ทำไมสมาคมพระคริสตธรรมไทย ใช้ตัวอักษรไทยในการแปลพระคัมภีร์ภาษาถิ่น หรือภาษาชนเผ่าบางภาษา? 2/07

ทำไมสมาคมพระคริสตธรรมไทย ใช้ตัวอักษรไทยในการแปลพระคัมภีร์ภาษาถิ่น หรือภาษาชนเผ่าบางภาษา?

ถาม มีพระคัมภีร์ภาษาถิ่นหรือภาษาชนเผ่าบางภาษาที่ใช้ตัวอักษรไทย เช่น ภาษากะเหรี่ยงโปว์ (Pwo Karen) ภาษาอูรักลาโว้ย (Urak Lawoi) ทําไมสมาคมฯ จึงใช้ตัวอักษรไทย (Thai Script) ในการสะกดเพื่อออกเสียงภาษาเหล่านี้ในพระ คัมภีร์?

ตอบ ก่อนจะตอบคําถาม อยากจะให้ท่านผู้อ่านได้ทราบข้อมูลพื้นฐานเกี่ยว กับการแปลพระคัมภีร์ภาษาถิ่น (Dialects) หรือภาษาชนเผ่า (Tribal Languages) หรือบางครั้งก็เรียกว่าภาษาชนกลุ่มน้อย (Minority Languages) โดยสังเขป

1. องค์กรที่ทํางานด้านการแปลพระคัมภีร์ องค์กรคริสเตียนหลักที่มีบทบาทสําคัญในการแปลพระคัมภีร์ภาษาถิ่น มีอยู่ สององค์กรด้วยกันคือ

  • สหสมาคมพระคริสตธรรมสากล (United Bible Societies เรียกชื่อย่อว่า UBS) เป็นองค์กรที่มีหน้าที่บริหารและกํากับดูแลสมาคมพระคริสตธรรมในประเทศและ ภูมิภาคต่างๆ ซึ่งเป็นสมาชิกอยู่ทั่วโลก (รวมทั้งสมาคมพระคริสตธรรมไทยด้วย) UBS มีหลักการว่าการจะแปลพระคัมภีร์เป็นภาษาใด จะต้องมีผู้ใช้ภาษานั้นอย่างน้อย 100,000 คน ขึ้นไป
  • องค์การผู้แปลพระคัมภีร์วิคลิฟ (Wycliffe Bible Translators หรือ WBT) หรืออีกชื่อหนึ่งคือ “สถาบันภาษาศาสตร์ภาคฤดูร้อนสากล” (Summer Institute of Linguistics หรือ SIL International) ชื่อหลังเป็นชื่อที่องค์กรนี้ใช้เมื่อเข้าสู่ภาคสนาม WBT หรือ SIL จะแปลภาษาที่มีผู้ใช้น้อยกว่า UBS และบางครั้ง UBS และ SIL ก็ร่วมมือกันในการแปลพระคัมภีร์บางโครงการ (Joint Program)

2. ผู้แปลพระคัมภีร์ ผู้ที่ทํางานด้านการแปลพระคัมภีร์ภาษาถิ่นนั้นจะแตกต่าง กันไปตามหลักการขององค์กร และตามสภาพทางภาษา เช่น UBS เน้นใช้ผู้แปลที่เป็นเจ้าของภาษาเอง (Native Speakers) ส่วน SIL เน้นใช้ผู้แปลที่เป็นเจ้าหน้าที่ของตนซึ่งมีความรู้ด้านภาษาศาสตร์ (Linguists)

3. ขั้นตอนการแปลในที่นี้จะขอกล่าวเพียงเฉพาะกรณีที่ผู้แปลเป็นเจ้าของ ภาษาภายใต้องค์กรแปลพระคัมภีร์คือ UBS เท่านั้น ซึ่งจะ เป็นการตอบคําถามที่ถามมาในฉบับนี้

ขั้นตอนการแปลพระคัมภีร์ของ UBS มีดังนี้

  • พิจารณาว่าควรจัดให้มีการแปลพระคัมภีร์ภาษาถิ่นนั้นหรือไม่
  • ถ้าพิจารณาเห็นสมควร ก็จะต้องมีการคัดเลือกคณะผู้แปลที่เป็นเจ้าของ ภาษาที่มีความเชี่ยวชาญทั้งภาษาถิ่นของตนเองและภาษาที่จะใช้เป็นต้นฉบับหลัก ในการแปล เช่น การแปลพระคัมภีร์ภาษากะเหรี่ยงโปว์จะใช้พระคัมภีร์ไทย เป็นต้นฉบับหลักในการแปล ดังนั้น ผู้ แปลจะต้องมีความเชี่ยวชาญทั้งภาษา กะเหรี่ยงโปว์และภาษาไทย ผู้แปลจะต้อง ได้รับการอบรมหลักการแปลจากที่ปรึกษา การแปลของ UBS (UBS Translation Consultants) หรืออย่างน้อยโดยเจ้า หน้าที่การแปล (Translation Officers) ของ สมาคมพระคริสตธรรมท้องถิ่น
  • ภาษาถิ่นหรือภาษาชนเผ่าบาง ภาษามีทั้งภาษาพูดและภาษาเขียนของเขาเองอยู่แล้ว เช่น ภาษาลื้อ แต่ภาษาถิ่น หลายภาษาไม่มีภาษาเขียนเป็นของตนเอง ดังนั้นผู้แปลพระคัมภีร์จึงต้องประดิษฐ์ ตัวอักษรให้กับภาษาเหล่านั้น แล้วต่อมาก็ต้องสอนให้ชนเผ่านั้นให้อ่านออกเขียนได้ (Literacy) เพื่อพวกเขาจะสามารถอ่านพระคัมภีร์ที่ใช้ตัวอักษรที่ประดิษฐ์ขึ้นมา เหล่านั้นได้ต่อไป
  • เมื่อได้ภาษาเขียนแล้วต้องกําหนดหลักไวยากรณ์ภาษาจากการใช้ภาษานั้นๆ สําหรับเป็นกรอบอ้างอิงในการแปลพระคัมภีร์
  • กําหนดหลักการแปลและดําเนินการแปลตามหลักการแปลที่กําหนดนั้น (ไม่ ขอกล่าวรายละเอียดในที่นี้) โดยปกติจะเริ่มแปลจากพันธสัญญาใหม่ก่อน
  • ระหว่างการแปล ต้องมีการตรวจร่างการแปลเทียบกับสําเนาต้นฉบับ ภาษากรีกและฮีบรูโดยที่ปรึกษาการแปลของ UBS หรือเจ้าหน้าที่การแปลของ สมาคมพระคริสตธรรมท้องถิ่นและมีการลงนามรับรองการแปลโดยที่ปรึกษาการแปล
  • จัดพิมพ์และจําหน่ายต่อไป

เราจะเห็นได้ว่าการแปลพระคัมภีร์ของ UBS หรือของสมาคมพระคริสต ธรรมท้องถิ่น เช่น สมาคมพระคริสตธรรมไทยนั้นก็มีขั้นตอนที่ได้มาตรฐานซึ่งไม่ ได้ด้อยไปกว่าการแปลภาษาหลักเลยต่อไปจะขออธิบายเพิ่มเติมเฉพาะ ขั้นตอนที่ 3 เพื่อตอบคําถามตามหัวข้อ ของวันนี้ ภาษาถิ่นหลายภาษาได้ใช้ตัวอักษร โรมัน (Roman Script ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือ ตัวอักษรภาษาอังกฤษนั่นเอง) ในการ ประดิษฐ์ภาษาเขียนขึ้นมาเพื่อใช้อ่านและ ออกเสียง เช่น ภาษาลาห์ ภาษาม้ง และ ภาษาอาข่า ส่วนภาษาถิ่นบางภาษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใช้ตัวอักษรไทยใน การประดิษฐ์ภาษาเขียน เช่น ภาษาเขมรสูง ภาษาส่วย ภาษาอูรักลาโว้ย รวมทั้ง ภาษากะเหรี่ยงโปว์ และบางภาษาก็ได้ใช้ตัวอักษรมากกว่า 1 ภาษาในการแปล พระคัมภีร์ฉบับต่างๆ เช่น พระคัมภีร์ภาษาเมี่ยน (เย้า) ทําเป็น 4 ฉบับแปล (Versions) คือ ใช้ตัวอักษรโรมันเก่า โรมันใหม่ ลาว และไทย ตาม ภาษาอ่านของชนเผ่าเมียนซึ่งมีถิ่นฐานอาศัยอยู่ในที่ต่างๆ คือแล้ว แต่ว่าชนเผ่าเมี่ยนที่ใดจะคุ้นเคยกับลักษณะอักษรใดนั่นเอง

สําหรับคําถามที่ว่าทําไมบางภาษาจึงต้องใช้ตัวอักษรไทยมา ใช้ในการประดิษฐ์ภาษาเขียนและการแปลพระคัมภีร์ ในบทความ นี้จะขอใช้ภาษากะเหรี่ยงโปว์ (Pwo Karen) เป็นกรณีศึกษา เพราะ ในประเทศสหภาพพม่าก็มีการใช้พระคัมภีร์ตัวอักษรกะเหรี่ยง โปว์ที่มีลักษณะตัวอักษรแบบพม่า (Burmese Character) อยู่ แล้ว ทําไมสมาคมพระคริสตธรรมไทยจึงต้องแปลใหม่โดยใช้ ตัวอักษรไทยกับพระคัมภีร์ภาษานี้?

(หมายเหตุ : ปัจจุบันพันธสัญญาใหม่ภาษากะเหรี่ยงโปว์ใช้อักษรไทยได้จัดพิมพ์เสร็จและมีวางจําหน่ายแล้ว ส่วนพระคัมภีร์ เพิ่มกําลังดําเนินการแปล)

เหตุผลมีดังต่อไปนี้

เพราะภาษากะเหรี่ยงโปรที่ใช้ในสภาพพม่าตามอาการกะแหยง โปร์ที่ใช้ในกาเหนือของประเทศไทย
ตามหลักการทางภาษาศาสตร์ เราจะกําหนดว่าภาษาใดเป็นภาษาเดียวกัน หรือต่างกันโดยการเปรียบเทียบคําต่างๆ จากชนิดของคําพูดที่ แตกต่างกันเพื่อพิจารณาว่าทั้งสองนั้นคล้ายคลึงกันหรือไม่ หาก คําต่างๆ คล้ายคลึงกันน้อยกว่า 75% ของชนิดของคําพูดทั้ง สองนั้น ก็จะถือว่าเป็นคนละภาษาเกือบทั้งหมด หากความ คล้ายคลึงอยู่ระหว่าง 75-90% ทั้งสองอาจเป็นหรืออาจไม่ เป็นคนละภาษาซึ่งต้องทําการทดสอบความเข้าใจต่อไป และ หากคําต่าง ๆ คล้ายคลึงกันมากกว่า 90% ทั้งสองจะได้รับ การพิจารณาว่าเป็นภาษาเดียวกัน แม้ว่าจะมีความซับซ้อน อื่นๆ อีก แต่ที่กล่าวมานี้ก็เป็นบรรทัดฐานสําหรับการพิจารณา

องค์การ SIL International ได้รายงานว่าภาษา กะเหรี่ยงโปว์มี 4 ชนิดที่แตกต่างกัน ได้แก่ ภาษา กะเหรี่ยงโปว์ตะวันตก (แถบสามเหลี่ยมพม่า, แบสเซียน), ภาษากะเหรี่ยงโปว์ ตะวันออก (โปว์รัฐกะเหรี่ยง, เทนาสเซริมเหนือ), อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี (รวม ไปถึงจังหวัดราชบุรี, เพชรบุรี), และกะเหรี่ยงโปว์เหนือ (อมก๋อย จ.เชียงใหม่, จ.แพร่) สําหรับภาษากะเหรี่ยงโปว์ตะวันออกกับภาษากะเหรี่ยงโปว์ที่สังขละบุรีนั้น คล้ายคลึงกันมากที่สุดซึ่งอาจต้องมีการทดสอบความเข้าใจของผู้ใช้ภาษาต่อไปใน อนาคต ส่วนภาษากะเหรี่ยงโปว์เหนือมีความเกี่ยวข้องกับชนิดอื่นๆ น้อยกว่า 75% และภายในภาษากะเหรี่ยงโปว์เหนือเองภาษาที่อมก๋อยและที่แพร่ก็เกี่ยวข้องกันเพียง 87% เท่านั้น ดังนั้น คณะสํารวจของ SIL จึงจะต้องทําการทดสอบความเข้าใจ ระหว่างทั้งสองอีก แต่คณะสํารวจก็ไม่คิดว่าภาษากะเหรี่ยงโปว์ที่แพร่จะต้อง ทําการแปลพระคัมภีร์เพราะมีการใช้ภาษาไทยและภาษาไทยเหนือที่เพียงพออยู่แล้ว ส่วนภาษากะเหรี่ยงโปว์ที่อมก๋อยมีเพียงคําต่างๆ เพียง 56% ที่เกี่ยวข้องกับภาษา กะเหรี่ยงโปว์ตะวันตก (ภาษาย่อยที่ใช้ในพระคัมภีร์) ดังนั้นจึงน่าสงสัยเป็นอย่าง มากว่าพวกเขาจะเข้าใจพระคัมภีร์ภาษากะเหรี่ยงโปว์ที่อยู่ในพม่าได้มากน้อยเพียงไร?

หวกะเหรี่ยงโปว์เหนือสัญเจติไทยรู้จัก (สามารถอ่าน) ตัวอักษร ไทย แม้ไม่รู้จักตัวอักษรกะเหรี่ยงโปว์ที่คล้ายตัวอักษรพม่า
ชาวกะเหรี่ยงโปว์เหนือโดยเฉพาะรุ่นหลังที่อยู่ในประเทศไทยรู้จักหรือ สามารถอ่านและคุ้นเคยกับตัวอักษรไทย แต่ไม่สามารถอ่านตัวอักษรกะเหรี่ยงโปว์ ที่คล้ายตัวอักษรพม่าได้ ชาวกะเหรี่ยงโปว์เหนือในประเทศไทยจึงเรียนรู้การอ่านเขียนภาษาของเขาที่เขียนด้วยตัวอักษรไทยง่ายกว่าที่จะไปเรียนตัวอักษรกะเหรี่ยง โปว์จริงๆ

การเขียนขอบกะเหรี่ยโปร์ในประเทศไทยเองก็แตกต่างกัน
ชาวกะเหรี่ยงโปว์ที่สังขละบุรีและพื้นที่ใกล้เคียงอาจสามารถอ่านตัวอักษร กะเหรี่ยงโปว์ที่คล้ายตัวอักษรพม่าได้ แต่ชาวกะเหรี่ยงโปว์เหนือที่อมก้อยนั้นไม่ สามารถอ่านได้ (ภาษากะเหรี่ยงโปว์ที่สังขละบุรีและอมก๋อยแตกต่างกันตาม รายงานข้างต้น) นี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่สมาคมฯ ต้องแปลพระคัมภีร์ภาษากะเหรี่ยง โปว์โดยใช้ตัวอักษรไทย

อีกประการหนึ่งคือ บางท่านอาจมีคําถามว่าเพราะเหตุใดจึงไม่กําหนดหลัก การสะกดและออกเสียงให้เหมือนภาษาไทยปกติ? ทําไมต้องใช้การประสมแบบที่ คนไทยทั่วไปไม่คุ้นเคยด้วย? คําตอบนี้ค่อนข้างง่ายหากพิจารณาอย่างถี่ถ้วน กล่าว คือ ภาษาแต่ละภาษานั้นแตกต่างกัน ไม่สามารถเทียบกันได้โดยสมบูรณ์ จะขอยก ตัวอย่างที่ชัดเจนตัวอย่างหนึ่ง คือ คนไทยไม่มีปัญหาในการออกเสียงคําที่มี “ห” นํา เช่น “แหม่” แต่ถ้านําคําที่มี “ห” นํา นี้ไปใช้ในการสอนชาวกะเหรี่ยงโปว์ที่สูงอายุ และไม่เคยเข้าโรงเรียนไทยนั้น มิชชันนารีในสมัยก่อนที่ทําการค้นคว้าเรื่องนี้พบ ว่าเป็นสิ่งที่ยากมาก นี่เป็นปัญหาการออกเสียงตามวรรณยุกต์ภาษาไทย จึงได้มี การเปลี่ยนแปลงตัวสะกด และการออกเสียงวรรณยุกต์ จากการผัน “แม แหม่ แม่ แม้” ในภาษาไทย ไปเป็น “แม แม่ แม้ แม้” ในภาษากะเหรี่ยงโปว์ กล่าวคือ

  • แม ในภาษากะเหรี่ยงโปว์ = (ออกเสียงเป็น) แม ในภาษาไทย (เหมือนกัน)
  • แม่ ในภาษากะเหรี่ยงโปว์ = (ออกเสียงเป็น) แหม่ ในภาษาไทย
  • แม้ ในภาษากะเหรี่ยงโปว์ = (ออกเสียงเป็น) แม่ ในภาษาไทย
  • แม้ ในภาษากะเหรี่ยงโปว์ = (ออกเสียงเป็น) แม้ ในภาษาไทย เป็นต้น

สรุปได้ว่าในการประดิษฐ์ตัวอักษรเพื่ออ่านเขียนและแปลพระคัมภีร์นั้นขึ้นอยู่ กับการรับรู้และการเรียนรู้ลักษณะตัวอักษรที่นํามาใช้ และความต้องการของชน เผ่ากลุ่มเป้าหมายด้วย ซึ่งก็พบว่าพี่น้องกะเหรี่ยงโปว์หลายกลุ่มก็ยอมรับพันธ สัญญาใหม่ฉบับแปลของสมาคมฯ นี้

สุดท้ายนี้ อยากให้ผู้อ่านคิดถึงบางชนเผ่าที่ยังไม่มีพระคัมภีร์ในภาษาของ พวกเขาเอง บางท่านอาจสนับสนุนด้วยการถวายทรัพย์เพื่อพันธกิจการแปลพระ คัมภีร์ บางท่านอาจอธิษฐานเพื่อพันธกิจนี้ หรือท่านผู้อ่านบางท่านที่เป็นชนเผ่าที่ ยังไม่มีพระคัมภีร์ในภาษาของท่านเอง พระเจ้าอาจทรงเรียกท่านเพื่อเข้าร่วมใน พันธกิจที่มีคุณค่านิรันดร์นี้ในฐานะผู้แปลในอนาคตก็เป็นได้

  • อ.ประณต บุษกรเรืองรัตน์