โอรสของกษัตริย์ดาวิดเป็นปุโรหิตด้วยหรือ?
คำถาม : พบแล้ว! พระคัมภีร์ไทยแปลผิด! เพราะเมื่อเราอ่านพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิม เราเข้าใจว่า “ปุโรหิต”ของชนชาติอิสราเอล คือนักบวชหรือผู้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา และเราได้เรียนรู้มาผู้ที่จะเป็นปุโรหิตได้นั้นต้องมาจากเผ่าเลวีเท่านั้น
แต่พระธรรม 2 ซา มูเอล 8:18 ได้บันทึกว่า “บรรดาโอรสของดาวิดเป็น ปุโรหิต” น่าจะเป็นข้อผิดพลาด เพราะกษัตริย์ดาวิดมาจากเผ่ายูดาห์ ดังนั้นโอรสของกษัตริย์ดาวิดเป็นปุโรหิตได้ด้วยหรือ ?
คำตอบ : หากเราพิจารณาให้ดีก็จะพบว่าพระคัมภีร์ภาษาอังกฤษ หลายฉบับ เช่น New Revised Standard Version (NRSV), English Standard Version (ESV) และ Today’s English Version (TEV) แปลพระธรรมข้อนี้จากภาษาฮีบรูโดยใช้คำว่า “Priest” (ปุโรหิต) ส่วนฉบับที่เก่ากว่านั้นคือ American Standard Version (ASV) ปี 1901 ใช้คำว่า “Chief Ministers” (รัฐมนตรีว่าการ) และฉบับ King James Version (KJV) ใช้คำว่า “Chief Rulers” (หัวหน้าผู้ครอบครอง) พระคัมภีร์ฉบับต่างๆ เหล่านี้ล้วนแต่แปลมาจากภาษาฮีบรูซึ่งใช้คำเดียวกัน คือ “โคเฮน” และคำนี้ในพระธรรมตอนอื่นๆ ส่วนใหญ่จะแปลว่า “ปุโรหิต”
แต่ใน1 พงศาวดาร 18:17 ซึ่งบันทึก เรื่องเดียวกันนี้ กลับเขียนว่า “บรรดาโอรสของดาวิดก็เป็นเจ้า หน้าที่ชั้นหัวหน้าในราชการของพระราชา” เพราะคำฮีบรูในพระธรรม ตอนนี้ไม่ใช่ “โคเฮน” แต่เป็น “ริ โชน” ซึ่งแปลว่า “หัวหน้า” นอกจาก นี้ ยังมีพระคัมภีร์อีกตอนหนึ่งคือ 2 ซามูเอล 20:26 มี ชื่อของบุคคลสำคัญอีกคนหนึ่งที่รับใช้กษัตริย์ดาวิดในฐานะปุโรหิตคือ “อิ รา” ทั้งที่เขาไม่ได้เป็นคนจากเผ่าเลวี แต่ในขณะเดียวกันชื่อ “อิ รา” ก็ไม่ได้รวมกลุ่มอยู่กับปุโรหิตอีก 2 คนคือ “ศา โดก” และ“อาบียาธาร์” (2 ซามูเอล 20:25) จึงดูเหมือนว่าคนสองกลุ่มนี้จะทำหน้าที่แตกต่างกัน แม้จะแปลจากศัพท์ภาษาฮีบรูคำเดียวกันก็ตาม
จากข้อมูลที่เราพบทั้งสามตอนของพระคัมภีร์ เราพอจะสรุปได้ว่า คำว่า “โค เฮน” ในสมัยที่มีการบันทึกพระธรรม 2 ซามูเอลนั้น มีความหมายกว้างกว่าการเป็นนักบวชหรือผู้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา คือมีความหมายรวมไปถึงการเป็นที่ปรึกษาของกษัตริย์ หรือเป็นข้าราชการระดับสูง แต่ต่อมาในสมัยหลังคือสมัยของผู้เขียน 1 พงศาวดาร คำว่า “โคเฮน” มีความหมายแคบลง คือหมายถึงผู้ที่เป็นนักบวชหรือผู้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาเท่านั้น ดังนั้น ผู้เขียน 1 พงศาวดารจึงได้เปลี่ยนคำศัพท์ในส่วนหลังของ 1 พงศาวดาร 18:17 มาเป็นคำว่า “ริโชน” ซึ่งมีความหมายแตกต่างจากการเป็นปุโรหิต แสดงว่าความหมายของ “โค เฮน”มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย
การพัฒนาหรือการเปลี่ยนแปลงความหมายของคำเช่นนี้ ไม่เพียงเกิดขึ้นในภาษาฮีบรูเท่านั้น แต่เกิดในภาษาไทยด้วย สมาคมพระคริสตธรรมไทยจึงต้องหาคำศัพท์ร่วมสมัยที่จะนำมาใช้ในการแก้ไขคำ แปลพระคัมภีร์ไทยในบริบทต่างๆ กัน ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือคำว่า “สมสู่” ซึ่ง พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้คำจำกัดความที่แตกต่างกัน คือ ในฉบับปี 2525 ได้บัญญัติว่า “อยู่ร่วมกันเสมือนผัวเมีย” “อยู่ ร่วมกันอย่างผัวเมีย” แต่ในฉบับ 2542 ได้บัญญัติ โดยการขยายความเพิ่มเติมว่า “ร่วมประเวณี (มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น เขาไปสมสู่กันเอง … บางทีก็ใช้กับสัตว์บางชนิด” จาก ตัวอย่างนี้เราจะเห็นว่า คำเดียวกันในภาษาไทยสามารถทำให้คนไทยแต่ละยุคเข้าใจต่างกันได้ ดังนั้นคณะกรรมการยกร่างคำแปลพระคัมภีร์ของสมาคมพระคริสตธรรมไทยจึงได้ยก เลิกการใช้คำว่า “สมสู่” เปลี่ยนมาใช้คำว่า “มี เพศสัมพันธ์” หรือ “มีความสัมพันธ์” แทน เนื่องจากถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงคำ ผู้อ่านจะเข้าใจผิดคิดว่าอาดัมและเอวาทำผิดศีลธรรมในปฐมกาล 4:1
เมื่อกลับมาพูดถึงเรื่องของปุโรหิต เราจะเห็นว่าคนกลุ่มหนึ่งอาจจะทำหน้าที่มากกว่าหนึ่งอย่าง ในสมัยพระคัมภีร์เดิม นอกจากปุโรหิตจะทำพิธีกรรมทางศาสนาแล้ว ยังทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของกษัตริย์อีกด้วย คำว่า “ปุโรหิต” ในพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถานฉบับ 2525 และ 2542 บัญญัติ เหมือนกันว่า “พราหมณ์ที่ปรึกษาของพระมหากษัตริย์ในทางนิติ คือ ขนบธรรมเนียมจารีตประเพณี” และ “พราหมณ์” ถูกบัญญัติว่า “ผู้ที่ถือเพศไว้ผม นุ่งขาวห่มขาว” และมีการยกตัวอย่างเพิ่มเติมในฉบับ 2542 ว่า “เช่น พราหมณ์ปุโรหิต” จากตัวอย่างที่ให้เพิ่มเติมนี้ เราอาจจะกล่าวได้ว่าคนที่จะเป็นปุโรหิตได้นั้นจะต้องเป็นพราหมณ์ แต่ไม่ใช่พราหมณ์ทุกคนจะเป็นปุโรหิต ส่วนคำว่า “เพศ” นอก จากจะเป็นคำที่ใช้ระบุว่าเป็นชายหรือหญิง แล้ว ในพจนานุกรมฯ ฉบับ 2542 ได้ขยายความต่อไปว่า “เครื่องแต่งกาย; การ ประพฤติปฏิบัติตน เช่น สมณเพศ” ซึ่งเราก็ทราบว่าพราหมณ์มีการ แต่งกายที่พิเศษแตกต่างจากคนธรรมดา ดังนั้น จากคำจำกัดความในพจนานุกรมฯ ที่กล่าวมาข้างต้น คำว่า “ปุโรหิต” จึงมีความ หมายใกล้เคียงกับ “โคเฮน” มากที่สุด แม้การแต่งกายของปุโรหิตในพระคัมภีร์เดิมจะไม่เหมือนกับพราหมณ์เพราะความแตก ต่างด้านวัฒนธรรมและภูมิประเทศ (รายละเอียดเรื่องเครื่องแต่ง กายของปุโรหิตอ่านได้จากอพยพ 28:1-29:31)
สรุป : บรรดาโอรสของกษัตริย์ ดาวิดคือข้าราชการของพระองค์ ถึงแม้จะถูกเรียกว่าเป็นปุโรหิต แต่ก็เป็นปุโรหิตในความหมายของการเป็นที่ปรึกษาของกษัตริย์เท่านั้น ไม่ได้เป็นผู้ทำพิธีกรรมทางศาสนาเหมือนศาโดกและอาหิเมเลคบุตรอาบียาธาร์ ด้วยเหตุนี้ พระคัมภีร์ไทยจึงไม่ได้แปลผิดและยังคงความถูกต้องตามภาษาเดิม
- ศาสนาจารย์ ดร.เสรี หล่อกัณภัย