A – แผ่นศิลา (Stone Tablet)

A – แผ่นศิลา (Stone Tablet) ดั้งเดิมแต่โบราณ เมื่อยังไม่มีระบบการเขียน มนุษย์มีวิธีการเก็บรักษาและถ่ายทอดเรื่องราวต่างๆ โดยการบอกเล่าสืบต่อกันมาแบบปากต่อปาก หรือที่เรียกว่า ประเพณีการบอกเล่า (Oral Tradition) และเมื่อเรื่องราวใดเป็นที่นิยมหรือได้รับการยกย่องมากก็อาจมีการแต่งเป็นบทเพลงหรือลำนำ แม้วิธีการถ่ายทอดเหล่านี้จะเป็นวิธีที่ดูมีชีวิตชีวา แต่ก็ทำให้ผู้เล่าเรื่องหรือผู้ขับร้องแต่ละคนมีโอกาสดัดแปลงหรือแต่งแต้มเนื้อหาได้อย่างอิสระ ต่อมา มนุษย์เริ่มประดิษฐ์คิดค้นระบบการเขียนขึ้น โดยแรกเริ่มเพื่อการจดบันทึกข้อมูลที่จำเป็นเร่งด่วน เช่น ปริมาณผลผลิตทางการเกษตร ฯลฯ แต่ภายหลังก็เริ่มมีการจดบันทึกอย่างอื่นด้วย เช่น พงศาวดาร บทเพลง นิทาน ตำนาน คำสอน ฯลฯ จนประเพณีการบอกเล่าเริ่มเปลี่ยนเป็นประเพณีการคัดลอก (Textual Tradition) ทำให้เรื่องราวเหล่านี้กลายเป็นลายลักษณ์อักษรที่มีความคงทนและมีเสถียรภาพมากกว่าการบอกเล่าแบบปากต่อปากที่ผู้เล่าเรื่องแต่ละคนอาจปรับแต่งเนื้อหาไปเรื่อยๆ โดยไม่มีต้นฉบับหรือแหล่งอ้างอิงที่ชัดเจน ระบบการเขียนที่เก่าแก่ที่สุดของมนุษย์เท่าที่มีการค้นพบในปัจจุบันคือ จารึกอักษรลิ่ม (Cuneiform) ของชาวสุเมเรียนในดินแดนเมโสโปเตเมีย (บริเวณประเทศอิรักในปัจจุบัน) ซึ่งมีอายุถึงกว่า 5,500 ปีมาแล้ว โดยผู้จารึกนำก้านต้นกกที่ตัดปลายจนแหลมเหมือนลิ่มมาใช้จารึกตัวอักษรลงบนแผ่นดินเหนียว นอกจากนี้ อารยธรรมโบราณอื่นๆ ที่รุ่งเรืองในอดีตก็มีระบบการเขียนเป็นของตนเองเช่นกัน เช่น ชาวอียิปต์โบราณที่ใช้ตัวอักษรเฮียโรกลีฟ (Hieroglyph) หรืออักษรภาพ จารึกลงบนแผ่นจารึกที่มักจะทำจากศิลาหรืองาช้าง  นักวิชาการสันนิษฐานว่า ชาวอิสราเอลโบราณรวมถึงโมเสสคงได้รับอิทธิพลเกี่ยวกับการจารึกเช่นนี้จากชาวอียิปต์ไม่มากก็น้อยเมื่อสมัยที่อาศัยอยู่ในแผ่นดินอียิปต์ (อพย.1:1-7; […]

B – หนังสือม้วนปาปิรุส (Papyrus Scroll)

B – หนังสือม้วนปาปิรุส (Papyrus Scroll) วิธีการเขียนในสมัยแรกเริ่มนั้นเป็นการสลักลงบนแผ่นจารึกที่มักจะทำมาจากดินเหนียวหรือศิลา  ในเวลาต่อมาก็พัฒนาขึ้นเป็นการเขียนด้วยน้ำหมึกลงบนหนังสัตว์หรือกระดาษที่ทำจากเยื่อของต้นกกที่เรียกว่าปาปิรุส (Papyrus) สิ่งที่ได้คือหนังสือม้วน (scroll)  หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่มีในปัจจุบันคือ ม้วนหนังสือปาปิรุสของชาวอียิปต์โบราณที่มีอายุประมาณกว่า 4,000 ปีมาแล้ว  และหนึ่งในสำเนาโบราณของพระคัมภีร์เดิมที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่มีในปัจจุบันคือ ม้วนคัมภีร์ทะเลตาย (Dead Sea Scrolls) ซึ่งมีอายุราวศตวรรษที่ 3 ก่อน ค.ศ. โดยถูกพบในถ้ำที่คุมราน (Qumran) ใกล้ทะเลตาย ประกอบด้วยพระธรรมต่างๆ ในพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิมยกเว้นพระธรรมเอสเธอร์เพียงเล่มเดียว และพระธรรมแต่ละเล่มถูกม้วนใส่ไว้ในไหที่ปิดฝามิดชิดเพื่อเก็บรักษา แม้การเขียนลงบนกระดาษปาปิรุสจะสะดวกรวดเร็วกว่าการสลักลงบนแผ่นจารึก แต่กระดาษปาปิรุสก็มีความคงทนและอายุการใช้งานที่น้อยกว่ามาก ทั้งยังอ่อนไหวต่อความชื้น อุณหภูมิ และการสัมผัสอีกด้วย จึงทำให้หนังสือหรือเอกสารสำคัญที่มีการใช้งานอย่างต่อเนื่อง เช่น พระคัมภีร์ จำเป็นต้องมีการคัดลอกใหม่อยู่เรื่อยๆ เมื่อสำเนาเดิมเริ่มเก่าและมีสภาพทรุดโทรมลง ทำให้อาลักษณ์ (Scribe) เป็นวิชาชีพหนึ่งที่มีความสำคัญในโลกสมัยโบราณ ในโลกสมัยโบราณ คนที่อ่านออกเขียนได้มักเป็นคนกลุ่มน้อย อาลักษณ์จึงมีบทบาทและอิทธิพลที่สำคัญในสังคม  ในสังคมอิสราเอลยุคโบราณก็เช่นกัน อาลักษณ์มีหน้าที่คัดลอกพระคัมภีร์เพื่อสืบทอดและเผยแพร่พระวจนะของพระเจ้าอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรจากรุ่นสู่รุ่น ยิ่งไปกว่านั้น ตั้งแต่สมัยกลับจากการเป็นเชลยที่บาบิโลนเป็นต้นมา อาลักษณ์ที่คุ้นเคยกับเนื้อหาพระคัมภีร์เหล่านี้ก็ได้กลายเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านธรรมบัญญัติของชาวยิว หรือที่เรียกว่า “ธรรมาจารย์” นั่นเอง ขณะเดียวกัน เมื่อวิชาชีพอาลักษณ์มีการเติบโตพัฒนาขึ้นก็เริ่มแตกแขนงออกเป็นหลายสำนัก […]

C – การพิมพ์ & การแปลพระคัมภีร์ (Printing & Bible Translation)

C – การพิมพ์ & การแปลพระคัมภีร์ (Printing & Bible Translation) ในสมัยโบราณ พระคัมภีร์ได้รับการคัดลอกด้วยมือของอาลักษณ์จากรุ่นสู่รุ่นมาเป็นเวลานานหลายพันปี จนกระทั่งในศตวรรษที่ 15 เมื่อนักประดิษฐ์ชาวเยอรมันนามว่า โยฮานเนส กูเทนเบิร์ก (Johannes Gutenberg) ได้ประดิษฐ์แท่นพิมพ์ขึ้น ทำให้สามารถพิมพ์หนังสือจำนวนมากได้โดยใช้เวลาและบุคลากรที่น้อยกว่าในอดีตมาก  พระคัมภีร์รวมทั้งหนังสืออื่นๆ จึงถูกตีพิมพ์พิมพ์และเผยแพร่อย่างรวดเร็ว  ทำให้การกระจายภูมิปัญญาหรือวิทยาการนั้นไม่เป็นเรื่องยากเย็นอีกต่อไป นับเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของประวัติศาสตร์มนุษยชาติ ในส่วนของการแปลพระคัมภีร์นั้น ได้เริ่มมีขึ้นตั้งแต่ช่วงศตวรรษที่ 3 ก่อน ค.ศ. โดยพระคัมภีร์ฮีบรูของชาวยิว (หรือที่เรารู้จักในนามพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิม) ได้ถูกแปลจากภาษาฮีบรูและอาราเมคมาเป็นภาษากรีก มีชื่อเรียกว่า ฉบับเซปทัวจินต์ (Septuagint หรือเขียนเป็นสัญลักษณ์ว่า LXX) เนื่องจากในสมัยนั้น ภาษากรีกได้กลายเป็นภาษากลางในภูมิภาคเมดิเตอร์เรเนียน นอกจากนี้ ยังมีพระคัมภีร์ฉบับแปลเป็นภาษาท้องถิ่นอื่นๆ อีกมากมายในช่วงศตวรรษที่ 1-4 เช่น ฉบับอาราเมค (ทาร์กุม) ฉบับซีเรีย (เพชิทตา) ฉบับละตินเก่า (เวทุส ละตินา) ฯลฯ สำหรับการแปลพระคัมภีร์เป็นภาษาไทย สมัยแรกๆ มักจะแปลโดยมิชชันนารีชาวต่างชาติเป็นหลัก […]

D – พันธกิจด้านพระคัมภีร์ของ TBS (TBS Bible Missions)

D – พันธกิจด้านพระคัมภีร์ของ TBS (TBS Bible Missions) จนถึงวันนี้ พระคัมภีร์ได้ถูกแปลไปเป็นภาษาต่างๆ แล้วมากกว่า 700 ภาษา โดยมีทั้งการแปลพระคัมภีร์ที่เสร็จสมบูรณ์ทั้งเล่มและการแปลที่เสร็จไปบางส่วน  กระนั้นก็ยังมีผู้คนอีกกว่า 800 ภาษาทั่วโลกที่รอคอยพระคัมภีร์ฉบับแรกของพวกเขาอยู่ ยังไม่รวมถึงภาษามือสำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยินและภาษาเบรลล์สำหรับผู้บกพร่องทางการมองเห็นในแต่ละประเทศด้วย นอกจากนี้ แม้ว่าการแปลพระคัมภีร์เป็นภาษาไทยจะเสร็จสิ้นไปนานแล้ว แต่เมื่อเวลาผ่านไป ก็ยังคงต้องมีการแก้ไขคำแปลอยู่เรื่อยๆ เนื่องจากสาเหตุสำคัญอย่างน้อย 3 ประการ ได้แก่ การใช้ภาษาไทยของคนไทยที่เปลี่ยนไปตามกาลสมัย มุมมองการรับรู้ของผู้อ่านที่เปลี่ยนไปตามสภาพสังคม และความรู้ทางวิชาการที่พัฒนาขึ้นตามกาลเวลา  การปรับแก้สำนวนแปลทำให้คนไทยในแต่ละยุคแต่ละสมัยสามารถอ่านและเข้าใจความหมายได้อย่างถูกต้องมากขึ้น พระคัมภีร์ไทยฉบับแรกที่สมาคมพระคริสตธรรมไทย (TBS) ทำการแก้ไขคำแปล คือ พระคัมภีร์ฉบับ 1940 จนกลายมาเป็นพระคัมภีร์ฉบับ 1971 โดยมีการปรับแก้ที่สำคัญคือ การบัญญัติชื่อเฉพาะต่างๆ (เช่น ชื่อบุคคล ชื่อสถานที่ ฯลฯ) ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันสำหรับคริสเตียนทุกกลุ่ม ซึ่งในครั้งนั้นได้มีการประชุมเพื่อตกลงกันระหว่างตัวแทนจากนิกายโรมันคาทอลิกกับนิกายโปรเตสแตนต์ในประเทศไทย ต่อมา เมื่อกระแสการแปลพระคัมภีร์ให้เป็นภาษาที่เข้าใจง่ายและมีความสัมพันธ์กับบริบทท้องถิ่นเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น TBS จึงได้จัดทำพระคัมภีร์ไทยขึ้นมาอีกฉบับในปี ค.ศ. 1984 ชื่อว่า พระคัมภีร์ฉบับประชานิยม (Thai Common […]

E – พระคัมภีร์ดิจิทัล (Digital Bible)

E – พระคัมภีร์ดิจิทัล (Digital Bible) ในหลายทศวรรษที่ผ่านมา  การใช้สื่อในรูปแบบดิจิทัลและช่องทางออนไลน์ได้เติบโตแพร่หลายอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่การแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นต้นมา ปัจจัยเหล่านี้ช่วยให้กระบวนการแปล การจัดเก็บ และการเผยแพร่พระคัมภีร์มีความสะดวกรวดเร็วและมั่นคงมากขึ้น ทั้งยังช่วยเพิ่มทางเลือกและโอกาสแก่ผู้ใช้งานในการเข้าถึง ศึกษาค้นคว้า และแบ่งปันพระคัมภีร์ได้มากขึ้นด้วย ในการนี้ สมาคมพระคริสตธรรมไทย (TBS) ได้มีการร่วมมือหรือเข้าเป็นหุ้นส่วนทางพันธกิจกับหลายองค์กรทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ เพื่อเพิ่มศักยภาพและโอกาสในการเผยแพร่พระคัมภีร์ให้กับคนไทยทุกกลุ่มและทุกแห่งหน ผ่านช่องทางและสื่อหลากหลายประเภทอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีตัวอย่างบางส่วนขององค์กรและความร่วมมือที่เกิดขึ้นดังต่อไปนี้ แอพ YouVersion สำหรับอ่านพระคัมภีร์ (ทั้งในระบบ iOS และ Android) โดยความร่วมมือระหว่างองค์กร YouVersion ในฐานะผู้พัฒนาแอพพลิเคชันและดูแลระบบ กับ TBS ในฐานะผู้จัดทำและอนุญาตการใช้เนื้อหาพระคัมภีร์ไทยอย่างถูกลิขสิทธิ์ อีกทั้งภายในแอพยังมีฉบับแปลของพระคัมภีร์อยู่มากมายสำหรับให้ผู้ใช้เลือกอ่านหรือเปรียบเทียบฉบับแปลต่างๆ ได้ตามอัธยาศัย  พระคัมภีร์ภาษามือไทย (ทางช่อง Youtube : TBS THSL) จัดทำโดยคณะผู้แปลภาษามือไทยของ TBS และได้รับการสนับสนุนจากองค์กร Summer Institute of Linguistics (SIL International) และ Asia-Pacific Sign […]

เมซูซาห์ (Mezuzah)

เมซูซาห์ (Mezuzah) เมซูซาห์ (อังกฤษ : Mezuzah, ฮีบรู : מְזוּזָה) ดั้งเดิมในภาษาฮีบรูแปลว่า “เสาประตู” (ดู ฉธบ.6:9; 11:20) ต่อมาคำนี้ถูกนำมาใช้เรียกศาสนวัตถุอย่างหนึ่งในชีวิตประจำวันของชาวยิว เป็นกลักขนาดเล็กสำหรับแขวนหรือติดไว้ที่วงกบประตูทางเข้าบ้านและธรรมศาลา โดยมักจะใส่ม้วนกระดาษแผ่นเล็กๆ ที่คัดลอกข้อพระคัมภีร์จากเฉลยธรรมบัญญัติ 6:4-9 ไว้ข้างใน และเมื่อชาวยิวจะก้าวผ่านประตูก็มักจะเอามือแตะที่กลักพระธรรมนี้เพื่อเป็นการระลึกถึงพระเจ้าและพระบัญญัติของพระองค์ เมซูซาห์มีขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อไรและใครเป็นผู้คิดค้นขึ้นนั้นยังไม่มีข้อสรุปแน่ชัด ทั้งยังไม่พบธรรมเนียมปฏิบัติเช่นนี้ในพระคริสตธรรมคัมภีร์ตอนใดเลย บันทึกที่เก่าแก่ที่สุดที่กล่าวถึงธรรมเนียมปฏิบัตินี้มาจากโจเซฟัส นักประวัติศาสตร์ชาวยิวในสมัยศตวรรษที่ 1 ซึ่งบ่งบอกว่าชาวยิวในสมัยนั้นมีการใช้เมซูซาห์กันอย่างแพร่หลายแล้ว จึงมีข้อสันนิษฐานว่าธรรมเนียมปฏิบัตินี้อาจเกิดขึ้นในช่วงสมัยหลังจากตกเป็นเชลยที่บาบิโลน (ท้ายศตวรรษที่ 6 ก่อน ค.ศ.) เป็นต้นมา ส่วนที่มาของแนวคิดนั้นเข้าใจกันว่ามาจาก เฉลยธรรมบัญญัติ 6:4-9 และ 11:13-21 อันเป็นคำกำชับให้คนอิสราเอลยึดมั่นในพระเจ้าโดยการเอาใจใส่และปฏิบัติตามพระวจนะของพระองค์เพื่อที่พวกเขาจะได้รับการอวยพรในแผ่นดินแห่งพันธสัญญา โดยมีคำกำชับหนึ่งที่ปรากฏอยู่ในทั้งสองตอนนี้ คือ “จงเขียนถ้อยคำเหล่านี้ไว้ที่เสาประตูบ้าน…ของท่าน” (ฉธบ.6:9; 11:20) ซึ่งชาวยิวก็ได้ตีความหมายข้อความนี้แบบตรงตัวอักษรและพยายามประยุกต์ให้เป็นรูปธรรม จนกลายเป็นเมซูซาห์อย่างที่เห็นในทุกวันนี้ อย่างไรก็ตาม ธรรมเนียมปฏิบัตินี้ก็ได้กลายเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ช่วยปลูกฝังชาวยิวให้เอาใจใส่และระลึกถึงพระวจนะของพระเจ้าอยู่เสมอมา ครั้งหนึ่ง ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 อันเป็นช่วงเวลาที่พรรคนาซีเยอรมันพยายามฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว (Holocaust) ชาวยิวจำนวนมากได้ถูกกวาดต้อนให้ไปอยู่ในค่ายกักกัน ถูกยึดทรัพย์สิน […]