วิธีบูรณาการคำสอนพระคัมภีร์ แก่เด็กและเยาวชน
พระคัมภีร์ คือ หนังสือยิ่งใหญ่ เป็นพระวจนะของพระเจ้า มีผู้กล่าวว่า หากจะให้คำจำกัดความวัตถุประสงค์แบบชัดเจนที่สุดของพระคัมภีร์ก็คือ หนังสือที่เปิดเผยให้เห็นว่าพระเจ้าทรงมีพระลักษณะอย่างไร พระคัมภีร์เป็นหนังสือที่พระเจ้าสำแดงให้แก่มนุษย์ได้เรียนรู้ บอกให้ทราบว่ามนุษย์คือใคร มีความเป็นมาอย่างไร พระคัมภีร์บอกว่าเราเป็นคนบาปและพระเจ้าทรงมีแผนการไถ่โดยทางพระเยซูอย่างไร มีผู้กล่าวว่า “พระคัมภีร์คือข้อมูลพื้นฐาน (คำสอน) เพื่อเตรียมตัวออกจากโลกนี้” (Bible- Basic Information Before Leaving Earth, Basic Instructions Before Leaving Earth)
.
ด้วยเหตุนี้ พระคัมภีร์จึงเป็นหนังสือเหนือกว่าหนังสือทั้งมวล หนังสือที่ขายดีที่สุดในโลกตั้งแต่มีการพิมพ์ ไม่มีใครปฏิเสธถึงความยิ่งใหญ่ในหลักคำสอนซึ่งก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทั่วโลก ในทุกทวีป พระคัมภีร์มีบทบาทเปลี่ยนแปลงชีวิตผู้คนนับพันๆ ล้านคน ทั้งวิถีการดำเนินชีวิตของประชาชน นำไปสู่การพัฒนาชาติบ้านเมือง
.
อย่างไรก็ตาม ขณะที่โลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ความรู้ของมนุษย์ทวีมากขึ้น คนจำนวนมากเริ่มออกห่างและละเลยไม่ใส่ใจคำสอนของพระคัมภีร์ แม้แต่ในสถาบันการศึกษาของคริสตจักร บางแห่งละเลยวัตถุประสงค์การศึกษาของคริสตชนเพื่อนำไปสู่การพัฒนาชีวิตผู้เรียน ให้มุ่งไปสู่พระประสงค์ของพระเจ้า ให้มีลักษณะนิสัยและพฤติกรรมที่ดีงาม ตรงตามเป้าหมายสูงสุดของพระเจ้า “เพื่อคนของพระเจ้าจะมีความสามารถ และพรักพร้อมเพื่อการดีทุกอย่าง” (2 ทธ. 3:17) สถาบันการศึกษาของคริสตจักรจึงจำเป็นต้อง บูรณาการคำสอนของพระคัมภีร์แก่นักเรียน นักศึกษา ปัจจุบันส่วนใหญ่ไม่ใช่บุตรหลานคริสตชน นี่จึงเป็นโอกาสดีในการนำข่าวประเสริฐไปสู่นักเรียนเหล่านั้น เพื่อให้เขานำไปประพฤติปฏิบัติในชีวิต
.
ดังที่ผู้เขียนกล่าวไปแล้วว่าสถาบันการศึกษาที่ก่อตั้งโดยคริสตจักรเริ่มเปลี่ยนแปลง ไม่ให้ความสำคัญต่อพระคัมภีร์ ตัวอย่างในอดีต วิทยาลัยและมหาวิทยาลัยหลายแห่งในสหรัฐอเมริกา เริ่มต้นมาจากสถานศึกษาเกี่ยวกับพระคัมภีร์ เช่น มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดและเยล ก่อตั้งโดยกลุ่มเพียวริตัน มหาวิทยาลัยพรินสตัน ก่อตั้งโดยคริสตจักรเพรสไบทีเรียน สถาบันเหล่านี้เคยมีประวัติศาสตร์ที่ดีงามของความเป็นคริสตชนดังที่ทราบกันดี เช่น ฮาร์วาร์ด ได้ชื่อมาจากศาสนาจารย์ท่านหนึ่ง มหาวิทยาลัยเยล เริ่มก่อตั้งโดยบรรพชิต และเมื่อมหาวิทยาลัยพรินสตันเปิดสอน ผู้สอนนักศึกษาปีแรกคือ สาธุคุณโจนาธาน ดิ๊กคินสัน ตราประจำมหาวิทยาลัยพรินสตัน ยังคงคำว่า “Dei sub numine viget” ภาษาลาติน หมายความว่า “สถาบันนี้เจริญก้าวหน้าภายใต้พระเจ้า”
.
ในประเทศอังกฤษ สถาบันอุมศึกษาแห่งแรกเริ่มจากระดับวิทยาลัย เมื่อ ค.ศ. 500 โดยนักเทศน์ชาวเซลติค โดยสาธุคุณอิลไทด์ มหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ดก่อตั้งตามนโยบายด้านศาสนา เช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ ก่อตั้งขึ้นโดยผู้นำคริสตชนเมื่อ ค.ศ. 1209 โดยผู้นำคริสตจักร มหาวิทยาลัยเซนต์แอนดรูว์ สถาบันเก่าแก่ที่สุดของสก็อตแลนด์ ก่อตั้งขึ้นบนพื้นฐานสถานศึกษาศาสนศาสตร์ จะเห็นได้ว่าสถาบันการศึกษามีชื่อเสียงเหล่านี้สร้างขึ้นโดยผู้เชื่อในพระคัมภีร์ มหาวิทยาลัยเอดินเบิร์ก เริ่มต้นจากคริสตจักรเพรสไบทีเรียน ให้เป็นสถาบันอบรมด้านพระคัมภีร์และการประกาศศาสนา เป็นต้น
.
สิ่งที่น่าเสียใจเกิดจากการที่ผู้นำสถาบันทำตามทัศนะความรู้สมัยใหม่ บ้างก็เชื่อทฤษฎีวิวัฒนาการ ไม่เชื่อการเนรมิตสร้างอีกต่อไป จึงลดความสำคัญของพระคัมภีร์ลง เป็นจุดเริ่มต้นของการประนีประนอม ในที่สุดมรดกความเป็นคริสตชนก็ถูกกลืนหาย
.
สถาบันครอบครัวคริสตชนยุคใหม่ก็ตกอยู่ในสภาพเดียวกัน เมื่อลดความสำคัญของพระคัมภีร์ลง เริ่มใส่ใจในพระคัมภีร์ลดลง นี่คือศตวรรษแห่งการท้าทายที่จะรักษาความเชื่อไว้และถ่ายทอดไปสู่คนรุ่นต่อไปอย่างไร
.
สถาบันการศึกษาของคริสตจักรในยุคปัจจุบัน
จากประสบการณ์ทำงานในแวดวงการศึกษาของคริสตจักรเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีสมาหลายทศวรรษ ผู้เขียนขอนำเอามาแบ่งปันผู้อ่าน เพื่อเป็นแง่คิดในการบูรณาการคำสอนของพระคัมภีร์ในชีวิตประจำวันและในห้องเรียนของสถานศึกษาของคริสตจักร ในชั้นเรียนคริสตจักรและในครอบครัว เพื่อนำไปประยุกต์ใช้
จากประสบการณ์ทำงานในแวดวงการศึกษาของคริสตจักรเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีสมาหลายทศวรรษ ผู้เขียนขอนำเอามาแบ่งปันผู้อ่าน เพื่อเป็นแง่คิดในการบูรณาการคำสอนของพระคัมภีร์ในชีวิตประจำวันและในห้องเรียนของสถานศึกษาของคริสตจักร ในชั้นเรียนคริสตจักรและในครอบครัว เพื่อนำไปประยุกต์ใช้
.
พระคัมภีร์ในระดับประถมและมัธยมศึกษา
นักเรียนและนักศึกษาในสถาบันของคริสตจักรเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีสในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นผู้เชื่อศาสนาอื่น (พุทธ มุสลิม) การสอนพระคัมภีร์ให้แก่นักเรียนจึงไม่อาจใช้วิธีการเหมือนการสอนคริสตชน หลักสูตรการสอนพระธรรมจึงขึ้นอยู่กับอนุศาสกผู้ดูแลฝ่ายจิตวิญญาณของนักเรียน โดยการปูพื้นให้รู้จักประวัติการเขียนพระคัมภีร์ และคำสอนที่ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เสริมสร้างจริยธรรมและคุณธรรมของคริสตชนให้แก่นักเรียน การเข้าแถวเคารพธงชาติทุกเช้า นักเรียนและครูอธิษฐานร่วมกัน
นักเรียนและนักศึกษาในสถาบันของคริสตจักรเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีสในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นผู้เชื่อศาสนาอื่น (พุทธ มุสลิม) การสอนพระคัมภีร์ให้แก่นักเรียนจึงไม่อาจใช้วิธีการเหมือนการสอนคริสตชน หลักสูตรการสอนพระธรรมจึงขึ้นอยู่กับอนุศาสกผู้ดูแลฝ่ายจิตวิญญาณของนักเรียน โดยการปูพื้นให้รู้จักประวัติการเขียนพระคัมภีร์ และคำสอนที่ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เสริมสร้างจริยธรรมและคุณธรรมของคริสตชนให้แก่นักเรียน การเข้าแถวเคารพธงชาติทุกเช้า นักเรียนและครูอธิษฐานร่วมกัน
.
บางโรงเรียนของเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีส เป็นโรงเรียนประจำ นักเรียนทุกคนจึงมีโอกาสเข้าร่วมนมัสการเช้า-เย็น ทุกวัน และเข้านมัสการปลายสัปดาห์ รายการเยาวชนคืนวันศุกร์และนมัสการเช้าวันเสาร์ (สะบาโต)
.
ตัวอย่างวิชาที่เรียนในระดับประถมและมัธยมศึกษาครอบคลุมเนื้อหาพระคัมภีร์ทั้งหมด ได้แก่ ประวัติความเป็นมาของพระคัมภีร์ การสร้างโลก เรื่องราวของบุคคลในพระคัมภีร์เดิม-ใหม่ ราชกิจของพระเยซู การตั้งคริสตจักร การประกาศข่าวประเสริฐของอัครสาวก คำสอนของพระเยซูและอัครสาวก การประกาศข่าวประเสริฐยุคปัจจุบัน การส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักวิธีแบ่งปันข่าวดี และแผ่นดินสวรรค์ที่กำลังจะมาพร้อมกับการเสด็จกลับมาของพระเยซู เป็นต้น
.
กิจกรรมเสริมสร้างอุปนิสัยด้วยพระคัมภีร์
โรงเรียนมีกิจกรรมส่งเสริมทางกาย สติปัญญา จิตใจและศีลธรรมให้เป็นพลเมืองดี มีความรับผิดชอบและสร้างสรรค์สังคมให้เกิดความสามัคคีและมีความเจริญก้าวหน้า เพื่อความสงบสุขและความมั่นคงของประเทศชาติ ในโรงเรียนของเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีส มีกิจกรรมลักษณะคล้ายกับลูกเสือและเนตรนารี โดยบูรณาการคำสอนของพระคัมภีร์สอดแทรกในกิจกรรมด้วย กิจกรรมเหล่านี้มีในโบสถ์ส่วนใหญ่ ซึ่งเด็กไม่มีโอกาสเข้าเรียนในโรงเรียนคริสเตียน จัดอบรมทุกสัปดาห์ ส่วนในโบถ์จัดกิจกรรมตอนบ่ายวันเสาร์หรือวันอาทิตย์ แบ่งออกเป็นกลุ่มตามอายุดังนี้
โรงเรียนมีกิจกรรมส่งเสริมทางกาย สติปัญญา จิตใจและศีลธรรมให้เป็นพลเมืองดี มีความรับผิดชอบและสร้างสรรค์สังคมให้เกิดความสามัคคีและมีความเจริญก้าวหน้า เพื่อความสงบสุขและความมั่นคงของประเทศชาติ ในโรงเรียนของเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีส มีกิจกรรมลักษณะคล้ายกับลูกเสือและเนตรนารี โดยบูรณาการคำสอนของพระคัมภีร์สอดแทรกในกิจกรรมด้วย กิจกรรมเหล่านี้มีในโบสถ์ส่วนใหญ่ ซึ่งเด็กไม่มีโอกาสเข้าเรียนในโรงเรียนคริสเตียน จัดอบรมทุกสัปดาห์ ส่วนในโบถ์จัดกิจกรรมตอนบ่ายวันเสาร์หรือวันอาทิตย์ แบ่งออกเป็นกลุ่มตามอายุดังนี้
.
1. ชมรม “แอ๊ดเวนเจอเรอร์” (Adventurers)
มีปรัชญาในการเสริมสร้างและสนับสนุนผู้ปกครอง ให้เห็นถึงความสำคัญและรับผิดชอบในการเลี้ยงดูบุตร โดยการฝึกฝนผู้ปกครองให้เป็นครูคนแรกของลูก เสริมสร้างให้ผู้ปกครองและบุตรมีกิจกรรมร่วมกัน เพื่อให้เด็กเติบโตทางด้านร่างกาย สมองและจิตวิญญาณ ให้เป็นเด็กที่มีความสุขและเติบโตเป็นวัยรุ่นที่มีความพร้อมทุกด้าน จากนั้นชักชวนให้เด็กเข้าชมรมแอ๊ดเวนเจอเรอร์ ให้เด็กและผู้ปกครองมีโอกาสทำกิจกรรมร่วมกัน ฝึกการเข้ากับกลุ่มและเพื่อน มีความฉลาดด้านอารมณ์ (EQ) เมื่อผ่านวัยและชั้นแอ๊ดเวนเจอเรอร์ เด็กเหล่านี้จะก้าวไปสู่ชั้น “พาธไฟเดอร์” (Pathfinders) หรือ “ผู้เบิกทาง” ต่อไป
มีปรัชญาในการเสริมสร้างและสนับสนุนผู้ปกครอง ให้เห็นถึงความสำคัญและรับผิดชอบในการเลี้ยงดูบุตร โดยการฝึกฝนผู้ปกครองให้เป็นครูคนแรกของลูก เสริมสร้างให้ผู้ปกครองและบุตรมีกิจกรรมร่วมกัน เพื่อให้เด็กเติบโตทางด้านร่างกาย สมองและจิตวิญญาณ ให้เป็นเด็กที่มีความสุขและเติบโตเป็นวัยรุ่นที่มีความพร้อมทุกด้าน จากนั้นชักชวนให้เด็กเข้าชมรมแอ๊ดเวนเจอเรอร์ ให้เด็กและผู้ปกครองมีโอกาสทำกิจกรรมร่วมกัน ฝึกการเข้ากับกลุ่มและเพื่อน มีความฉลาดด้านอารมณ์ (EQ) เมื่อผ่านวัยและชั้นแอ๊ดเวนเจอเรอร์ เด็กเหล่านี้จะก้าวไปสู่ชั้น “พาธไฟเดอร์” (Pathfinders) หรือ “ผู้เบิกทาง” ต่อไป
.
คำปฏิญาณของแอ๊ดเวนเจอเรอร์ “เพราะพระเยซูทรงรักฉัน ฉันจะทำดีที่สุดเสมอ”
.
กฎของแอ๊ดเวนเจอเรอร์
- เชื่อฟัง
- จงบริสุทธิ์
- จงมีเมตตา
- จงเคารพยำเกรง
- จงตั้งใจ
- จงช่วยเหลือผู้อื่น
- จงชื่นชมยินดี
- จงรอบคอบ
- จงให้เกียรติ
ระดับชั้นเรียนตามอายุ
- ชั้น “แกะน้อย” (Little Lamb) สำหรับเด็กก่อนชั้นอนุบาล อายุ 4 ปี
- ชั้น “บีเวอร์จอมมุ่งมั่น” (Eager Beaver) ชั้นอนุบาล อายุ 5 ปี
- ชั้น “ผึ้งขยัน” (Busy Bee) ชั้น ป. 2 อายุ 7 ปี
- ชั้น “แสงตะวัน” (Sun Beams) ชั้น ป. 3 อายุ 8 ปี
- ชั้น “ผู้สร้าง” (Builders) ชั้น ป. 4 อายุ 9 ปี
เมื่ออนุชน/นักเรียนอายุ 10 ปี ขึ้นไป จะเข้าร่วมชมรม “พาธไฟเดอร์” (Pathfinders)
.
2. ชมรมพาธไฟเดอร์ (Pathfinder Club)
วัตถุประสงค์ของพาธไฟเดอร์ คือการสร้างเยาวชนเพื่อเป็นผู้นำในอนาคต เพื่อนำข่าวประเสริฐประกาศทั้งในท้องถิ่นและทั่วโลก โดยการให้ความรู้ด้านพระคัมภีร์ศึกษา เรามีกิจกรรมด้านร่างกายเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่เด็กและเยาวชน อีกด้านหนึ่งด้วย ชมรม “พาธไฟเดอร์” มีศูนย์กลางของกิจกรรมอยู่ที่ การสร้างเสริมจิตวิญญาณ ร่วมกับกิจกรรมสันทนาการ เพื่อเด็กและอนุชนอายุ 10-15 ปี โดยมีกิจกรรมที่สนองต่อความสนใจและต้องการของเด็กวัยนี้ ซึ่งอยู่ในช่วงวัยที่ร่างกายเปลี่ยนแปลงเร็ว กิจกรรมจึงมีการแสดงออก การผจญภัย การท้าทาย กิจกรรมกลุ่ม และให้โอกาสในการสร้างทัศนคติที่ดี ทักษะในการสร้างลักษณะนิสัยที่เหมาะสมกับวัยและในการเข้ากับเพื่อนในกลุ่ม การทำงานเป็นทีม สร้างความจงรักภักดีต่อพระเจ้า พระผู้สร้างของเขา และคริสตจักรของพระองค์
วัตถุประสงค์ของพาธไฟเดอร์ คือการสร้างเยาวชนเพื่อเป็นผู้นำในอนาคต เพื่อนำข่าวประเสริฐประกาศทั้งในท้องถิ่นและทั่วโลก โดยการให้ความรู้ด้านพระคัมภีร์ศึกษา เรามีกิจกรรมด้านร่างกายเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่เด็กและเยาวชน อีกด้านหนึ่งด้วย ชมรม “พาธไฟเดอร์” มีศูนย์กลางของกิจกรรมอยู่ที่ การสร้างเสริมจิตวิญญาณ ร่วมกับกิจกรรมสันทนาการ เพื่อเด็กและอนุชนอายุ 10-15 ปี โดยมีกิจกรรมที่สนองต่อความสนใจและต้องการของเด็กวัยนี้ ซึ่งอยู่ในช่วงวัยที่ร่างกายเปลี่ยนแปลงเร็ว กิจกรรมจึงมีการแสดงออก การผจญภัย การท้าทาย กิจกรรมกลุ่ม และให้โอกาสในการสร้างทัศนคติที่ดี ทักษะในการสร้างลักษณะนิสัยที่เหมาะสมกับวัยและในการเข้ากับเพื่อนในกลุ่ม การทำงานเป็นทีม สร้างความจงรักภักดีต่อพระเจ้า พระผู้สร้างของเขา และคริสตจักรของพระองค์
.
คำปฏิญาณพาธไฟเดอร์ “โดยพระคุณของพระเจ้า ข้าฯ จะเป็นคนบริสุทธิ์ มีน้ำใจ และสัตย์จริง ข้าฯ จะรักษากฎของพาธไฟเดอร์ ข้าฯ จะเป็นผู้รับใช้ของพระเจ้าและเป็นมิตรกับทุกคน”
.
ความหมายคำปฏิญาณ
- “โดยพระคุณ” การทำตามพระประสงค์ของพระเจ้าโดยการช่วยเหลือของพระองค์
- “เป็นคนบริสุทธิ์” จะดำรงชีวิตอยู่เหนือวิถีของโลก รักษาชีวิตให้บริสุทธิ์ด้วยพระวจนะและสร้างสันติสุขทุกหนแห่ง
- “มีน้ำใจ” มีจิตเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์และสรรพสิ่งที่มีชีวิตที่พระเจ้าทรงสร้าง
- “รักษากฎของพาธไฟเดอร์” เข้าใจ เชื่อฟังและปฏิบัติตามคำปฏิญาณและกฎของพาธไฟเดอร์
- “เป็นผู้รับใช้ของพระเจ้า” ปฏิญาณตนรับใช้พระเจ้าเป็นสิ่งแรกและสิ่งสุดท้าย และสิ่งดีที่สุดเหนืออื่นใด
- “เป็นมิตรกับทุกคน” มีชีวิตเป็นพรแก่คนทั้งหลาย ดังที่เขาเป็นพรแก่เรา
กฎพาธไฟเดอร์ ทุกคนพึงปฏิบัติดังนี้
- นมัสการเช้าทุกวัน-เฝ้าเดี่ยว ศึกษาพระคัมภีร์และอธิษฐานทุกวัน
- ให้เกียรติผู้อื่น-โดยพระคุณพระเจ้า ฝึกเป็นคนสุภาพ ถ่อมตนเสมอ
- ใส่ใจดูแลร่างกาย-ฝึกการบังคับตน ดูแลร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรงอยู่เสมอ
- ซื่อตรง-ไม่พูดโกหก พูดปด หลอกลวง คิดและพูดแต่ความจริง หลีกเว้นความคิดชั่วร้าย
- มีน้ำใจและเชื่อฟัง-มีน้ำใจให้ผู้อื่น แสดงความรักของพระเยซูให้ทุกคนเห็นในการกระทำทุกอย่าง
- เดินเรียบร้อยในโบสถ์-สำรวมกิริยามารยาทในสถานนมัสการ
- ร้องเพลงในใจเสมอ-มีใจร่าเริง สดชื่น เป็นแสงสว่างให้ผู้อื่นได้เห็นพระคริสต์เสมอ
- มุ่งหน้ารับใช้พระเจ้า-พร้อมทำความดี และแบ่งปันพระคริสต์แก่ทุกคน
ชั้นเรียนของพาธไฟเดอร์ มีระดับต่างๆ ดังนี้
- ชั้น “เพื่อน” (Friend) ชั้น ป. 5 อายุ 10-11 ปี
- ชั้น “สหาย” (Companion) ชั้น ป. 6 อายุ 11-12 ปี
- ชั้น “ผู้บุกเบิก” (Explorer) ชั้น ม. 1 อายุ 12-13 ปี
- ชั้น “ผู้พิทักษ์” (Ranger) ชั้น ม. 2 อายุ 13-14 ปี
- ชั้น “ผู้นำวิถี” (Voyager) ชั้น ม. 3 อายุ 14-15 ปี
- ชั้น “ผู้ชี้นำ” (Guide) ชั้น ม. 4-6 อายุ 15-16 ปี
ผู้ที่ผ่านชั้น “ผู้ชี้นำ” ครบ 4 ปี จะก้าวไปเป็นผู้สอนหรือวิทยากร (Master Guide) ต่อไป
.
กิจกรรมเพื่อเด็กและเยาวชนทั้งหมดนี้มีการศึกษาพระคัมภีร์อย่างต่อเนื่อง การท่องจำ เรียนรู้อย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพื่อการนำไปปฏิบัติใช้ในชีวิตประจำวัน ด้วยหวังว่าทุกคนจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์ทั้งด้านร่างกาย สมองและจิตวิญญาณ ชั้นเรียนทั้งหมดนี้มีสอนอยู่ในโรงเรียนของเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีสทุกแห่งทั่วโลก ในประเทศไทยทั้งหมด 10 โรงเรียน
.
บูรณาการพระคัมภีร์ในระดับอุดมศึกษา
ผู้เขียนเคยมีส่วนร่วมในการจัดทำหลักสูตรวิชาพื้นฐานของมหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย-แปซิฟิก ดำเนินงานโดยมูลนิธิคริสเตียนเมดิคอลเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีส เปิดสอนหลายสาขาวิชา โดยกำหนดนโยบายให้นักศึกษาทุกสาขาต้องเรียนวิชาด้านพระคัมภีร์ศึกษา 12 หน่วยกิต ในหมวดวิชาพื้นฐาน เพื่อให้ผู้ศึกษาพัฒนาตนเองด้านชีวิต การศึกษา และแบ่งปันพระวจนะ โดยการนำหลักการ นำคำสอนของพระคัมภีร์สอดแทรกในทุกวิชาเรียน เรียกว่า “บูรณาการความเชื่อและการเรียนรู้” (Integration of Faith and Learning) นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยฯ เปิดสอนสาขาศาสนศึกษา (Religious Study) เพื่อเตรียมนักศึกษาเข้าสู่การเป็นผู้รับใช้พันธกิจอภิบาลศิษย์ในคริสตจักร ปรัชญาการดำเนินงานสถานบันการศึกษาแห่งนี้ยกย่องพระคัมภีร์เป็นหนังสือต้นแบบการสอน เหมือนสถาบันอุดมศึกษาของคริสตจักรทั่วโลกกว่า 115 แห่ง โรงเรียนระดับประถมและมัธยม 7,760 แห่ง ใน 215 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทย ประสบการณ์ด้านการศึกษาโดยมีพระคัมภีร์เป็นศูนย์กลาง ดำเนินมากว่า 150 ปี (ดูรายชื่อ https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_Seventh-day_Adventist_colleges_and_universities)
ผู้เขียนเคยมีส่วนร่วมในการจัดทำหลักสูตรวิชาพื้นฐานของมหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย-แปซิฟิก ดำเนินงานโดยมูลนิธิคริสเตียนเมดิคอลเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนตีส เปิดสอนหลายสาขาวิชา โดยกำหนดนโยบายให้นักศึกษาทุกสาขาต้องเรียนวิชาด้านพระคัมภีร์ศึกษา 12 หน่วยกิต ในหมวดวิชาพื้นฐาน เพื่อให้ผู้ศึกษาพัฒนาตนเองด้านชีวิต การศึกษา และแบ่งปันพระวจนะ โดยการนำหลักการ นำคำสอนของพระคัมภีร์สอดแทรกในทุกวิชาเรียน เรียกว่า “บูรณาการความเชื่อและการเรียนรู้” (Integration of Faith and Learning) นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยฯ เปิดสอนสาขาศาสนศึกษา (Religious Study) เพื่อเตรียมนักศึกษาเข้าสู่การเป็นผู้รับใช้พันธกิจอภิบาลศิษย์ในคริสตจักร ปรัชญาการดำเนินงานสถานบันการศึกษาแห่งนี้ยกย่องพระคัมภีร์เป็นหนังสือต้นแบบการสอน เหมือนสถาบันอุดมศึกษาของคริสตจักรทั่วโลกกว่า 115 แห่ง โรงเรียนระดับประถมและมัธยม 7,760 แห่ง ใน 215 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทย ประสบการณ์ด้านการศึกษาโดยมีพระคัมภีร์เป็นศูนย์กลาง ดำเนินมากว่า 150 ปี (ดูรายชื่อ https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_Seventh-day_Adventist_colleges_and_universities)
..
วิชาเกี่ยวกับพระคัมภีร์ในกลุ่มวิชาพื้นฐานที่นักศึกษาทุกคนต้องลงทะเบียนเรียนได้แก่
- สัมมนาการพัฒนาลักษณะนิสัย นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมและรับฟังข้อคิดเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตฝ่ายจิตวิญญาณทุกสัปดาห์ เรียนรู้หลักการดำเนินชีวิตที่ดีงาม ตามแบบจริยธรรม คริสตชน เพื่อนำไปปรับใช้กับชีวิตประจำวัน เพื่อเตรียมตัวออกไปรับใช้สังคม และเป็นผู้นำด้านจริยธรรมในอนาคต เพื่อนำสันติสุขมาสู่ชุมชน
- ชีวิตและคำสอนของพระเยซู ศึกษาความเป็นมาความเชื่อของคริสตชนในพระคัมภีร์ โดยการศึกษาชีวิตและคำสอนของพระเยซูที่มีต่อสังคมมนุษย์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
- จริยศึกษา ศึกษาจริยธรรมตามทัศนะของคริสตศาสนาและการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าประวัติ ปรัชญาของจริยธรรมด้านพฤติกรรมอื่นๆ ในสังคม เพื่อสร้างคุณค่าและพัฒนาลักษณะนิสัย
- กำเนิดชีวิต ศึกษาปัญหาที่มาของจักรวาลและเผ่าพันธุ์มนุษย์จากมุมมองของศาสนา ปรัชญา และสะท้อนความคิดเห็นจากวิทยาศาสตร์ ค้นคว้าหาคำตอบให้แก่คำถามการเกิดขึ้นของชีวิตมนุษย์ จากแนวคิดทั่วไปและคำสอนของพระคัมภีร์เกี่ยวกับกำเนิดชีวิต ซึ่งเห็นด้วยหรือแตกต่างจากความรู้อื่นๆ
- ทักษะการใช้ชีวิตในสังคม ศึกษาทัศนะเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์และบทบาทในสังคมของแต่ละคน รู้จักเอกลักษณ์ของตนเอง และพลังทางสังคม โดยนำเอาหลักการของพระคัมภีร์มาศึกษาเปรียบเทียบและประเมินประเด็นต่างๆ ในสังคม เตรียมเยาวชนหนุ่มสาวก้าวไปสู่การสร้างครอบครัวของตนเองต่อไป
- พื้นฐานความเชื่อคริสตชน ศึกษาพื้นฐานความเชื่อและคำสอนของคริสตชน เช่น ความรอดบาป การนมัสการ การเสด็จกลับมาครั้งที่สองของพระเยซูคริสต์ การดูแลสุขภาพ การบังคับตน การประกาศข่าวประเสริฐ ชีวิตและความตาย การพิพากษา ฯลฯ
- จุดมุ่งหมายของมนุษย์ ศึกษาอนาคตศาสตร์ของโลก บนพื้นฐานของพระคัมภีร์ โดยเฉพาะพระธรรมดาเนียลและวิวรณ์
.
สิ่งที่คริสตจักรพึงตระหนักในสภาพความเป็นจริง บุตรหลานคริสตชนส่วนมากไม่ได้ศึกษาในโรงเรียนของคริสตจักร ด้วยเหตุนี้ อนุชนและเยาวชนเหล่านี้ไม่มีโอกาสศึกษาเกี่ยวกับจิตวิญญาณตามคำสอนของพระคัมภีร์ ยิ่งไปกว่านั้น หากศึกษาในสถาบันการศึกษาของรัฐบาล นักเรียน นักศึกษาต้องเข้าร่วมกิจกรรมด้านศาสนาที่ไม่สอดคล้องกับความเชื่อ จึงเป็นหน้าที่ของคริสตจักรและครอบครัวในการให้ความรู้แก่เยาวชน หลักสูตรและกิจกรรมที่นำเสนอในบทความนี้ สามารถนำไปปรับใช้ได้
.
นอกจากโรงเรียนรวีวารศึกษา ควรหรือไม่ที่จะให้มีชั้นศึกษาในวันอื่นนอกจากวันเสาร์หรือวันอาทิตย์ เพื่อส่งต่อความเชื่อให้แก่ชนรุ่นต่อไป เหมือนชาวยิวที่ยังคงความเป็นชนชาติอยู่ได้ทุกวันนี้ แม้เวลาผ่านมาหลายพันปี แม้สิ้นแผ่นดินอาศัย ชาวยิวไม่เคยละทิ้งการศึกษาและการสั่งสอนความเชื่อในพระเจ้าแก่บุตรหลาน
.
การศึกษาตามแบบชาวยิวคือการถ่ายทอดคำสอน หลักการต่างๆ และธรรมบัญญํติของศาสนา ยูดาย พวกเขาได้ชื่อว่า “คนแห่งหนังสือ” (People of the Book) คนยิวจึงเห็นคุณค่าการศึกษา เน้นค่านิยมการศึกษายิ่งกว่าสิ่งใด จนกลายเป็นวัฒนธรรมยิวไปโดยปริยาย ศาสนายูดายเน้นหนักไปที่การศึกษาพระคัมภีร์โทราห์ ตลอดประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาชาวยิวสั่งสอนพระคัมภีร์พันธสัญญาเดิม เขาเชื่อว่า พระคัมภีร์คือหนังสือที่อธิบายความการศึกษาของชาวยิว ด้วยวัตถุประสงค์หลักคือ การรู้จักและนมัสการพระเจ้า ด้วยเหตุนี้ผู้ปกครองชาวยิวจึงมีหน้าที่สั่งสอนบุตรหลานของตนให้รู้จักการอธิษฐาน สอนให้รู้ว่าโทราห์มีข้อห้ามใดบ้าง ผู้ปกครองคือผู้ถ่ายทอดจริยธรรม ความเชื่อและค่านิยมแบบยิวให้แก่บุตรหลาน
.
นักเขียนชื่อ นาธัน เอช. วินเธอร์ กล่าวว่า “เป็นที่ยอมรับว่า โทราห์ เป็นคำสอนที่เกี่ยวข้องกับทุกสิ่งทุกอย่างในการดำรงความเป็นมนุษย์ เป็นสิ่งที่สัมผัสกับชีวิตในทุกมิติ นอกจากนี้โทราห์ยังให้ความหมายของการเรียนรู้ การสั่งสอน และการแนะแนว การศึกษาของยิวจึงเกี่ยวข้องกับกับการถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรมแก่ปัจเจกยิวทุกคน”
.
ประวัติการศึกษาของชาวยิวถือกำเนิดขึ้นพร้อมกับศาสนายูดาย ชาวยิวยกย่องให้อับราฮัมเป็นผู้ริเริ่มการสอนวิถีของพระเจ้าแก่บุตรของท่าน หน้าที่พื้นฐานของผู้ปกครองชาวยิวคือ การสอนบุตรหลานของเขาให้อธิษฐาน “เช-มา ยิสราเอล” จากพระธรรมเฉลยธรรมบัญญัติ “และจงให้ถ้อย คำเหล่านี้ที่ข้าพเจ้าบัญชาท่านในวันนี้อยู่ในใจของท่าน และท่านจงสอนถ้อยคำเหล่านั้นแก่บุตรหลานของท่าน และจงพูดถึงถ้อยคำเหล่านั้นเมื่อท่านนั่งอยู่ในบ้าน เดินอยู่ตามทาง นอนลงหรือลุกขึ้น จงเอาถ้อยคำเหล่านี้ผูกไว้ที่มือของท่านเป็นหมายสำคัญ และคาดไว้ที่หน้าผากของท่านเป็นสัญลักษณ์ และจงเขียนถ้อยคำเหล่านี้ไว้ที่เสาประตูบ้าน และที่ประตูของท่าน” (6:6-9)
.
คริสตชนควรฝึกบุตรหลานเช่นเดียวกับชาวยิว โดยการใช้ 10 วิธีต่อไปนี้
เมื่อ “ลุกขึ้น”
1. สอนให้บุตรหลานฝึกนิสัยอธิษฐานทุกวัน ฝึกให้เขาเฝ้าเดี่ยวกับพระเจ้า ในวัยเด็กเล็ก เปิดเสียงอ่านพระคัมภีร์ให้ลูกฟัง เพลงคริสตชน อธิษฐานกับลูกเป็นประจำทุกวัน จัดหาหนังสือ ซีดี สื่อ ให้สมกับวัยของเด็ก (ซื้อได้จากสมาคมพระ คริสตธรรมไทย)
เมื่อ “นอนลง”
2. นมัสการก่อนนอนกับลูก ไม่จำเป็นต้องอ่านจากพระคัมภีร์เสมอไป เพียงอธิบายความหมายของพระธรรม เล่าเรื่องบุคคลในพระคัมภีร์ให้ลูกฟังก่อนนอน ช่วยให้ลูกเข้าใจมากขึ้น
3. อ่านสดุดีอวยพรให้ลูกก่อนนอน ก่อนที่ลูกหลับตานอน อ่านพระธรรมสดุดี อธิษฐานกับลูก
4. เปิดเพลงบรรเลงสรรเสริญเบาๆ เพื่อช่วยให้ลูกหลับสบาย
เมื่อ “เดินอยู่ตามทาง”
5. แนะนำพระธรรมสุภาษิตเปรียบเทียบกับสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน พระธรรมเขียนสำหรับผู้ปกครองสอนลูกหลาน ท่องจำง่าย เมื่อลูกมีปัญหา ค้นข้อพระธรรมที่เหมาะเป็นคำตอบให้เขา เมื่อต้องลงวินัยลูก ใช้สุภาษิตสอดแทรก ก่อนการตีสอน
6. ชวนลูกหลานออกไปรับใช้ ร่วมกิจกรรมเพื่อสังคม การเยี่ยม ช่วยเหลือผู้สูงอายุ งานอาสาสมัครต่างๆ ยกตัวอย่างในพระคัมภีร์ให้เขาเห็นว่า การทำความดีแก่คนอื่น ก็เหมือนทำต่อพระเยซู
“เมื่อท่านนั่งอยู่ในบ้าน”
7. แนะนำข้อพระธรรมที่เหมาะสมกับการชมสิ่งบันเทิง ละคร ภาพยนตร์ และรายการหลายรูปแบบอาจไม่เหมาะสมกับวัยของเด็ก การยกเอาพระธรรมมาชี้ให้เห็นจะช่วยเด็กได้คิดและไตร่ตรอง ถามลูกว่า “ตัวละครนี้แสดงสิ่งดีงามหรือไม่เหมาะสมออกมา” (เช่น ละคร “บุพเพสันนิวาส” เชื่อการเวียนว่ายตายเกิด คนตายยุคนี้ ไปเกิดในยุคอดีตได้อย่างไร?) แนะนำพระธรรม รม. 12:9-21, 1 คร. 13:4-8ก, กท. 5:16-26, ฟป. 4:8 และ คส. 3:5-17
8. อธิษฐานก่อนรับประทานอาหาร สิ่งที่คริสตชนปฏิบัติก่อนรับประทานอาหารเป็นปกติอยู่แล้ว อาจเสริมด้วยข้อพระธรรม นำมาเป็นหัวข้ออธิษฐาน เช่น สดด. 104, 136, 145 และอาจอธิษฐานเผื่อผู้อื่นตามที่เห็นว่าเหมาะสม
9. กำหนดเวลาท่องข้อพระธรรม ใช้เวลาสั้นๆ ทุกวันท่องข้อพระธรรมที่ลูกชอบ หรือที่เข้ากับสถานการณ์ในชีวิตประจำวัน หรือท่องจากข้อความในหลักข้อเชื่อ เป็นต้น เมื่อทำเสมอจะทำให้เด็กจดจำและนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
10. สอดแทรกคำสอนในพระคัมภีร์กับวิชาเรียน บุตรหลานคริสตชนที่เรียนในสถานศึกษาที่ไม่ใช่ของคริสตชนไม่มีโอกาสเรียนรู้พระธรรม ตัวอย่างเช่น โรงเรียนสอนทฤษฎีวิวัฒนาการ ครูอาจารย์และคนส่วนใหญ่เชื่อเรื่องนี้ นักเรียนคริสตชนจะแสดงออกความเชื่อของเขาอย่างไร การ บูรณาการพระธรรมเข้ากับทุกวิชา จึงเป็นหน้าที่ของบิดามารดา ผู้ปกครอง โยงเรื่องราวในประวัติศาสตร์โลกเข้ากับเหตุการณ์ในพระคัมภีร์ได้ (เช่น พระธรรมดาเนียลบทที่ 2) ประวัติบุคคลสำคัญในพระคัมภีร์ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก เป็นต้น
.
หลักคำสอนพื้นฐานที่บุตรหลานคริสตชนควรเรียนรู้ เพื่อให้เขามีเกราะป้องกันตนเองจากอิทธิพลทางโลก ที่ถาโถมทำลายเยาวชนทุกวันนี้อย่างหนักหน่วง คำสอนเหล่านี้จะช่วยให้เขาไม่หลงไปตามกระแสของความบาปในสังคม
- พระเจ้าทรงสร้างมนุษย์ตามพระฉายาของพระองค์ มนุษย์คือสิ่งมีชีวิตเดียวที่มีพระฉายา เราเป็นผลแห่งพระหัตถ์ของพระองค์ ไม่ได้มาจากวิวัฒนาการ ผู้เชื่อพระเจ้าจึงมีหน้าที่สะท้อนพระลักษณะและพระฉายาในชีวิตของตน
- เมื่อมนุษย์ไม่เชื่อฟังพระผู้สร้างจึงสูญเสียพระฉายา พระเจ้าทรงประสงค์ให้มนุษย์มีความสัมพันธ์กับพระองค์ ความผูกพันนี้เกิดจากความรักและยินดี ไม่ใช่การบังคับ การเชื่อคำของซาตานทำให้มนุษย์ล้มลงในบาป และสรรพสิ่งที่ทรงสร้างได้รับผลการทำลายของบาป ผลของบาปถ่ายทอดไปสู่มนุษย์ทุกคน ความคิดอ่านและการกระทำของมนุษย์จึงล้วนได้รับผลของบาป
- พระเจ้าทรงจัดเตรียมทุกสิ่งเพื่อนำมนุษย์กลับสู่สภาพดีดังเดิม คืนพระฉายาของพระองค์โดยทางพระเยซูคริสต์ การกลับสู่สภาพดีดังเดิมคือการได้รับชีวิตใหม่จากพระเจ้าโดยการรับเอาการไถ่บาปของพระเยซู “ฉะนั้นถ้าใครอยู่ในพระคริสต์ เขาก็เป็นคนที่ถูกสร้างใหม่แล้ว สิ่งสารพัดที่เก่าๆ ก็ล่วงไป นี่แน่ะกลายเป็นสิ่งใหม่ทั้งนั้น” (2 คร. 5:17) พระเยซูคริสต์ ทรงเป็นพระบุตรของพระเจ้า ประสูติจากหญิงพรหมจารี พระองค์ทรงเป็นพระผู้สร้าง และผู้ค้ำจุนทุกสิ่ง เรื่องราวของพระองค์เป็นคำตอบแก่มนุษย์ทุกคนที่ถามว่า ฉันมาจากไหน? ฉันเข้ามาอยู่ในโลกนี้ได้อย่างไร? ฉันกำลังจะไปไหน? พระคัมภีร์มีคำตอบ “เพราะสิ่งสารพัดมาจากพระองค์ (ฉันมาจากไหน?) โดยพระองค์ (ฉันเข้ามาอยู่ในโลกนี้ได้อย่างไร?) และเพื่อพระองค์ (ฉันกำลังจะไปไหน?) ขอพระเกียรติจงมีแด่พระองค์ตลอดไปเป็นนิตย์ อาเมน” (รม. 11:36) พระเยซูคริสต์ คือพระเจ้าผู้มาเกิดเป็นมนุษย์ (1 ทธ. 3:16) ทรงเป็นพระเจ้า-มนุษย์ ทรงเป็นพระเจ้าและมนุษย์ผู้สมบูรณ์แบบ มนุษย์จึงเห็นพระเจ้าจากชีวิตของพระเยซู (ยน. 1:18) ความเป็นมนุษย์ของพระเยซูเผยให้เห็นพระเจ้าในทุกมิติ
- พระเยซูทรงเป็นพระบุตรองค์เดียวผู้เข้ามาในโลกเพื่อไถ่มนุษย์ โดยการตายแทนเราบนไม้กางเขน การเป็นขึ้นมาจากความตายของพระองค์พิสูจน์ให้เห็นว่าทรงเป็นพระบุตรของพระเจ้า (รม. 1:4) ทรงมีฤทธิ์อำนาจในการช่วยทุกคนให้รอด เมื่อคนเหล่านั้นเข้าเฝ้าพระเจ้าโดยทางพระเยซู (ฮบ. 7:25) พระองค์เสด็จคืนสู่สวรรค์ ทำหน้าที่เป็นคนกลาง มหาปุโรหิตของเรา (ฮบ. 7:24, 25, 9:15) ทรงมอบภารกิจในการเตรียมธรรมิกชนให้บรรลุถึงความบริบูรณ์ของพระองค์ (อฟ. 4:7-13) และเตรียมตัวพร้อมสำหรับการเสด็จกลับมาของพระองค์ (วว. 22:20)
.
การศึกษาที่แท้จริงเป็นสิ่งที่มากกว่าการแสวงหาวิชาความรู้อย่างใดอย่างหนึ่ง การศึกษาแท้หมายถึงการเตรียมตัวเพื่อชีวิตนี้ เป็นการประสานพลังพัฒนาการด้านร่างกาย สมองและจิตวิญญาณ เป็นการเตรียมผู้เรียนให้พร้อมเพื่อการรับใช้ในโลกนี้ด้วยความชื่นชมยินดี และเพื่อการรับใช้ที่สูงส่งยิ่งขึ้นในโลกใหม่ที่กำลังจะมาถึง
.
หน้าที่ของผู้ปกครอง บิดามารดาคริสตชนทุกคน ในการสั่งสอนบุตรหลาน ให้สังวรณ์เสมอว่า เขาเป็น “พลเมืองสวรรค์” (ฟป. 3:20) ดำเนินชีวิตที่บริสุทธิ์ชอบธรรม พร้อมต้อนรับพระองค์ผู้จะเสด็จมา ให้ทุกคน “พากเพียรทำความดี แสวงหาศักดิ์ศรี เกียรติ และความเป็นอมตะนั้น พระองค์จะประทานชีวิตนิรันดร์ให้” (รม. 2:7) เมื่อบรรลุถึงเป้าหมายนี้ก็นับว่า การศึกษาของคริสตชนเป็นไปตามวัตถุประสงค์อย่างสมบูรณ์แล้ว
- ศาสนาจารย์ ดร.สุรเชษฐ์ อินสม
- ภาพ Wavebreakmedia – Freepik.com