อิมมานูเอลใน อิสยาห์ 6-9 หมายถึงผู้ใด? หมายถึงบุคคลหนึ่งในสมัยอิสยาห์เอง หรือ หมายถึง พระเยซูคริสต์?
ถาม : คำ กล่าวในพระธรรมอิสยาห์บทที่ 7-9 นั้น กล่าวเล็งถึงบุคคลในสมัยอิสยาห์เองหรือกล่าวเล็งถึงองค์พระเยซูคริสต์?
ตอบ : อสย.7:14 “เพราะฉะนั้น องค์พระผู้เป็นเจ้าจะประทานหมายสำคัญเอง ดูเถิด หญิง สาวคนหนึ่งจะตั้งครรภ์ และคลอดบุตรชายคนหนึ่ง และเขาจะเรียกนามของท่านว่า อิมมานูเอล”
สำหรับกลุ่มคำ “หญิงสาวคนหนึ่ง” นั้น มีเชิงอรรถว่าในพระคัมภีร์เดิมฉบับแปลกรีกใช้คำแปลที่แปลว่า “สาว พรหมจารี” ได้ ก็เกิดคำถามขึ้นว่าเพราะเหตุใด ฝ่ายแปลของสมาคมพระคริสตธรรมไทยจึงไม่เลือกที่จะแปลคำนี้ว่า “สาว พรหมจารี” (ซึ่งเล็งโดยตรงถึงนางมารีย์) แต่เลือกที่จะแปลเป็น “หญิงสาวคนหนึ่ง” (ซึ่งหมายความว่าอาจเป็นหญิงใดก็ได้ ในสมัยนั้นหรืออาจเป็นหญิงที่เคยมีเพศสัมพันธ์มาแล้วก็ได้)
คำตอบต่อประเด็นคำถามนี้ก็คือ หากเราดูบริบทในบทเดียวกันข้อ 16 “เพราะก่อนที่เด็กนั้นจะรู้ที่จะปฏิเสธความชั่ว และ เลือกความดีนั้นแผ่นดินซึ่งพระราชาสององค์ เป็นที่เกลียดกลัวของฝ่าพระบาทนั้นจะร้างเปล่าไป” หมาย ความว่าก่อนที่อิมมานูเอลจะรู้ความนั้นแผ่นดินทั้งสองก็คือซีเรียกับ อิสราเอลเหนือจะถูกอัสซีเรียทำลายไป ซึ่งเหตุการณ์นี้อยู่ในสมัยอิสยาห์ อิมมานูเอลจึงอาจเป็นผู้ร่วมสมัยของอิสยาห์ แต่การแปลเช่นนี้ก็มิได้ขัดกับความเชื่อของคริสตชนที่ว่าท่านอิสยาห์พยากรณ์ เล็งถึงองค์พระเยซูคริสต์แต่อย่างใด เพราะในทางศาสนศาสตร์ คำกล่าวหรือการพยากรณ์อาจกล่าวเล็งถึงเหตุการณ์หรือบุคคลในยุคของผู้เผยพระ วจนะนั้นๆ เองหรือพยากรณ์ถึงเหตุการณ์หรือบุคคลในอนาคตก็ได้ หรืออาจจะหมายถึงทั้งสองอย่าง จึงอาจสรุปได้ว่าในพระธรรมตอนนี้ “อิมมา นูเอล” อาจหมายถึงบุคคลที่ใช้ชื่อนี้ในยุคสมัยอิสยาห์ ส่วน “อิมมานูเอล” ในพระคัมภีร์ใหม่ที่สัมพันธ์กับพระธรรม อิสยาห์นั้นเล็งถึง “พระคริสต์” อย่างแน่นอน
เมื่อทราบเกี่ยวกับอิมมานูเอลแล้ว จะขอกล่าวถึงเกี่ยวกับการแปลสักเล็กน้อยว่า “การ แปลต้องพิจารณาบริบท (context) เสมอ” คำ ว่า “อิมมานูเอล” ปรากฏอีกครั้งหนึ่งใน 8:8 “และจะกวาดต่อไปเข้าในยูดาห์ และจะไหลท่วม และผ่านไปแม้จนถึงคอ และปีกอันแผ่กว้างของมันจะเต็มแผ่นดิน ของท่านนะ ท่านอิมมานูเอล…” ซึ่งเป็น การกล่าวเรียกบุคคลที่มีตัวตนในสมัยนั้น คำนี้ในภาษาฮีบรูปรากฏอีกครั้งหนึ่งใน 8:10 แต่ในพระคัมภีร์ ไทยฉบับ 1971 ได้แปลความหมายของคำนี้ออกมา “จง ปรึกษากันเถิด แต่ก็จะไร้ผล จงพูดกันเถิด แต่ก็จะไม่สำเร็จผล เพราะว่าพระ เจ้าทรงสถิตกับเรา” จากข้อพระธรรมทั้งสามข้อนี้ คำหรือกลุ่มคำที่ขีดเส้นใต้คือคำว่า “อิมมานูเอล” (7:14; 8:8) และ “พระเจ้าทรงสถิตกับเรา” (8:10) นั้นเป็นคำเดียวกันในภาษาฮีบรู หรืออาจกล่าวได้อีกว่า “อิมมานูเอล” ที่แปลว่า “พระเจ้าทรงสถิต กับเรา” นั้นจะใช้เป็นชื่อเฉพาะหรือใช้เป็นการบรรยายความหมาย ก็ได้ ใน 7:14 และ 8:8 กรรมการที่รับผิดชอบการยก ร่างคำแปล (ตั้งแต่ฉบับ 1971) เลือกที่จะใช้เป็นชื่อเฉพาะ ส่วนใน 8:10 เลือกที่จะใช้เป็นการบรรยายความหมายโดยพิจารณา จากบริบทโดยรอบ (หากใส่ชื่อเฉพาะ “อิมมานูเอล” แทนที่ “พระเจ้าทรงสถิตกับเรา” ใน 8:10 จะทำให้ผู้อ่านไม่เข้าใจและฟังดูแปลก) และในการยกร่างคำแปลใหม่ สำหรับ 9:1 กรรมการยกร่างฯ ได้เห็นความสำคัญของสันธาน “แต่” ซึ่งมีอยู่ใน พระคัมภีร์ภาษาฮีบรูที่ขาดหายไปในฉบับ 1971 นั้น ว่าควรจะกลับมารักษาไว้ในการแปลใหม่ ซึ่งคำๆ นี้ถึงแม้เป็นเพียงคำเดียว แต่ก็มีผลต่อความเข้าใจที่สำคัญเกี่ยวกับ “อิมมานูเอล” คือ เมื่อพระเจ้าทรงสถิตกับเรา สถานการณ์ที่เลวร้ายก็ได้รับการเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
(ฉบับ 1971) เมือง นั้นซึ่งอยู่ในความแสนระทมจะไม่กลัดกลุ้ม ในกาลก่อนพระองค์ ทรงนำแคว้นเศบูลุนและแคว้น นัฟทาลีมาสู่ความดูหมิ่น แต่ใน กาลภายหลังพระองค์จะทรงกระทำให้หนทางข้างทะเล แคว้นฟากตะวัน ตกของแม่น้ำจอร์แดน คือ กาลิลีแห่งบรรดาประชา ชาติให้รุ่งโรจน์
(ฉบับที่กำลังยกร่างใหม่) แต่เมือง นั้นที่อยู่ในสภาพโศกเศร้าจะไม่ทุกข์ระทมอีก ในกาลก่อนพระองค์ทรงให้แคว้นเศบูลุนและแคว้นนัฟทาลีเป็นที่ดูหมิ่น แต่ในภายหลังพระองค์จะทรงทำให้หนทางฝั่งทะเล และดินแดนฟากตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดน คือกาลิลีของบรรดาประชาชาตินั้นรุ่งโรจน์
ประการสุดท้าย มีข้อคิดจากพระธรรมอิสยาห์ว่า กษัตริย์อาหัสไม่ได้ขอหมายสำคัญเรื่องพระคริสต์ (7:10-14) แต่ พระเจ้าทรงเป็นผู้ให้หมายสำคัญโดยผ่านทางท่านอิสยาห์ ดังนั้น แม้มนุษย์ไม่ได้ขอการทรงช่วยกู้ แต่พระเจ้าเองทรงเป็นผู้ริ เริ่มการช่วยกู้มนุษย์ที่พระองค์ทรงรัก ด้วยเหตุนี้เราจึงควรระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณนี้อยู่เสมอทุกเวลา มิใช่เพียงแต่ในเทศกาลคริสตมาสเท่านั้น และเราจะเห็นว่าการทรงสถิตอยู่ด้วยของพระเจ้าทำให้สถานการณ์เปลี่ยนไปจาก หน้ามือเป็นหลังมือ ถึงแม้ว่าเราจะเผชิญกับปัญหาก็ขอให้ตระหนักว่าถ้ามีพระเยซูคริสต์อยู่กับเรา เหตุการณ์ร้ายก็จะได้รับการเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น
- อ.ประณต บุษกรเรืองรัตน์
- ภาพ freepik.com