แปลเกิน หรือ แปลขาด?
ปุจฉา มีผู้ตั้งข้อสังเกตและเห็นว่า พระคัมภีร์ฉบับมาตรฐาน 2011 แปลข้อความในพระธรรม 1โครินธ์ บทที่ 11 ข้อ 25 เกินมาและสื่อความหมายไม่ตรงกับบริบท1 คือแปลคำกริยากรีก δειπνεω (deipneo) ว่า “รับประทานอาหาร”2 แทนที่จะแปลว่า “รับประทาน”3 การแปลของฉบับมาตรฐานจึงแปลเกินและทำให้ผู้อ่านเข้าใจผิดว่าเป็นการรับประทานอาหารมื้อหลัก แทนที่จะหมายถึงการรับประทานขนมปัง
ดังนั้น จึงขอเสนอให้แก้ไขคำแปลเสียใหม่ในจุดดังกล่าว เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องว่า “รับประทาน” หรือ “รับประทานขนมปัง”4 อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้
วิสัชนา สมาคมฯ ขอขอบคุณท่านที่ได้ให้ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะคำแปลใน 1 โครินธ์ 11:25 ฉบับมาตราฐาน 2011 และได้ส่งเรื่องให้ฝ่ายแปลไปพิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้ว ทางฝ่ายแปลได้ศึกษาแล้วจึงขอเรียนชี้แจงดังนี้
1. เกี่ยวกับความหมายของคำกริยากรีก δειπνεω (deipneo) นั้น ก็เป็นอย่างที่ท่านค้นมาคือ รับประทานอาหารค่ำ หรือ อาหารมื้อหลักโดยเฉพาะมื้อเย็น5 หรือ ในฉบับ KJV ใช้คำว่า sup ซึ่งสรุปได้ว่า คำกริยาคำนี้หมายถึง รับประทานอาหาร (มื้อค่ำ)
2. เมื่อเราสังเกตการใช้คำกริยานี้ในพระคัมภีร์ใหม่ภาษากรีก เราพบว่าคำกริยานี้ปรากฎสี่ครั้งด้วยกันคือ
-
- ลก.17:86 อยู่ในบริบทของพระดำรัสสอนให้ถ่อมตัวในการรับใช้อย่างบ่าวปรนนิบัตินายทั้งงานนอกบ้านและงานในบ้านโดยไม่ได้ถือว่าทำบุญคุณอะไรต่อนายแต่อย่างใด วลีที่น่าสังเกตในข้อ 8 คือ “จงไปหาอะไรมาให้เรารับประทาน” ในความหมายว่า จงเตรียมอาหารค่ำให้เรารับประทาน
- ลก.22:207 และ 1คร.11:258 ทั้งสองข้อนี้ต่างก็อยู่ในบริบทเดียวกันคือการที่พระเยซูทรงตั้งพิธีมหาสนิท นอกจากนี้ยังมีวลีกรีกเดียวกันอีกด้วยคือ μετα το δειπνησαι (meta to deipnesai) ซึ่งน่าจะแปลให้เหมือนกันมากกว่าจะแปลให้ต่างกัน แต่จะแปลอย่างไรจึงจะถูกต้อง? จะแปลว่า “เมื่อรับประทานแล้ว” (ลก.22:20) หรือ “หลังจากรับประทานอาหารแล้ว” (1คร.11:25) เราน่าจะเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่อย่างไหนดีและเหมาะสม? เราต้องพิจารณาให้รอบคอบต่อไป ค. วว.3:209 อยู่ในบริบทของข่าวสารที่พระเยซูตรัสแก่คริสตจักรเมืองเลาดีเซีย พระองค์ทรงตำหนิคริสตจักรนี้หลายอย่างและเรียกร้องให้กลับใจใหม่ ในข้อนี้เราเห็นภาพพระเยซูกำลังเคาะประตู หากคริสตจักรเลาดีเซียเปิดประตู พระองค์ก็จะเข้าไปและมีความสัมพันธ์อันดีกับเขาโดยรับประทานอาหาร(ค่ำ)กับเขา
3.โดยปกติ เรามักเข้าใจว่าพระเยซูทรงสถาปนาพิธีมหาสนิทโดยมีขนมปังกับเหล้าองุ่นเป็นองค์ประกอบสำคัญ นั่นก็ไม่ผิด แต่ต้องเข้าใจด้วยว่า พระองค์ทำพิธีนี้ในขณะรับประทานอาหาร (มื้อค่ำ) (ซึ่งเป็นอาหารในเทศกาลปัสกา) ที่เรียกว่า the Last Supper (หมายถึง อาหารค่ำมื้อสุดท้ายที่พระเยซูเสวยร่วมกับสาวกก่อนถูกจับกุมไปไต่สวนและพิพากษา) นั่นหมายความว่า บนโต๊ะอาหารนั้นมิได้มีเพียงขนมปังและเหล้าองุ่นเท่านั้น ยังมีอย่างอื่นด้วยเช่น เนื้อแกะย่าง ผักขม เป็นต้น เพียงแต่พระเยซูได้เลือกใช้สองอย่างเท่านั้นเพื่อสถาปนาพิธีมหาสนิทในความหมายของพระองค์ ดังนั้น จากอาหารค่ำมื้อสุดท้าย (the Last Supper) ก็กลายเป็นอาหารค่ำขององค์พระผู้เป็นเจ้า (the Lord’s Supper) หรือพิธีมหาสนิทที่คริสตศาสนจักรรักษาสืบมาจนทุกวันนี้
เรามักเข้าใจว่าทั้งขนมปังและเหล้าองุ่นถูกเรียกมาใช้ในพิธีมหาสนิทในเวลาต่อเนื่องกันอย่างที่บันทึกในพระธรรมมัทธิวและพระธรรมมาระโก แต่อย่าลืมว่า พิธีมหาสนิทนี้เกิดขึ้นในระหว่างการรับประทานปัสกา ดู มธ.26:26-29 และ มก.14:22-25 ส่วนใน ลก.22:20 และ 1คร.11:25 ได้ให้เรา เห็นภาพว่า เมื่อทรงอธิบายความหมายของขนมปังและสาวกรับไปกิน หลังจากรับประทานอาหารมื้อค่ำนั้นแล้ว พระองค์ก็ทรงหยิบถ้วยเหล้าองุ่นและอธิบายความหมาย แล้วส่งให้พวกสาวกดื่ม
แม้จะดูว่า มีความแตกต่างกันในเรื่องลำดับ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่ ความจริงก็คือ ขณะรับประทานอาหารมื้อค่ำในพิธีปัสกา พระเยซูได้ให้ความหมายใหม่โดยใช้ขนมปังและเหล้าองุ่นเป็นสัญลักษณ์ถึง การเสียสละพระชนม์ชีพของพระองค์ ในพันธสัญญาใหม่
ดังนั้น หากพิเคราะห์ดูแล้ว ทั้ง ลก.22:20 และ 1คร.11:25 น่าจะแปลให้เหมือนกันคือ หลังจากรับประทานอาหารมื้อค่ำแล้ว
ส่วนที่คิดว่าน่าจะแปลคำกริยากรีกใน ลก.22:20 และ 1คร.11:25 ว่า รับประทาน หรือ รับประทานขนมปังนั้น เราเห็นว่าไม่ถูกต้อง หากพิเคราะห์ดูคำแปลจากฉบับมาตรฐานอื่นๆ ก็จะเห็นว่า μετα το δειπνησαι (meta to deipnesai) ส่วนมากแปลว่า after supper ยกตัวอย่างฉบับ NIV, NET, HCSB, GWT, CEV, GNB, NCV, KJV, ASV, NKJV นอกจากนี้ หนังสือ A translator’s handbook on Paul’s first letter to the Corinthians ของ United Bible Societies ยังได้สนับสนุนให้แปลคำกริยากรีก δειπνεω (deipneo) ใน 1คร.11:25 เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจว่าพิธีมหาสนิทเกิดขึ้นในการรับประทานอาหารจริงๆ10
ดังนั้น ฉบับมาตรฐานจึงไม่ได้แปลเกินใน 1คร.11:25 แต่แปลครบถ้วนต่างหาก อย่างไรก็ดี ขอขอบคุณท่านที่ได้อ่านและเสนอความคิดเห็นมา ขอพระเจ้าอวยพรทุกท่านที่รักพระเจ้าและรักพระดำรัสของพระองค์ และไม่เพียงเท่านั้น แต่ยังถือรักษาด้วยใจยินดีด้วย
- บริบทคือ 1 โครินธ์ 11:23-26 (อัครทูตเปาโลกล่าวว่า) เพราะว่าเรื่องซึ่งข้าพเจ้ามอบไว้กับพวกท่านนั้น ข้าพเจ้าได้รับจากองค์พระผู้เป็นเจ้า คือในคืนที่เขาทรยศพระเยซูองค์พระผู้เป็นเจ้า พระองค์ทรงหยิบขนมปัง เมื่อขอบพระคุณแล้วจึงทรงหัก และตรัสว่า “นี่เป็นกายของเรา ซึ่งให้แก่ท่านทั้งหลาย จงทำอย่างนี้เพื่อระลึกถึงเรา” หลังจากรับประทานอาหารแล้ว พระองค์ทรงหยิบถ้วยด้วยอากัปกิริยาเดียวกัน ตรัสว่า “ถ้วยนี้คือพันธสัญญาใหม่ โดยโลหิตของเรา จงทำอย่างนี้ คือเมื่อใดที่พวกท่านดื่มจากถ้วยนี้ จงดื่มเพื่อระลึกถึงเรา” เพราะว่าเมื่อใดที่พวกท่านกินขนมปังและดื่มจากถ้วยนี้ ท่านก็ประกาศการวายพระชนม์ขององค์พระผู้เป็นเจ้า จนกว่าพระองค์จะเสด็จมา
- พระคัมภีร์ฉบับคาทอลิกแปลว่า “หลังอาหารค่ำ” ขณะที่ฉบับภาษาอังกฤษหลายฉบับอย่าง NIV, NKJV, NET, ISV ก็แปลอย่างเดียวกับฉบับคาทอลิกว่า “after supper”
- อย่างในฉบับ 1971 ฉบับคิงเจมส์ไทย และฉบับอมตธรรมร่วมสมัย 4 เป็นการแปลโดยตีความซึ่งจะเข้ากับบริบทมากกว่า (ในความเข้าใจของผู้เสนอความเห็น) เพราะในข้อ 2
- พระเยซูทรงหักขนมปัง และในข้อ 25 พระองค์และสาวกก็รับประทานขนมปังนั้น
- to dine, i.e. take the principal (or evening) meal.
- ท่านจะไม่บอกเขาหรือว่า ‘จงไปหาอะไรมาให้เรารับประทานและคาดเอวไว้คอยปรนนิบัติระหว่างที่เรากินและดื่ม หลังจากนั้นเจ้าจึงค่อยกินและดื่มเถิด?’
- เมื่อรับประทานแล้ว จึงทรงหยิบถ้วยและทรงทำเหมือนกันตรัสว่า “ถ้วยนี้ที่เทออกเพื่อท่านทั้งหลาย เป็นพันธสัญญาใหม่โดยโลหิตของเรา
- หลังจากรับประทานอาหารแล้ว พระองค์ทรงหยิบถ้วยด้วยอากัปกิริยาเดียวกัน ตรัสว่า “ถ้วยนี้คือพันธสัญญาใหม่ โดยโลหิตของเรา จงทำอย่างนี้ คือเมื่อใดที่พวกท่านดื่มจากถ้วยนี้ จงดื่มเพื่อระลึกถึงเรา”
- นี่แน่ะ เรายืนเคาะอยู่ที่ประตู ถ้าใครได้ยินเสียงของเราและเปิดประตู เราจะเข้าไปหาเขาและจะรับประทานอาหารร่วมกับเขา และเขาจะรับประ-ทานอาหารร่วมกับเรา
- As in verse 20, supper should be translated in such a way as to make it clear that a real meal was in progress, both at the Last Supper itself, and in the Lord’s Supper as it was celebrated at Corinth and elsewhere.
- อาจารย์ ปัญญา โชชัยชาญ
- ภาพ www.lumoproject.com