นกยูง หรือ ลิงบาบูน? 1.3/11

นกยูงหรือลิงบาบูน?

ถาม พระธรรม 1 พงศ์กษัตริย์ 10:22 ฉบับ 1971
เพราะว่าพระราชามีกองกำปั่น เมืองทารชิช เดินทะเลพร้อมกับกองกำปั่นของฮีราม กองกำปั่นเมืองทารชิชนำทองคำ เงิน งาช้าง ลิง และนกยูงมาสามปี ต่อครั้ง

พระธรรม 1 พงศ์กษัตริย์ 10:22 ฉบับมาตรฐาน 2011 (THSV)
เพราะ ว่า พระราชา มี กอง เรือ เมือง ทารชิช เดิน ทะเล พร้อม กับ กอง เรือ ของ ฮีราม กอง เรือ เมือง ทารชิช นำทองคำ เงิน งาช้าง ลิง และ นกยูง๘มา สาม ปี ต่อ ครั้ง๘แปลได้อีกว่า ลิงบาบูน

พระธรรม 1 พงศ์กษัตริย์ 10:22 ฉบับ English Standard Version (ESV)
For the king had a fleet of ships of Tarshish at sea with the fleet of Hiram. Once every three years the fleet of ships of Tarshish used to come bringing gold, silver, ivory, apes, and peacocks.

พระธรรม 1 พงศ์กษัตริย์ 10:22 ฉบับ New International Version (NIV)
The king had a fleet of trading ships at sea along with the ships of Hiram. Once every three years it returned, carrying gold, silver and ivory, and apes and baboons.

เมื่ออ่านพระธรรม 1 พงศ์กษัตริย์ 10:22 และ 2 พงศาวดาร 9:21 เกี่ยวกับสิ่งที่มากับกองเรือของกษัตริย์ซาโลมอน โดยอ่านเทียบเคียงกับฉบับภาษาอังกฤษหลายฉบับ แล้วพบว่า มีข้อแตกต่างในการแปล บางฉบับแปลว่า “peacocks” [นกยูง] บางฉบับแปลว่า “baboons” [ลิงบาบูน] ดังนั้นจึงสงสัยว่า สิ่งที่บรรทุกมากับกองเรือสินค้านั้นคืออะไรกันแน่?

ตอบ คำถามนี้คล้ายคลึงกับคำถามก่อนคือ เมื่ออ่านพระคัมภีร์เทียบเคียงกันหลายฉบับ แล้วพบคำแปลต่างกัน จึงสงสัยว่าคำแปลไหนถูกต้อง? แท้ที่จริงแล้ว หากพบคำแปลจากฉบับมาตรฐานไม่ว่าจะฉบับไทย หรืออังกฤษ หรืออื่นๆ แตกต่างกัน นั่นย่อมแสดงว่า คำนั้นในภาษาเดิมคงจะมีความหมายไม่แน่นอน หรืออาจมีความหมายได้มากกว่าหนึ่งก็เป็นได้

คำฮีบรูคือ Tukkiyyim พจนานุกรมฮีบรู-อังกฤษของ Brown, Driver และ Briggs ให้คำนิยามว่า Tukkiyyim คือ peacocks
[นก ยูง] แต่พจนานุกรมของ Holladay ซึ่งใหม่กว่า ว่า Tukkiyyim คือ poultries [สัตว์ปีก] แต่น่าจะหมายถึง baboons [ลิงบาบูน] อนึ่งนักวิชาการพระคัมภีร์ในปัจจุบันหลายท่านเห็นว่า คำนี้น่าจะหมายถึง ลิงบาบูน มากกว่า ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้เราพบความแตกต่างในคำแปลของหลายฉบับ พระคัมภีร์ไทย ฉบับมาตรฐานเองก็ตระหนักถึงความจริงนี้จึงใส่เชิงอรรถตรงคำ “นกยูง” เพื่อช่วยผู้อ่านว่า “แปลได้อีกว่า ลิงบาบูน” ดังนั้น เราพบว่ามันยากที่จะตัดสินโดยมั่นใจเต็มร้อยว่า อะไรกันแน่ระหว่างนกยูงกับลิงบาบูนที่มากับกองเรือเดินสมุทรของกษัตริย์ซา โลมอน

  • อ.ปัญญา โชชัยชาญ
  • ภาพ www.leesbird.com