ทำไมมัทธิวบทที่ 17 จึงไม่มีข้อ21?

ทำไมมัทธิวบทที่ 17 จึงไม่มีข้อ21?

ถาม : ทำไมพระธรรมมัทธิวบทที่ 17 ของ สมาคมฯ จึงมีข้อ 20 และข้อ 22 แต่ไม่มีข้อ 21 (ในส่วนที่เป็นเนื้อหาของพระคัมภีร์นั้น) หมายความว่าอย่างไร?
ตอบ : โดยปกติ เมื่อเราอ่านพระคัมภีร์ เรามักจะได้รับคำแนะนำว่าไม่ต้องสนใจเลขบทและเลขข้อ เพราะจะทำให้อ่านติดขัดและยากที่จะเข้าใจเนื้อหา เมื่ออ่านพระคัมภีร์ ให้สนใจกระแสความคิดของพระคัมภีร์ว่าเคลื่อนที่ไปอย่างไรบ้าง ซึี่งคำแนะนำนั้นก็ถูกต้องและเป็นประโยชน์จริงๆในการศึกษาพระคัมภีร์  นอก จากนี้ต้นฉบับพระคัมภีร์ในภาษาเดิมทั้งภาษาฮีบรูและภาษากรีก ก็ไม่มีการแบ่งเป็นบทและเป็นข้อ การแบ่งดังกล่าวเกิดขึ้นในสมัยหลัง (ราวศตวรรษที่ 13 – 16) เพื่อให้สะดวกในการอ้างอิงเท่านั้น

แต่คำอธิบายข้างต้น ไม่ได้มีจุดประสงค์ที่จะเบี่ยงเบนประเด็นความสนใจของผู้อ่านไปจากคำถาม ทั้งนี้เพราะคำถามก็สำคัญ และหากไม่ได้รับคำตอบ ก็อาจนำผู้อ่านไปสู่การสรุปความหลายอย่างที่ไม่เป็นจริงก็ได้ อาทิเช่น สมาคมฯ ทำข้อ 21 ตกหล่นด้วยความไม่รอบคอบ ดังนั้นพระคัมภีรืของสมาคมนจึงไม่น่าเชื่อถือแต่อย่างใด  หรือ อาจสรุปว่า สมาคมฯไม่มีความเชื่อตามข้อ 21 ฉะนั้นจึงตัดข้อนี้ ออกตามอำเภอใจ เป็นต้น

ดังนั้น เพื่อจะตอบคำถามนี้ ก็ขอให้ผู้อ่านเปิดพระคัมภีร์พิจารณาตามไปด้วย  เราพบความจริงว่า ไม่มีข้อ 21 อยู่ในส่วนที่เป็นเนื้อหาของพระคัมภีร์  แต่ที่ปลายข้อ 20 มี สัญลักษณ์เป็นตัวเลขให้ไปดูที่เชิงอรรถ (footnote) และเมื่อ เราตามไปดู เราก็พบข้อความต่อไปนี้ สำเนาโบราณบางฉบับมีข้อ 21 แต่ ผีชนิดนี้จะขับไม่ออก นอกจากโดยการอธิษฐานและการอดอาหาร  สรุปแล้ว พระคัมภีร์ของสมาคมฯ มีข้อ 21 แต่เอาไปวางไว้ในส่วนที่เป็น เชิงอรรถ ไม่ได้วางไว้ในส่วนที่เป็นเนื้อหาของพระคัมภีร์ (อันที่จริง พระคัมภีร์มัทธิวบทที่ข้อ 21 เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่ง ยังมีพระคัมภีร์อีกหลายตอนที่มีลักษณะเช่นนี้ อาทิ พระธรรมลูกาบทที่ 17 ข้อ 36  ลูกาบทที่ 23 ข้อ 17  ยอห์นบ ทที่ 5 ข้อ 4  เป็นต้น)  แต่นี่ก็ ไม่ใช่คำตอบที่จุใจผู้ถามและผู้อ่านอย่างแน่นอน เพราะยังจะมีคำถามตามมาอีกว่า ทำไมสมาคมฯจึงไม่ย้ายเชิงอรรถที่มีข้อ 21 ไปใส่ไว้ในส่วนที่เป็นเนื้อหาพระคัมภีร์เลย อย่างที่พระคัมภีร์ภาษาอังกฤษบางฉบับทำ เพื่อจะได้ไม่ต้องมีปัญหาว่า หาข้อ 21 ไม่พบ?

คำแนะนำก็ฟังดูดีและน่าจะใช้ได้เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน  แต่ทางสมาคมฯ ไม่อาจทำเช่นนั้นได้ เพราะเรายึดหลักการแปลพระคัมภีร์ใหม่ตามพระคัมภีร์ใหม่ภาษากรีกของสหสมาคม พระคริสตธรรมสากลและในพระคัมภีร์กรีกที่ใช้เป็นมาตรฐานนั้น ได้เอาข้อ 21 ลงมาไว้ที่เชิงอรรถ ผู้อ่านก็อาจจะถามต่อว่าทำไมต้องไปตามเขา? คำตอบก็คือ เพราะพระคัมภีร์ใหม่ภาษากรีกของสหสมาคมฯนั้น มีความถูกต้องกับต้นฉบับดั้งเดิมมากที่สุด  และยังใช้เป็นฉบับ มาตรฐานในการแปลพระคัมภีร์ใหม่ทั่วโลก  คณะกรรมการผู้ทรง คุณวุฒิของสหสมาคมฯ ได้ประชุมกันพิจารณาสำเนาโบราณจำนวนมากอย่างถี่ถ้วนเพื่อให้แน่ใจว่า ได้สำเนาที่ถูกต้องกับต้นฉบับมากที่สุด โดยพิจารณาจากประเภทและอายุ (ความเก่าแก่) ของสำเนานั้นๆ  สิ่งของบางอย่างยิ่งใหม่เท่าไรก็ยิ่งดีเท่าันั้น อาทิ เครื่องคอมพิวเตอร์  แต่สำหรับสำเนาต้นฉบับพระคัมภีรืกลับตรงกันข้ามคือ ยิ่งเก่าแก่เท่าไรยิ่งดี เพราะนั่นหมายความว่า สำเนานั้นๆใกล้เคียงหรือใกล้ชิดกับต้นฉบับจริงมากที่สุด มีการผันแปรหรือเบี่ยงเบนน้อยที่สุดนั่นเอง  อนึ่งในการ พิจารณาตัดสินใจของคณะกรรมการเกี่ยวกับสำเนาต้นฉบับที่จะใช้เป็นเนื้อหาพระ คัมภีร์ พวกเขาๆด้แบ่งเกรดความแน่ใจออกเป็นสี่ระดับดังต่อไปนี้ คือ เกรด A  หมายถึงแน่ใจร้อยเปอร์เซ็นต์เกี่ยวกับตัวเนื้อหาพระคัมภีร์  เกรด B หมายถึงค่อนข้างแน่ใจ เกรด C หมายถึง แน่ใจเพียงห้าสิบเปอร์เซ็นต์ พวกเขาไม่แน่ใจว่าจะเอาสำเนาโบราณอันไหนไว้ในส่วนเนื้อหาและอันไหนไว้ใน เชิงอรรถ  และสุดท้ายเกรด D หมายถึง ไม่ มั่นใจเลย ซึ่งกรณีนี้เกิดขึ้นน้อยมาก ดังนั้นหากเราพิจารณาสำเนาโบราณของพระธรรมมัทธิวบทที่ 17 ข้อ 21 ในพระคัมภีรืใหม่ภาษากรีกของสหสมาคมฯ  เราพบว่า สำเนาโบราณบางอันมีข้อ 21 อยู่ในส่วนของเนื้อหา  เช่น สำเนา Epharemi Rescriptus ฯลฯ ส่วนสำเนาโบราณที่ไม่มีข้อ 21 เลยเช่น สำเนา Sinaiticus Codex และอื่นๆ  คณะกรรมการได้ พิจารณาแล้วเห็นว่า สำเนาต้นฉบับโบราณที่ถูกต้องกับต้นฉบับน่าจะไม่มีข้อ 21 และ กรรมการลงความเห็นให้เกรด A กับการพิจารณาข้อนี้  นั่นก็หมายความว่า ต้นฉบับโบราณไม่มีข้อ21 ทั้งนี้เพราะ Sinaiticus Codex มีอายุในศตวรรษที่ 4 ซึ่งเก่าแก่กว่า Ephraemi Rescriptus ซึ่งมีอายุอยู่ในศตวรรษที่ 5

ในทำนองคล้ายคลึงกัน หากเราอ่านพระธรรมยอห์นบทที่ 5 ข้อ 3-5 เราจะพบ ว่า ในเนื้อหาของพระคัมภีร์ไม่มีข้อ 4  แต่ข้อ 4 ไป ปรากฎที่เชิงอรรถ  คณะกรรมการของสหสมาคมฯได้ศึกษาสำเนาโบราณ หลายอัน แล้วที่สุดก็จัดเกรด A ให้กับสำเนาที่ไม่มีข้อ 4 เพราะสำเนาโบราณที่ไม่มีข้อ 4 คือ P66 (สำเนา ที่บันทึกบนกระดาษพาไพรัสมีอายุราว ค.ศ.200) มีความเก่าแก่ มากกว่าสำเนาโบราณที่มีข้อ 4 อยู่ในส่วนเนื้อหาคือ Alexandrinus Codex (ศตวรรษที่ 5) ดังนั้น เราจึงแน่ใจว่า ต้นฉบับดั้งเดิมไม่มีข้อ 4 แต่ต่อมาภายหลังก็มีการเพิ่มข้อ ความลงไป ถึงกระนั้นก็ยังคงถือว่าเป็นของเก่าแก่อยู่

เรื่องของสำเนาต้นฉบับโบราณเป็นเรื่องยุ่งยาก ที่ควรทิ้งไว้ให้นักวิชาการค้นคว้าต่อไป แต่ที่หยิบยกมาอธิบาย บ้าง ก็เพื่อจะตอบคำถามว่าทำไมพระคัมภีร์ของสมาคมฯจึงไม่มีบาง ข้อปรากฎในเนื้อหา (แต่ไปปรากฎในส่วนเชิงอรรถ) สำ หรับเราคริสตชน เราควรมีความสุข และความอิ่มเอม ใจเมื่อได้อ่าน ใคร่ครวญและดำเนินตามพระวจนะของพระเจ้าไม่ใช่ หรือ?   17

  • อ.ทองหล่อ วงศ์กำชัย