ทำไม สดุดี 106 ใช้คำสรรพนามบุรุษที่ 3 อย่างไม่เสมอต้นเสมอปลาย? 1/17

ทำไม สดุดี 106 ใช้คำสรรพนามบุรุษที่ 3 อย่างไม่เสมอต้นเสมอปลาย?

คำถาม ทำไมสมาคมพระคริสตธรรมไทยจึงแปลคำสรรพบุรุษที่ 3 ในพระธรรมสดุดี 106 ไม่เสมอต้นเสมอปลายคือ แปลออกมาหลายคำมาก มีทั้ง “ท่าน” มีทั้ง “เขา” มีทั้ง “พวกเขา” มีทั้ง “พวกของท่าน” มีทั้ง “ท่านเหล่านั้น” ?

คำตอบ ก่อนที่จะไปราบละเอียดของคำสรรพนาม ขอให้เรามาดูภาพรวมของสดุดีบทนี้ก่อน พระธรรมสดุดีมีคำขึ้นต้น และคำลงท้ายว่า “สรรเสริญพระยาห์เวห์” แต่เนื้อหาส่วนใหญ่ไม่ใช่บทเพลงสรรเสริญ แต่เป็นการสารภาพบาปในอดีตของชนชาติอิสราเอลมากกว่า การสรรเสริญพระยาห์เวห์ในตอนท้ายของบทนี้ไม่น่าจะเป็นส่วนหนึ่งของบทนี้ แต่เป็นการจบของบรรพที่ 4 เพราะบทที่ 106 เป็นบทสุดท้ายของบรรพที่ 4 นอกจากนี้สดุดีบทนี้คล้ายคลึงกับบทที่ 105 คือกล่าวถึงประวัติศาสตร์ของชนชาติอิสราเอล โดยเริ่มต้นตั้งแต่สมัยที่พระเจ้า ทรงสำแดงการอัศจรรย์ในอียิปต์เรื่อยมา จนถึงสมัยที่อิสราเอลเข้าครอบครองแผ่นดินคานาอัน และต่อมาเพราะคนอิสราเอลไม่เชื่อฟังพระเจ้า จึงถูกกวาดต้อนไปเป็นเชลย จนท้ายที่สุดด้วยความกรุณาของพระเจ้า พระองค์ทรงนำคนอิสราเอลกลับมาจากการเป็นเชลย

ผู้เขียนสดุดีบทนี้น่าจะเป็นคนยิวที่กลับมาจากการเป็นเชลย และเป็นผู้นำชุมนุมชนอิสราเอลสารภาพบาปของบรรพบุรุษของพวกเขา สดุดี 106 พอจะแบ่งเนื้อหาออกได้ดังนี้คือ

  • ข้อ 1-3 คำเชิญชวนของผู้นำให้ชุมนุมชนมาร่วมกันอธิษฐาน
  • ข้อ 4-46 คำสารภาพบาปของบรรพบุรุษ
  • ข้อ 47 คำวิงวอนต่อพระเจ้า
  • ข้อ 48 การจบคำอธิษฐานด้วยการสรรเสริญพระเจ้า

ตั้งแต่ข้อ 4 คำสรรพนามบุรุษที่ 3 ที่ใช้ คือ “พวกเขา” ซึ่งหมายถึงประชากรของพระองค์ ซึ่งรวมคนในสมัยของผู้เขียนและในสมัยก่อนผู้เขียน

ต่อมาในข้อที่ 6 ผู้เขียนได้ใช้คำสรรพนามบุรุษที่ 2 พหูพจน์ เพื่อพูดถึงคนอิสราเอลในสมัยของผู้เขียนคือ “ข้าพระองค์ทั้งหลาย” ในข้อที่ 6 นี้ผู้เขียนและคนอิสราเอลในสมัยเดียวกันได้ยอมรับว่าพวกเขาเองเป็นคนผิดบาปรวมกับบรรพบุรุษของพวกตน

แต่พอมาถึงข้อ 7 ผู้เขียนได้กล่าวถึงบาปที่บรรพบุรุษของคนอิสราเอลได้ทำในอดีตต่อเนื่องกันไป คำสรรพนามบุรุษที่ 3 ที่ใช้กล่าวถึงบรรพบุรุษคือ “ท่าน” และคำสรรพนามนี้ถูกใช้มากที่สุดในบทนี้ เพราะสำหรับภาษาไทยแล้ว เมื่อกล่าวถึงบรรพบุรุษ เราจะให้เกียรติ โดยใช้คำว่า “ท่าน” ทุกครั้ง แม้ว่าบรรพบุรุษจะทำบาป เช่นในข้อ 16-17 จะกล่าถึงชื่อ ดาธานและอาบีรัมซึ่งเป็นคนที่อิจฉาโมเสสและถูกพระเจ้าลงโทษถึงตาย คำสรรพนามในข้อ 18 ยังใช้ว่า “ท่ามกลางพวกท่าน” เพราะพวกเขาคือบรรพบุรุษของคนอิสราเอล ยกเว้นข้อ 30-31 ที่เมื่อกล่าถึงฟิเนหัส แทนที่จะใช้คะสรรพนามบุรุษที่ 3 ว่า “ท่าน” เหมือนตอนอื่นๆ  ทั้งที่ฟีเนหัสก็เป็นบรรพบุรุษด้วยแต่กลับใช้สรรพนาม “เขา” แทนทั้งๆ ที่เป็นคนดีไม่ได้ทำบาปเหมือนบรรพบุรุษคนอื่นๆ ที่ผู้แปลเลือก “เขา” แทน “ท่าน” เพราะไม่ต้องการให้ผู้อ่านนับรวมฟีเนหัสเข้าไปกับบรรพบุรุษคนอื่นๆ ที่ทำบาปและไม่มีคำที่เหมาะสมที่สูงกว่าคำว่า “ท่าน” ฟีเนหัสมีชีวิตที่แตกต่างจากบรรพบุรุษคนอื่นๆ หากผู้แปลใช้คำว่า “ท่าน” ก็อาจจะทำให้ผู้อ่านเข้าใจผิดว่า ฟีเนหัสก็มีชีวิตเหมือนบรรพบุรุษคนอื่นๆ

ต่อมาในข้อ 34-35 เมื่อกล่าวถึงชนชาติอื่นผู้แปลได้ใช้สรรพนามบุรุษที่ 3 ว่า “พวกเขา” เพื่อบอกให้รู้ว่า ไม่ด้หมายถึงบรรพบุรุษของคนอิสราเอล จึงไม่จำเป็นต้องให้เกียติเหมือนบรรพบุรุษของตน ในข้อ 36 หากแปลแบบขยายความก็จะแปลได้ว่า “ท่าน(บรรพบุรุษของคนอิสราเอล)ปรนนิบัติรูปเคารพของพวกเขา(คนต่างชาติ) และหัดทำอย่างที่พวกเขา (พวกต่างชาติ) ทำกัน การใช้คำสรรพนามบุรุษที่ 3 ที่แตกต่างกันนี้ เพื่อให้เห็นชัดเจนว่ากำลังกล่าถึงคนกลุ่มใด

และในข้อที่ 42 มีคำสรรพนามบุรุษที่ 3 ว่า “พวกเขา” เพื่อเล็งถึงศัตรูของคนอิสราเอลที่เป็นคนต่างชาติ ที่เป็นคนละกลุ่มกับบรรพบุรุษของคนอิสราเอล

สรุปได้ว่าผู้แปลพระธรรมสดุดี 106 ได้พิถีพิถันเลือกใช้คำสรรพนามบุราที่ 3 อย่างระมัดระวัง โดยพยายามที่จะไม่ให้ผู้อ่านเข้าใจผิด อย่างไรก็ตามผู้อ่านบางท่านอาจจะเปรียบเทียบคำแปลสดุดี 106 ในภาษาไทยกับพระคัมภีร์ภาษาอังกฤษ แล้วสงสัยว่า  “ทำไมในภาษาอังกฤษใช้คำว่า They อย่างเสมอต้นเสมอปลาย แล้วภาษาไทยจึงแปลคำสรรพนามบุรุษที่ 3 ออกมาหลายอย่าง?” การอาจสามารถอธิบายได้ว่าการใช้สรรพนามของภาษาไทยนั้นมีความซับซ้อนกว่า และมีเรื่องของการให้เกียรติเข้ามาเกี่ยวข้อง และการที่เราจะเข้าใจสิ่งที่ผู้แปลแยกแยะนี้ ผู้อ่านต้องอ่านโดยพิจารณาบริบทของทั้งบทด้วย

การแปลไม่ใช่ศาสตร์ (science) อย่างเดียว แต่เป็นศิลป์ (art) อีกด้วย นอกจากนี้พระคัมภีร์ไทยยังแปลคำสรรพนามได้ดีกว่าภาษาอังกฤษด้วย

  • ศาสนาจารย์ ดร.เสรี หล่อกัณภัย
  • ภาพ www.dustoffthebible.com