สระน้ำที่อยู่ใกล้ประตูแกะชื่ออะไรกันแน่? 2/14

สระน้ำที่อยู่ใกล้ประตูแกะชื่ออะไรกันแน่?

คำถาม สระน้ำที่อยู่ใกล้ประตูแกะชื่ออะไรกันแน่?
คำตอบ พระธรรมที่ เกี่ยวข้องกับเรื่องราวนี้อยู่ในพระธรรมยอหน์ บทที่ 5 ข้อ 1 ถึงข้อ 18 ผู้ เขียนได้เขียนให้เราทราบว่าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นที่ไหน โดยระบุว่าเกิดที่ กรุงเยรูซาเล็มใก้ลกับประตูแกะแต่ปัจจุบัน ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นประตูสิงโตหรือ Lions’ Gate ประตูเมืองใหม่นี้ถูกสร้างขึ้นโดย Ottoman Sultan ที่มีชื่อว่า Sultan Sulieman the Magnificent สุลต่านองค์นี้ได้ใช้เวลาสร้างกำแพงของกรุงเยรูซาเล็มทั้งหมด 6 ปี (ค.ศ.1538-1544) ประตูเมืองนี้อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงเยรูซาเล็ม 

ปัจจุบัน ประตูนี้ ก็ยังมีอยู่ และเมื่อ เข้าประตูนี้ไป แล้ว ทางขวามือของเราจะพบโบสถ์ที่ชื่อว่า St. Anna ซึ่ง เป็นโบสถ์ของนิกายโรมันคาทอลิกซึ่งถูกสร้างใน  สมัยครูเสด เพื่อระลึกถึงว่าสถานที่เกิดของพระแม่มารีย์ ซึ่งมีชื่อว่าแอนนาผู้ที่ก่อสร้างจึงตั้งชื่อโบสถ์ตามชื่อของท่าน 

เมื่อเดินลึกเข้าไปหน่อยก็จะพบกับซากของสระน้ำที่พังเสียหายและอยู่ลึกมากทำ ให้เราแน่ใจว่าเป็นสระที่กล่าวถึง ในพระธรรมยอหน์ บทที่ 5 ข้อ 2  พระคริสตธรรมคัมภีร์ไทยฉบับมาตรฐานได้ให้ชื่อสระนี้ว่า“เบธซาธา” แต่ในขณะเดียวกันก็ได้ให้เชิงอรรถไว้ว่า“สำเนาโบราณบางฉบับว่า เบธเธซดา บางฉบับว่า เบธไซดา” สาเหตุ ที่มีการเขียนและสะกดชื่อไม่เหมือน กัน เพราะชื่อเดิมเป็นชื่อภาษาฮีบรูที่ออกเสีงยากทำให้คนฟัง ที่ไม่ใช่เป็นคนยิวฟังแล้ว เพี้ยนไป ยิ่ง เมื่อถูกบันทึกเป็นภาษากรีกก็ยิ่งมีความแตกต่างกันไปอีก ชื่อเดิมที่เป็นภาษาฮีบรูคือ  เบธเฆเซด แปลว่า บ้านแห่งความเมตตา หมาย ถึง พระเจ้ามีพระเมตตาหรือพระเจ้ามีความรักบ่อน้ำแห่งนี้อยู่นอกเขตพระวิหารแต่ ก็อยู่ใกล้พระวิหารมากที่สุดคนที่เจ็บป่วยไม่มีสิทธิ์เข้าไปในพระวิหารได้ เพราะถือว่าเป็นมลทนิพวกเขาจึงมาที่สระน้ำนี้เพื่อขอพระเมตตาจากพระเจ้าให้ รักษาและเมื่อหายแล้วจะได้เข้าไปนมัสการพระเจ้าในพระวิหารได้เลย

นอกจากนี้ หากเรามาพิจารณาข้อความที่บันทึกอยู่ในตอนนี้ อีกอย่างหนึ่งคือหลังข้อที่ 3 มีเชิงอรรถว่า “สำ?เนาโบราณบางฉบับ เพิ่ม ข้อความ คอย น้ำกระ เพื่อม และ มี ข้อ 4 เพิ่มเข้ามาอีก ‘เพราะมีทูตสวรรค์องค์ หนึ่งของพระเจ้าลงมากวนน้ำในสระเป็นครั้งคราวและเมื่อน้ำกระเพื่อมอยู่ใครก้าวลงไปในน้ำ? ก่อนก็จะหาย จากโรคที่เขาเป็นอยู่นั้น’ ” ซึ่งคำว่าน้ำกระเพื่อมนี้ปรากฏอีกครั้งใน ข้อ 7 ซึ่ง เป็นคำพูดของชายคนที่ป่วย “ท่านเจ้าข้าเมื่อน้ำกำ?ลังกระเพื่อมนั้น ไม่มีใครเอาตัวข้าพเจ้าลงไปในสระแล้วพอจะลงไปเองคนอื่นก็ลงไปก่อนแล้ว”ส่วนที่เพิ่มเข้ามานั้นเป็นความพยายามที่จะอธิบายว่าน้ำในสระนี้กระเพื่อม ได้อย่างไรแต่การที่พระคัมภีร์ฉบับมาตรฐานไม่ได้จัดไว้ในเนื้อหาหลักเพราะ สำเนาโบราณฉบับที่เก่าแก่ไม่มีข้อความนี้สำเนาโบราณที่ใหม่กว่า จึงมีข้อความนี้

เมื่อเราพิจารณาสภาพภูมิศาสตร์และภูมิอากาศของกรุงเยรูซาเล็มแล้ว เราก็พอจะเข้าใจว่าน้ำในสระนี้จะกระเพื่อมหรือเคลื่อนไหวได้อย่างไรเนื่อง จากทางด้านเหนือของกรุงเยรูซาเล็มจะสูงกว่าทางตอนใต้และในประเทศอสิราเอลนั้นปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาในแต่ละปีนั้นมีไม่มากน้ำตามธรรมชาตินั้น จะไหลมาตามร่องเขา และไหลต่อไปยังหุบเขากรุงเยลูซาเล็มนอกจากตั้งอยู่บนเขาแล้วยังถูกล้อมรอบด้วยภูเขาอีกด้วย เมื่อน้ำที่ไหลมาจากภูเขาทางทิศเหนือก็จะผ่านสระน้ำนี้ก่อนแล้วจึงค่อยไหลไปยังหุบเขาฃิดโรนซึ่งอยู่ทางด้านตะวันออกของกรุงเยลูซาเล็ม   การ ไหลของน้ำธรรมชาตินี้ไม่ได้ไหลอยู่ตลอดเวลาเมื่อน้ำไหลหมดไปแล้วก็ต้องคอย น้ำชุดใหม่มาซึ่งไม่รู้ว่าจะมาเมื่อไหร่  ถ้าปริมาณน้ำที่ไหลมามีน้อยมันก็จะหมดไปอย่างรวดเร็วแต่ถ้ามีปริมาณมาก มันก็จะพอมีเหลืออยู่บ้างอีกประการหนึ่งสำหรับพิธีการชำระมลทินน้ำที่ใช้ชำระนั้นจะต้องเป็น  “น้ำเป็น” คือน้ำฝนหรือน้ำที่ไหลมาตามธรรมชาติน้ำที่ขังอยู่ถือว่าเป็น “น้ำตาย”

เราไม่สามารถรู้แน่ชัดว่าชายที่ป่วยมา 38 ปีนี้อยู่ที่สระนำตลอดเวลาหรือไม่ หรือในแต่ละวันมีคนพามาและพากลับแต่ที่แน่ ๆ คือไม่มีใครดูแลเขาอย่างใกล้ชิดพอที่จะพาเขาลงไปในสระเมื่อพระเยซูพบกับเขา พระองค์ทรงถามเขาว่าอยากหายโรคไหมแทนที่เขาจะตอบว่าอยากหรือไม่อยากเขา กลับตอบว่าไมมี่ใครพาเขาลงไปในสระตอนน้ำกระเพื่อมความคิดเรื่องการหายโรคของ เขานี้ถูกจำกัดอยู่ที่วิธีการที่จะต้องลงไปในสระน้ำให้ทันเวลาเขาไม่คิดจะหา วิธีการรักษาอื่นเลยถึงแม้เขาจะไม่ได้ตอบคำถามพระเยซูอย่างตรงไปตรงมา แต่พระเยซูก็รักษาเขาให้หายด้วยการบอกให้เขาลุกขึ้นยกแคร่เดินไป ความจริงพระเยซูไม่จำเป็นต้องบอกให้เขายกแคร่ก็ได้พระองค์เพียงบอกให้เขาลุก ขึ้นเดินก็พอ การที่เขาหายก็เพราะเขาเชื่อทุกอย่างที่พระเยซูบอกให้เขาทำวันที่พระเยซูทรง รักษาเขานั้นเป็นวันสะบาโตซึ่งสำหรับคนยิวแล้ว การยกแคร่เดินเป็นการละเมิดวันสะบาโตที่ไม่ให้คนทำงานอะไร การเดินนั้นไม่ได้เป็นการทำงานแต่การยกแคร่เป็นการทำงาน คนยิวนั้นเป็นพวกที่จริงจังกับเรื่องการรักษาวันสะบาโตมากแม้แต่ในสมัยปัจจุบันหากเราเดิน ทาง ไปพักที่โรงแรมในอสิราเอลและตรงกับวันสะบาโตเราจะต้องสังเกตให้ดีว่าลิฟท์ ที่เราจะใช้นั้นเป็นลิฟท์สำหรับวันสะบาโตหรือไม่ถ้าเราไม่ระมัดระวังเราจะเข้าใจผดิว่าลิฟท์เสียเพราะลิฟท์สำหรับวันสะบาโตนั้นจะหยุดทุกชั้นเนื่องจากคนยิวถือว่าการกดปุ่มลิฟท์นั้นเป็นการทำงานฉะนั้นเมื่อเข้าไปในลิฟท์แล้วพวกเขาจะยืนเฉย ๆ พอถึงชั้นของตัวเองก็เดินออกคนที่ใช้ลิฟท์นี้จะต้องคอยให้ลิฟท์จอดทุกชั้น พระเยซูทรงทราบว่าพวกยิวให้ความสำคัญ  กับการรักษาวันสะบาโตมากพระองค์จึงให้ชายคนนั้นยกแคร่เดินไปเพื่อแสดง ให้พวกเขาเห็นว่าสิ่งที่สำคัญกว่าการรักษาวันสะบาโต นั่นก็คือชีวิตของคนมีค่ามากและพระเจ้าก็ทรงเป็นผู้รักษาคนเจ็บป่วยให้หาย สิ่งที่น่าสนใจคือ พระเยซูทรงตรัสว่า “พระบิดาของเรายังทรงทำงานอยู่เรื่อยๆและเราก็ทำด้วย” (ยอห์น 5:17)

แม้ว่าสระน้ำแห่งนี้จะกลายเป็นโบราณสถานไปแล้วและไม่มีใครไปรอรับการรักษาที่ นั่นอีกแล้ว แต่พระเยซูคริสต์ยังคงมีอำนาจรักษาคนเจ็บป่วยให้หายโรคอยู่ ถึงแม้วิธีการรักษาโรคในปัจจุบันจะเจริญก้าวหน้าไปมาก แต่ก็ยัง มีโรคอีกหลายชนิด ที่ยังไม่สามารถรักษาได้ แต่พระเยซูคริสต์ทรงสามารถรักษาโรคที่มนุษย์ไม่สามารถรักษาได้

  • ศาสนาจารย์ ดร.เสรี หล่อกัณภัย
  • ภาพ www.tripadvisor.com, www.everydaywithgod.com