน ลนต.4:3 ที่กล่าวว่า “ถ้าปุโรหิตผู้รับการเจิมไว้ ทำบาป ย่อมนำความผิดมาสู่ประชาชน เนื่องจากบาปที่เขาทำให้เขานำโคหนุ่มไร้ตำหนิมาถวายแด่พระยาห์เวห์เป็น เครื่องบูชาลบล้างบาป” และสิ่งที่น่าสนใจคือในบางบริบทถึงแม้จะไม่มีคำกริยาตัวนี้ แต่เข้าใจได้ว่าเป็นการเจิมเช่นใน สดด. 133:2 “เหมือนน้ำ?มันประเสริฐอยู่บนศีรษะ ไหลลงมา?บนหนวดเครา บนหนวดเครา?ของอาโรน ไหลลงมา?บนคอเสื้อของท่าน”
นอก จากมหาปุโรหิตจะได้รับการเจิมแล้วกษัตริย์ก็ได้รับการเจิมด้วยดังปรากฏใน 1 ซมอ. 10:1 แล้วหรือ?” แต่เมื่อซาอูลไม่เชื่อฟังพระเจ้า พระองค์ก็ได้ปลดซาอูลออกจากการเป็นกษัตริย์และให้ซามูเอลไปเจิมดาวิดเป็น กษัตริย์แทน ดังที่ปรากฏใน 1 ซมอ.16:13 ซา?มูเอลจึงนำเขาสัตว์ที่มีน้ำมัน เจิมเขา?ไว้ท่ามกลางพวกพี่ชายของเขา และพระวิญญาณของพระยาห์เวห์ทรงสวมทับดาวิดตั้งแต่วันนั้นเป้นต้นไป และซามูเอลก็ลุกขึ้นกลับไปรามาห์
ผู้ เผยพระวจนะเอลียาห์ได้รับมอบหมายจากพระเจ้าให้เจิมทั้งกษัตริย์และผู้เผยพระ วจนะตาม 1 พกษ.19:16 “และเยฮูบุตรนิมชีนั้น จงเจิมให้เป็นกษัตริย์ปกครองอิสราเอล และเอลีชาบุตรชาฟัทชาวอาเบลเมโฮลาห์ จงเจิมให้เป็นผู้เผยพระวจนะแทนเจ้า”
ในพระคริสตธรรมคัมภีร์ใหม่ฉบับกรีกมีคำในภาษากรีกอยู่ 4 คำ ที่ได้ถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษว่า “anoint” แต่พระคัมภีร์ไทยฉบับมาตรฐานไม่ได้แปลเป็นคำว่า “เจิม” ได้แก่คำว่า “อไลย์โฟ้” “ไคร์โอ้” “คริสม่า” และ “อีพิคริโอ”
คำว่า “อไลย์โฟ้ ถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษว่า ‘to anoint’ คำนี้ปรากฏ 9 ครั้งในพระคัมภีร์ใหม่ ใช้ในหลายบริบทด้วยกัน โดยทั่วไปจะเกี่ยวกับการใช้น้ำมันกับร่างกาย ซึ่งบางครั้งก็มีความหมายลึกซื้งกว่านั้น เช่น ใน มธ. 6:17 ”แต่ท่านเมื่อถืออดอาหาร จงล้างหน้าและเอาน้ำมันชโลมศีรษะ” ในบริบทนี้คำนี้มีความหมายว่าเอาน้ำมันมะกอกมาชโลมศีรษะเหมือนกับคนทั่วๆ ไป เมื่อเขาออกนอกบ้านคือไม่ต้องทำตัวให้ทุกข์โศก หรือ แสดงให้คนอื่นรู้ว่าเขากำลังอดอาหารอยู่ และการใช้น้ำมันชโลมนี้ไม่ได้จำกัดว่าจะต้องใช้กับศีรษะเท่านั้น เช่นผู้หญิงคนหนึ่งได้นำน้ำมันมาชโลมพระบาทของพระเยซูซึ่งปรากฏใน ลก.7:38 “ยืนอยู่ข้างหลังใกล้พระบาทของพระองค์ แล้วร้องไห้น้ำตานองเปียกพระบาท นางจึงใช้ผมเช็ดจูบพระบาทของพระองค์แล้วเอาน้ำมันชโลม” แต่เมื่อเจ้าของบ้านที่เป็นฟาริสีเห็นว่าพระเยซูปล่อยให้ผู้หญิงคนนั้นชโลม พระบาทของพระองค์ก็ตำหนิในใจว่า ถ้าพระเยซูเป็นผู้เผยพระวจนะจริงก็ไม่น่าจะปล่อยให้ผู้หญิงที่เป็นคนบาปแตะ ต้องพระองค์ แต่พระองค์ได้ตำหนิเขาว่า “ท่านไม่ได้เอาน้ำมันมาชโลมศีรษะของเรา แต่นางเอาน้ำมันหอมมาชโลมเท้าของเรา” (ลก.7:46) เราจะเห็นว่าการชโลมศีรษะของแขกด้วยน้ำมันนั้นเป็นส่วนหนึ่งที่แสดงการต้อนรับแขกของเจ้าภาพ
ใน สมัยพระคัมภีร์ นำ้มันมะกอกนอกจากจะใช้เป็นเครื่องสำอางแล้ว ยังถูกใช้เป็นยารักษาโรคอีกด้วย เช่น ใน มก. 6:13 “พวกเขาขับผีออกหลายตน และเอาน้ำมันชโลมคน เจ็บป่วยหลายคนให้หายโรค” แต่นอกจากจะเป็นยาแล้ว น่าจะเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการอธิษฐานเผื่อผู้ป่วยให้หายโรคดังที่ปรากฏ ใน ยก. 5:14 -15 “มีใครในพวกท่านเจ็บป่วยหรือ? จงให้คนนั้นเชิญบรรดาผู้ปกครองของคริสตจักรมา และให้ท่านเหล่านั้นอธิษฐานเผื่อเขาและชโลมเขาด้วยน้ำมันในพระนามขององค์พระ ผู้เป็นเจ้า การอธิษฐานด้วยความเชื่อจะรักษาผู้ป่วยให้หายโรค และองค์พระผู้เป็นเจ้าจะทรงให้เขาลุกขึ้นได้ และถ้าเขาเคยทำบาป พระองค์ก็จะทรงให้อภัย ในบริบทนี้จะเห็นว่าสิ่งที่สำคัญที่ทำให้หายโรคคือการอธิษฐานด้วยความเชื่อ ไม่ใช่เพียงเอาน้ำมันมา
อีกบริบท หนึ่งที่น่าสนใจในการใช้น้ำมันชดลมคือในการชดลมพระศพของพระเยซูคริสต์ดังใน มก.16:1 “เมื่อวันสะบาโตผ่านพ้นไปแล้ว มารีย์ชาวมักดาลา มารีย์มารดาของยากอบพร้อมกับนางสะโลเม ไปซื้อเครื่องหอมเพื่อจะนำไปชโลมพระศพของพระองค์” ซึ่งสถานการณ์ตอนนี้ไม่เกี่ยวข้องกับการอธิษฐานด้วยความเชื่อ แต่เป็นการให้ความสำคัญกับการดูแลศพของบุคคลที่เป็นที่เคารพ
คำว่า “ไคร์โอ้” เป็นคำกริยา ปรากฏอยู่ในพระคัมภีร์ทั้งหมด 5 ครั้ง มีอยู่ 4 ครั้งกล่าวถึงการที่พระเยซูคริสต์ได้รับการเจิมด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์ ได้แก่ ลก.4:18 “พระวิญญาณขององค์พระผู้เป็นเจ้า สถิตกับข้าพเจ้า เพราะว่าพระองค์ทรงเจิมตั้งข้าพเจ้า ไว้ เพื่อนำข่าวดีมายังคนยากจน พระองค์ทรงใช้ข้าพเจ้ามาประกาศอิสรภาพแก่พวกเชลย ประกาศแก่คนตาบอดว่าจะได้เห็นอีกปล่อยผู้ถูกบีบบังคับให้เป็นอิสระ” กจ. 4:27 “ความจริงในเมืองนี้ ทั้งเฮโรด และปอนทัสปีลาตกับพวกต่างชาติและชนชาติอิสราเอล ร่วมชุมนุมกันต่อสู้พระเยซูผู้รับใช้บริสุทธิ์ของพระองค์ซึ่งทรงเจิมไว้แล้ว” กจ.10:38 “คือเรื่องที่ว่าพระเจ้าทรงเจิมพระ เยซูชาวนาซาเร็ธด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์และด้วยฤทธานุภาพอย่างไร และเรื่องที่ว่าพระเยซูเสด็จไปทำคุณประโยชน์และรักษาคนทั้งหลายที่ถูกมาร เบียดเบียนอย่างไร เพราะว่าพระเจ้าสถิตอยู่กับพระองค์” ฮบ.1:9 “พระองค์ทรงรักความชอบธรรม และทรงเกลียดความอธรรม เพราะเหตุนี้พระเจ้า ซึ่งเป็นพระเจ้าของพระองค์ ทรงเจิมพระองค์ไว้ ด้วยน้ำมันแห่งความยินดี เหนือบรรดาพระสหายของพระองค์” และอีกหนึ่งครั้งหมายถึงการเจิมฝ่ายวิญญาณของคริสเตียนคือ 2 คร. 1:21 “ผู้ทรงให้เรากับท่านทั้งหลายตั้งมั่นอยู่ในพระคริสต์ และผู้ที่ทรงเจิมเรานั้นคือพระเจ้า”
คำว่า “คริสม่า” ปรากฏเพียง 3 ครั้งในพระคัมภีร์ใหม่ ซึ่งทั้ง 3 ครั้ง ปรากฏอยู่ในพระธรรม 1 ยอห์น คือใน 1 ยน.2:20 “แต่พวกท่านได้รับการชโลมจากพระองค์ผู้บริสุทธิ์แล้ว และท่านทุกคนก็มีความรู้” และ 1 ยน.2:27 “ส่วนท่านทั้งหลาย การชโลมซึ่งท่านได้รับจากพระองค์นั้นก็ดำรงอยู่กับท่าน และไม่จำเป็นต้องมีใครสอนท่าน เพราะว่าการชโลมของ พระองค์นั้นสอนท่านให้รู้ทุกสิ่ง และเป็นความจริง ไม่ใช่ความเท็จ การชโลมนั้นสอนพวกท่านแล้วอย่างไร ท่านจงอยู่ในพระองค์อย่างนั้น” ในบริบทนี้คำว่า การชโลม สามารถ แปลว่า การเจิมก็ได้ ซึ่งเป็นการแปลเหมือนฉบับ 1971 ซึ่งในบริบทนี้ไม่ว่าจะใช้คำไหนก็ตามก็มีความหมายเป็นนามธรรมคือ คริสเตียนที่แท้จริงนัน้จะรู้และเข้าใจความจริงของพระเจ้าโดยพระวิญญาณบริ สุทธ์ิ ถ้าใช้ว่าการเจิมอาจจะคิดว่าเป็นประสบการณ์ครั้งเดียวแล้วหมดไป แต่ถ้าใช้คำว่าการชโลม ก็จะให้ความรู้สึกว่าประสบการณ์นี้เต็มเปี่ยมอยู่ในชีวิตของเราซึ่งจากข้อ ความสุดท้ายที่ว่า “ท่านจงอยู่ในพระองค์อย่างนั้น” ก็คิดว่าการใช้คำว่า การชโลมจะทำให้เราเห็นภาพพจน์ได้ดีกว่า เพราะการชโลมเป็นการครอบคลุมตัวเราตั้งแต่ศีรษะจดเท้า
คำว่า ”อีพิคริโอ” ปรากฏในพระคัมภีร์ใหม่เพียง 2 ครั้งคือในยอห์น 9:6 “เมื่อตรัสอย่างนั้นแล้ว พระองค์ก็ทรงบ้วนน้ำลายลงที่ดิน แล้วทรงเอาน้ำลายนั้นทำเป็นโคลนทาที่ตาของคนตาบอด” และ 11 เขา?ตอบ ว่า “เขาตอบว่า “ชายคนหนึ่งชื่อเยซูทำโคลนทาตาของข้าพเจ้าและบอกข้าพเจ้าว่า ‘จงไปที่สระสิโลอัมแล้วล้างโคลนออก’ ข้าพเจ้าก็ไปล้างตาแล้วก็มองเห็น” จากบริบทนี้เราจะเห็นว่า ถ้าจะแปลว่าเจิมก็อาจจะฟังขัดหู เพราะการใช้น้ำลายทาตานี้เป็นวิธีของการรักษาคนตาบอด ในครั้งอื่นๆ พระองค์เพียงแตะต้องนัยน์ตาของคนตาบอด พวกเขาก็ได้รับการรักษา (มธ. 9:27-28; 20:34)
สรุป การเจิมและการชโลมมีความหมายคล้ายคลึงกัน แต่คำว่าเจิมเป็นคำที่เป็นทางการ และมักจะใช้ในบริบทที่เกี่ยวข้องการสถาปนาหรือแต่งตั้งบุคคลสำคัญในพระ คัมภีร์ และวิธีการเจิมในพระคัมภีร์น้นจะใช้น้ำมันเทลงบนศีรษะ แต่การเจิมแบบที่คนไทยทั่วไปเข้าใจนั้นเป็นการเจิมทางพิธีกรรมทางศาสนาที่ ใช้แป้งไปแต้ม เพื่อไม่ให้คนไทยเข้าใจผิดเราจึงไม่ได้ใช้คำว่า เจิมทุกครั้งในการแปล เพราะเราไม่ได้แปลพระคัมภีร์จากภาษาอังกฤษ แต่แปลจากภาษาฮีบรูและกรีก และคำว่า anoint นั้นที่จริงก็มีความหมายกว้างกว่า เจิม และในภาษาฮีบรูมีการใช้คำแตกต่างกันอย่างชัดเจนระหว่างการเจิมบุคคลสำคัญ และการชโลมของคนธรรมดา และบุคคลสำคัญที่ได้รับการเจิมจะถูกเรียกว่า เมสสิยาห์ ตามภาษาฮีบรู และ พระคริสต์ ตามภาษากรีก
ปัจจุบัน คริสเตียนไทยใช้คำว่าเจิมนี้อย่างเกร่อจนไม่แน่ใจว่าผู้พูดต้องการหมายความ ว่าอะไรหรืออาจจะพูดตามนักเทศน์ชาวต่างประเทศที่ชอบใช้คำว่า “anointing” โดยเฉพาะมักจะพูดถึงการสำแดงของพระวิญญาณบริสุทธิ์ ถ้าจะหมายความว่าเป็นการสำแดงของพระวิญญาณบริสุทธิ์เป็นครั้งๆ นั้น ควรจะใช้ว่า การสำแดง หรือการเปี่ยมล้นด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์มากกว่า เช่น เมื่อพระวิญญาณบริสุทธิ์เสด็จมาในวันเพ็นเตคอสต์ พระคัมภีร์บันทึกว่า “พวกเขาทั้งหมดก็เต็มเปี่ยมด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์ จึงเริ่มต้นพูดภาษาอื่นๆ ตามที่พระวิญญาณทรงให้พูด” (กจ. 2:4) และอีกอย่างหากเราใช้โดยไม่รู้ว่ามันตรงกับคำกรีกคำไหนใน 4 คำ ก็จะไม่สามารถสื่อสารกันได้อย่างเข้าใจ ในท่ามกลางคริสเตียนไทยกลุ่มใหญ่นี้ เราแต่ละคนมีประสบการณ์ไม่เหมือนกันเราจึงควรจะระมัดระวังความเข้าใจผิดของ ความหมายของคำด้วย
- ศาสนาจารย์ ดร.เสรี หล่อกัณภัย
- ภาพ www.shepherdsadvantageinc.com