สมาคมฯ มีหลักการและขั้นตอนในการแปลพระคัมภีร์อย่างไร?

สมาคมฯ มีหลักการและขั้นตอนในการแปลพระคัมภีร์อย่างไร?

มีคริสตชนหลายท่านได้ สนใจไต่ถามว่าสมาคมพระคริสตธรรมไทยมีหลักการและขั้นตอนในการแปลพระคัมภีร์ อย่างไร สมาคมฯ จึงขอใช้อธิบายหลักการที่สำคัญๆ ของการแปลพระคัมภีร์ไทยฉบับมาตรฐานของสมาคมพระคริสตธรรมไทย สรุปได้ดังนี้…

1. แปลจากสำเนาต้นฉบับภาษาฮีบรูและกรีกโดยผู้ เชี่ยวชาญ
พระคริสตธรรมคัมภีร์ภาษาไทยของสมาคมพระคริสตธรรมไทยเป็นฉบับมาตรฐานที่เป็น ที่ยอมรับของคริสตจักรไทยและคริสตชนไทยมาช้านาน (ตั้งแต่ฉบับ ค.ศ. 1940) แต่ก็ยังมีความเข้าใจผิดกันว่าพระคัมภีร์ไทยของสมาคมฯ แปลมาจากฉบับภาษาอังกฤษ ในความเป็นจริงแล้วหาเป็นเช่นนั้นไม่ เมื่อพระคัมภีร์ได้รับการแปลเป็นภาษาไทยนั้น คณะผู้แปลซึ่งประกอบด้วยมิชชันนารีชาวต่างชาติและผู้ทรงคุณวุฒิคนไทยได้ยึด สำเนาพระคัมภีร์ภาษาฮีบรูในการแปลพันธสัญญาเดิม และสำเนาภาษากรีกในการแปลพันธสัญญาใหม่เป็นหลัก โดยสมาคมพระคริสตธรรมไทยได้เชิญผู้แปลที่มีความรู้ภาษาฮีบรูและกรีกเป็น อย่างดี เป็นนักวิชาการพระคัมภีร์ที่มีชื่อเสียง และหากเป็นชาวต่างชาติก็ต้องมีความรู้ภาษาไทยเป็นอย่างดี ยกตัวอย่างเช่น กรรมการยกร่างคำแปลฯ ของฉบับ 1971 ประกอบด้วย ศาสนาจารย์ศรัณย์ ชัยรัตน์ อดีตคณบดีคณะศาสนศาสตร์แมคกิลวารี มหาวิทยาลัยพายัพ พร้อมทั้งผู้ร่วมงานของท่านคือ ดร.เฮอร์เบิร์ต เกรเธอร์ และ ศาสนาจารย์ฟรานซิส ซีลี ทั้งหมดเป็นนักภาษาฮีบรูและกรีกที่มีชื่อเสียงในประเทศไทย
จวบจนกระทั่งปัจจุบัน สมาคมพระคริสตธรรมไทยกำลังทำการแก้ไขคำแปลพระคัมภีร์ฉบับ 1971 ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่าคณะผู้แปลในปัจจุบันก็เป็นนัก ภาษาฮีบรูและกรีกที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางเช่นเดียวกัน หลายท่านเป็นอาจารย์สถาบันพระคริสตธรรม บางท่านมีผลงานการแปลตำรา เขียนตำราที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในวงการวิชาการคริสเตียน ซึ่งสามารถเปิดเผยนามของท่านเหล่านี้ได้ สมาคมฯ ภาคภูมิใจที่องค์พระผู้เป็นเจ้าได้ประทานภาระใจให้นักวิชาการเหล่านี้มาร่วม กันทำให้พระวจนะของพระองค์ได้รับการแปลอย่างถูกต้องและเป็นที่เข้าใจของผู้ อ่านมากยิ่งขึ้น
คณะผู้แปลพระคัมภีร์ของสมาคมฯ ในปัจจุบัน

  • ศาสนาจารย์ ดร.เสรี หล่อกัณภัย M.Div. (Gordon-Conwell Theological Seminary, South Hamilton, Massachusettes, USA), Ph.D. (University of Edinburgh, Scotland) เลขาธิการสมาคมพระ คริสตธรรมไทย และอาจารย์พิเศษสถาบันกรุงเทพคริสตศาสนศาสตร์ (BIT)
  • ดร. วรรณภา เรืองเจริญสุข Th.M. (Trinity Evangelical Divinity School, Deerfield, Illinois,USA), D.Min. (Columbia International University, Columbia, South Carolina, USA)หัว หน้าฝ่ายวิชาการ พระคริสตธรรมเชียงใหม่ (CTS) และอาจารย์พิเศษ วิทยาลัยพระคริสตธรรมแมคกิลวารี มหาวิทยาลัยพายัพ
  • ศาสนาจารย์โรเบิร์ต คอลลินส์ M.Div., Th.M. (Pittsburgh Theological Seminary, Pennsylvania, USA)อาจารย์ พิเศษหมวดพันธสัญญาใหม่ วิทยาลัยพระคริสตธรรมแมคกิลวารี มหาวิทยาลัยพายัพ
  • อาจารย์ทองหล่อ วงศ์กำชัย วศ.บ. (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย), Dip.Th. (Discipleship Training Center, Singapore) อดีตหัวหน้าฝ่ายแปล สมาคมพระคริสตธรรมไทย และอาจารย์พิเศษโรงเรียนคริสต์ศาสนศาสตร์แบ๊บติสต์
    อาจารย์ปัญญา โชชัยชาญ ศศ.บ ภาษาอังกฤษ (มหาวิทยาลัยรามคำแหง), M.Div. (สถาบันบัณฑิตคริสต ศาสนศาสตร์เมืองไทย) ฝ่ายแปล สมาคมพระคริสตธรรมไทย และอาจารย์พิเศษโรงเรียนคริสต์ศาสนศาสตร์แบ๊บติสต์
    อาจารย์พัชรินทร์ ชัชมนมาศ M.Div., D.Min. candidate (Bethel Theological Seminary, St. Paul, Minnesota, USA)ผู้ บริหารองค์การแคมปัสครูเสดฟอร์ไครสต์ (CCC)

2. แปลจากสำเนาพระคัมภีร์ภาษาฮีบรูและกรีกที่ ได้มาตรฐาน
สำเนาพระคัมภีร์ภาษาเดิมที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นมาตรฐานในการแปลพระ คัมภีร์ คือ UBS Greek New Testament, 4th Edition สำหรับภาษากรีก และ Biblia Hebraica Stuttgartensia (BHS) สำหรับภาษาฮีบรู ทั้งสองเล่มเป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมพระคริสตธรรมเยอรมันซึ่งเป็นสมาชิกของสห สมาคมพระคริสตธรรมสากล (United Bible Societies หรือ UBS) เช่นเดียวกับสมาคมพระคริสตธรรมไทย พระคัมภีร์ไทยจึงใช้พระคัมภีร์ภาษาฮีบรูและกรีกทั้งสองฉบับดังกล่าว เป็นต้นฉบับในการแปล ดังนั้น พระคัมภีร์ไทยของสมาคมฯ จึงมาจากพระคัมภีร์ในภาษาเดิมอันเป็นที่ยอมรับในระดับสากล

3. มีระบบขั้นตอนการแปลที่มีมาตรฐานสูง
นอกเหนือจากการแปลจากภาษาฮีบรูและกรีกโดยผู้เชี่ยวชาญ และการใช้สำเนาพระคัมภีร์ภาษากรีกและฮีบรูที่ได้มาตรฐานแล้ว สมาคมพระคริสตธรรมไทยทำงานภายใต้มาตรฐานการแปลพระคัมภีร์ของสหสมาคมพระคริสต ธรรมสากล (UBS) ซึ่งเป็นองค์กรการแปลพระคัมภีร์ขนาดใหญ่ที่สุด ในโลก มีสมาชิกมากกว่า 140 ประเทศทั่วโลก และสมาคมพระคริสตธรรมไทยเป็นหนึ่งในสมาชิกนั้น ด้วยการแปลภายใต้มาตรฐานของสหสมาคมฯ ยังผลให้ พระคริสตธรรมคัมภีร์ของสมาคมพระคริสตธรรมไทยเป็นหนังสือภาษาไทยที่ ได้รับการตรวจสอบอย่างละเอียดถี่ถ้วนมากที่สุดก็ว่าได้ กล่าวคือ มีระบบและขั้นตอนการทำงานดังนี้

เมื่อผู้แก้ไขคำแปล (Revisers) แต่ละท่านได้แก้ไข คำแปลพระธรรมที่ตนรับผิดชอบเสร็จ ก็จะให้ผู้แปลอีกท่านหนึ่งซึ่งเป็นผู้แก้ไขคำแปลพระธรรมเล่มอื่น ทำหน้าที่ตรวจไขว้ (Cross-Check) แล้วส่งข้อเสนอแนะให้ผู้รับ ผิดชอบแก้ไขพระธรรมเล่มนั้นๆ พิจารณา จากนั้นจึงจัดส่งให้กรรมการตรวจสอบ ทำการตรวจอีกครั้งหนึ่งทั้งในด้านอรรถาธิบาย ภาษาที่สื่อชัดเจน และการอ่านรู้เรื่อง เมื่อกรรมการตรวจสอบได้ตรวจสอบเสร็จก็จะส่งกลับมายังผู้รับผิดชอบการแก้ไขคำ แปลเพื่อพิจารณา ต่อมาจึงได้ส่งให้หรือพิจารณาร่วมกับที่ปรึกษาการแปล (Translation Consultant) ของสหสมาคมพระคริสตธรรมสากล (UBS) ซึ่ง มีความรู้ทั้งด้านศาสนศาสตร์และภาษาศาสตร์ และต้องมีวุฒิปริญญาเอกสาขาใดสาขาหนึ่งในสองสาขานี้ เมื่อสิ้นสุดขั้นตอนนี้จึงส่งให้นักลีลาภาษา (Stylist) ขัด เกลาภาษาไทยแล้วส่งกลับมาให้ผู้แก้ไขคำแปลพิจารณาเป็นขั้นตอนสุดท้าย ทั้งนี้คณะผู้แปลมีที่ปรึกษา (Advisors) เป็นผู้นำคริสตจักร ไทยจำนวน 25 ท่านมีหน้าที่ให้คำเสนอแนะในด้านการแปลที่อาจมีผล กระทบในวงกว้าง เช่น ในเรื่องพระนามเฉพาะของพระเจ้า ดังนั้น สมาคมฯ จึงเชื่อแน่ว่าคำแปลทุกคำได้รับการกลั่นกรองอย่างดี ถูกต้อง และเหมาะสม สมฐานะเป็นคำแปลของพระคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ (The Holy Scripture)

บางคนอาจมีคำถามว่า เมื่อพระคัมภีร์ฉบับภาษาฮีบรูหรือกรีกใช้คำเดียวกัน เพราะเหตุใดสมาคมฯ จึงแปลคำเหล่านั้นไม่เหมือนกันในบางแห่ง สมาคมฯ ขออธิบายดังนี้คือ หลักการแปลประการหนึ่งของสมาคมฯ ก็คือการแปลจะต้องมีความสม่ำเสมอ (Consistency) กล่าวคือคำเดียวกันในภาษาเดิม ก็ควรจะแปลเป็นภาษาไทยด้วยคำเดียวกันตราบเท่าที่บริบท (Context) เอื้อ อำนวย เพราะฉะนั้นการแปลจึงขึ้นอยู่กับบริบทด้วย ดังจะเห็นได้ว่าคำเดียวกันในภาษากรีก เช่น “พะนือมา” พระ คัมภีร์ไทยฉบับ 1971 แปลเป็นหลายคำในบริบทที่ต่างกัน เช่น ลมหายใจ พวกวิญญาณที่ดี พวกวิญญาณชั่ว พระวิญญาณบริสุทธิ์ ลม น้ำใจ ใจ เป็นต้น ซึ่งไม่เป็นการผิดหลักการแปลแต่อย่างใด เพราะตามหลักอรรถศาสตร์หรือศาสตร์ของความหมาย (Semantics) แล้ว คำหนึ่งๆ ในภาษาฮีบรูหรือกรีกมีความหมายครอบคลุมหลายคำแปลด้วยกัน ผู้แปลต้องวิเคราะห์ว่าแท้จริงแล้วคำคำหนึ่งในบริบทนั้นๆ จะมีความหมายว่าอย่างไร

สมาคมฯ ขอถือโอกาสนี้รายงานความคืบหน้าของการแก้ไขคำแปล (การยกร่าง) พระคัมภีร์ไทยดังนี้คือ พระธรรมสุภาษิตได้ผ่านขบวนการแปลทุกขั้นตอนแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการเรียงพิมพ์และพร้อมจะจำหน่ายจ่ายแจกในปี 2007 นี้ ส่วนพระธรรมสดุดีอยู่ในขั้นตอนการตรวจสอบของที่ปรึกษาการแปล

ท้ายที่สุดนี้ ขอให้คริสตชนไทยมั่นใจได้ว่าพระคริสตธรรมคัมภีร์ไทยฉบับมาตรฐานของสมาคมพระ คริสตธรรมไทย เป็นพระวจนะของพระเจ้าที่ได้รับการทรงนำในการแปลจากพระคัมภีร์ในภาษาเดิม อย่างถูกต้อง มีคำแปลที่เหมาะสมสำหรับ การอ่านและใคร่ครวญเพื่อความเจริญเติบโตฝ่ายจิตวิญญาณ ขอให้ทุกสิ่งที่สมาคมพระคริสตธรรมไทยได้กระทำในพระนามของพระองค์เป็นการถวาย พระเกียรติและพระสิริแด่พระเจ้าในที่สูงสุด

  • อ.ประณต บุษกรเรืองรัตน์
  • ภาพ Racool_Studio – Freepik.com