เหตุไฉน มัทธิว ลูกา จึงลำดับพงศ์พระเยซูต่างกัน?

เหตุไฉน มัทธิว ลูกา จึงลำดับพงศ์พระเยซูต่างกัน? ถาม: จากการวิเคราะห์รายชื่อลำดับพงศ์ของพระเยซูที่ปรากฏในมัทธิว 1:1-17 และในลูกา 3:23-38 พบ ว่ารายชื่อต่างๆ ของทั้งสองเล่มนั้นแปลแตกต่างกัน ไม่ทราบว่าพระคัมภีร์ไทยแปลผิดหรือไม่? ตอบ: ปัญหา ที่พบนั้นเป็นปัญหาจริงคือรายชื่อในลำดับพงศ์ทั้งสองรายการนั้นไม่เหมือนกัน  แม้จะพูดว่าเป็นลำดับพงศ์ของพระเยซูเหมือนกัน และชื่อที่มาก่อนพระเยซูคือโยเซฟที่ถือว่าเป็นบิดาตามกฎหมายก็เหมือนกัน แต่ทั้งนี้ไม่ได้เกิดจากความผิดพลาดในด้านการแปลแต่อย่างไร แต่เป็นปัญหาที่ปรากฏในสำเนาต้นฉบับกรีก ที่รายชื่อซึ่งเขียนโดยลูกานั้นแตกต่างจากของมัทธิวเป็นอย่างมาก  อย่างไรก็ตาม ปัญหาในรายชื่อลำดับพงศ์ทั้งสองรายการมีมากกว่าที่ถามมาซึ่งอาจแยกออกเป็น ประเด็นต่างๆ ดังนี้คือ ประการแรก ในการลำดับรายชื่อนั้น มัทธิวกล่าวว่าตั้งแต่อับราฮัมจนถึงดาวิดมี 14 ชั่วคน นับตั้งแต่ดาวิดจนถูกกวาดเป็นเชลยมี 14 ชั่ว คน และตั้งแต่ถูกกวาดเป็นเชลยจนถึงพระคริสต์มี 14ชั่วคน (มธ.1:17) ดูเหมือนมัทธิวตั้งใจจะแบ่งรายชื่อตั้งแต่ อับราฮัมมาถึงพระเยซูเป็น 3 ช่วงใหญ่ๆ โดยแต่ละช่วงแบ่งออกเป็นอีก 14 ชั่วาอายุ ซึ่งตามการคำนวณจะต้องมี 42 ชั่วอายุ แต่ถ้าหากนำรายชื่อทั้งหมดมารวมกันจะพบว่ามีเพียง 41 ชื่อ ตั้งแต่อับราฮัมมาถึงพระเยซู มีการพยายามอธิบายว่ามัทธิวอาจนับดาวิดซ้ำเนื่องจากเป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ ของอิสราเอลโดยนับอับราฮัมถึงดาวิด 14 ชั่วอายุ […]

คำว่า เหล็กใน ใน 1 โครินธ์ 15:55

ถาม “…โอ ความตาย เหล็กในของเจ้าอยู่ที่ไหน?” พระธรรม 1 โครินธ์ 15:55 (ฉบับมาตรฐาน 2011) ผู้อ่านท่านหนึ่งบอกว่า สมาคมฯ เขียนคำผิด คำที่ถูกต้องคือ เหล็กไน ตอบ ทางสมาคมฯ ได้ตรวจสอบกับพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 แล้วพบว่า คำที่ถูกต้องคือ เหล็กใน ซึ่งหมายถึงเดือยแหลมที่มีในก้น หรือปลายหางสัตว์บางชนิด เช่น ผึ้ง แมงป่อง เป็นต้น!

คำกลอนฮีบรูไม่ถูกแปลเป็นคำกลอนไทยจริงหรือ?

ถาม:  ทำไม สมาคมพระคริสตธรรมไทยจึงไม่แปลพระคัมภีร์ส่วนที่เป็นคำกลอนฮีบรูให้เป็นคำ กลอนไทย? ตอบ:  ความทุกข์ข้าฯ มานักหนา           หนักเหลืออัตรา ล้อมรอบตัวข้าฯ ท่วมทวี! บาปไล่ตามล้างราวี                     มองมืด ทุกที ไม่เห็นทั้งใกล้และไกล ทุกข์มีมากล้นพ้นใจ                    หากจักนับ ไป มากกว่าเส้นผมบนเศียร จนข้าฯ รู้สึกวิงเวียน                   และหมด ความเพียร ระทดท้อใจไปมา ข้าฯ ขออธิษฐานภาวนา              วอนพระช่วยข้าฯ ณ กาลบัดนี้ทันใด… ข้าพระองค์อ่อนแอนักหนา           และหมดปัญญา แต่พระก็ทรงห่วงใย พระช่วยข้าฯ รอดทุกสมัย           ขอพระทรงชัย อย่าได้รอช้าอยู่เลย! เพลงสดุดี 40:12-13, 17 ฉบับ ประชานิยม จากการหยิบยกข้อพระคัมภีร์ข้างต้น ซึ่งอยู่ในคำประพันธ์ประเภทกาพย์ฉบัง 16 คงจะเป็นคำตอบคำ ถามได้เป็นอย่างดีแล้วว่า สมาคมพระคริสตธรรมไทยมีพระคัมภีร์ฉบับที่แปลบทกวีในภาษาฮีบรูเป็นบทกวีใน ภาษาไทยแล้ว นั่นคือ ฉบับประชานิยม พระคัมภีร์ฉบับนี้ได้แปลออกมาเป็นภาษาง่ายๆ น่าอ่าน เพื่อผู้ที่ไม่มีความรู้เรื่องคริสตศาสนาจะเข้าใจได้ อีกทั้งเป็นประโยชน์แก่คริสตศาสนิกชนด้วย มีอยู่หลายแห่งในพันธสัญญาเดิมได้แปลเป็นบทกวีทีไพเราะ ที่จะเป็นประโยชน์ในการนมัสการ และท่องจำได้ง่าย ได้แก่ พระธรรมเพลงสดุดี และหนังสืออื่นๆ แต่จุดประสงค์สำคัญของการแปลก็คือ ให้ผู้อ่านเข้าใจความหมายได้ การแปลคำกลอนฮีบรูมาเป็นบทกวีในภาษาไทยนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะต้องการความ ละเอียดลออที่จะคงรักษาความหมายเดิมไว้ อีกทั้งต้องการความสามารถในการเรียบเรียงถ่ายทอดเป็นบทกวีไทยที่มีความ ไพเราะซาบซึ้งและกินใจ ดังนั้นเราจึงมองเห็นงานแปล 3 ขั้นตอนคือ 1. แปลคำกลอนฮีบรูออกมาเป็นร้อยแก้วภาษา […]

ทำไมจึงใช้คำแปลว่าเปลวไฟสัณฐานเหมือนลิ้น ในกิจการ 2:3 ?

เปลวไฟ หรือ เปลวไฟสัณฐานเหมือนลิ้น ถาม ทำไมจึงใช้คำแปลว่าเปลวไฟสัณฐานเหมือนลิ้น? เมื่อคำภาษาอังกฤษนั้นหมายถึงเปลวไฟ การใส่คำว่าสัณฐานเหมือนลิ้นทำให้ความหมายประหลาดไป และทำให้คำแปลเกินคำในภาษาอังกฤษ เปลวไฟ หรือ เปลวไฟสัณฐานเหมือนลิ้น ตอบ คำถามข้างต้นน่าสนใจและเป็นประเด็นสำคัญอันหนึ่งในการแปลพระธรรมกิจการบทที่ 2 ข้อ 3 แต่ก่อนจะตอบก็อยากจะให้ข้อสังเกตบางอย่างคือ 1. พระคัมภีร์ไทยทุกฉบับจะมีคำว่า “ลิ้น” กำกับอยู่กับคำว่า “เปลวไฟ” ได้แก่ เปลวไฟสัณฐานเหมือนลิ้น(ฉบับ 1940, ฉบับ 1971 และฉบับคิงเจมส์) หรือ เปลวไฟลักษณะเหมือนลิ้น (ฉบับมาตรฐาน 2002 และฉบับของคณะกรรมการคาทอลิคเพื่อพระคัมภีร์) หรือ เปลวไฟรูปร่างเหมือนลิ้น (ฉบับประชานิยม) หรือ เปลวไฟรูปร่างคล้ายลิ้น (ฉบับอมตธรรมร่วมสมัย) 2. วลี “tongues of fire” ที่พบในพระคัมภีร์อังกฤษหลายฉบับนั้นเป็นสำนวนภาษา หมายถึง เปลวไฟ ใช่หรือไม่? อย่างไร? สำหรับข้อสังเกตแรก ทำให้เราต้องย้อนกลับไปดูที่ภาษาเดิมในที่นี้คือ ภาษากรีก แล้วเราพบว่า หากแปลตรงตัวอักษรจะได้ว่า tongues as of […]

ทำไมคำแปลพระคัมภีร์ไทยใน เศคาริยาห์ 9:15 ท่อนสอง จึงแปลต่างจากฉบับอังกฤษ

ทำไมคำแปลพระคัมภีร์ไทยใน เศคาริยาห์ 9:15 ท่อนสอง จึงแปลต่างจากฉบับอังกฤษ ถาม : ทำไม เศคาริยาห์ 9:15 ท่อนสองนั้น ภาษาไทยแปลว่า “และ เขาทั้งหลายจะล้างผลาญและเหยียบนักสลิงลง และจะดื่มโลหิตของเขาอย่างเหล้าองุ่น” แต่ภาษาอังกฤษฉบับ NIV แปลว่า “พวกเขาจะล้างผลาญและมีชัยชนะด้วยสายสลิง พวกเขาจะดื่มและคำรามดั่งคนดื่มเหล้าองุ่น” แสดงว่าภาษาไทยแปล ไม่ถูกต้องใช่หรือไม่? ตอบ : ก่อน จะตอบคำถามนี้ ขอให้ท่านอดทนรับรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องต้นฉบับและสำเนาของพระคัมภีร์เดิมก่อน ข้อมูลบางประการเกี่ยวกับต้นฉบับ คริสเตียนทั่วๆ ไปต่างรู้ว่าต้นฉบับของพระคัมภีร์เดิมนั้นเขียนเป็นภาษาฮีบรู และคริสเตียนจำนวนมากก็เข้าใจว่าพระคัมภีร์ภาษาอื่นๆ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษต่างแปลมาจากต้นฉบับภาษาฮีบรูนี้ แต่ความเข้าใจดังกล่าวยังไม่ถูกต้องทีเดียว เพราะเรื่องของต้นฉบับนั้นมีมากกว่าที่เราคิด สำเนาต้นฉบับโบราณ ต้นฉบับของหนังสือทั้ง 39 เล่ม ในพระคัมภีร์ เดิมนั้นคล้ายกับพระคัมภีร์ใหม่คือไม่มีหลงเหลืออยู่เลยแม้แต่เล่มเดียว ต้นฉบับเหล่านี้ล้วนสูญหายไปนานแล้ว แต่สิ่งที่ยังเหลืออยู่คือ สำเนาต้นฉบับที่พวกอาลักษณ์ในสมัยต่างๆ คัดลอกไว้ด้วยความยากลำบากตลอดระยะเวลาหลายพันปีที่ผ่านมา แม้แต่สำเนาเหล่านี้ก็สูญหายไปเป็นจำนวนมากเช่นเดียวกัน สำเนาต้นฉบับของพระคัมภีร์เดิมก็เหมือนพระคัมภีร์ใหม่ คือ ยิ่งเก่าแก่ยิ่งดี สำเนาเก่าแก่นั้นเราเรียกว่าสำเนาโบราณ สำเนาโบราณของต้นฉบับพระคัมภีร์ภาษาฮีบรูที่ครบถ้วนหรือเกือบครบถ้วนที่ สำคัญๆ มีเพียงสองสามฉบับ คือ ฉบับไคโร (codex Cairensis) ซึ่งมีเพียงส่วนที่เป็นหนังสือโยชูวา-พงศ์ กษัตริย์และอิสยาห์-มาลาคี ยกเว้นดาเนียล สำเนาฉบับนี้คัดลอกราวปี ค.ศ.895 อีกฉบับหนึ่งคือ ฉบับอาแล็พโพ (Alleppo codex) คัดลอกราวปี ค.ศ.930 หนังสือบาง เล่มสูญหายไป และฉบับสุดท้ายคือฉบับเลนินกราด (codex Leningradensis) คัดลอกราวปี ค.ศ.1008 เป็น ฉบับที่มีจำนวนหนังสือครบถ้วนที่เก่าแก่ที่สุด (พระคัมภีร์ เดิมฉบับฮีบรูของสหสมาคมฯ (UBS) นั้นใช้สำเนาโบราณฉบับนี้เป็น พื้นฐานในการจัดทำ) สำเนาโบราณทั้งสามฉบับมีรูปแบบการคัดลอกที่เรียกว่า เมสโสรา (Masora) ซึ่งเรียกตามชื่อของกลุ่มอาลักษณ์ที่เรียกว่า เมสโสเรท (Masoretes) พวกเขามีวิธีการเขียนอักษรฮีบรูที่แตกต่างจากการเขียน ทั่วๆไป […]

ทำไม เลวีนิติ 11:20-23 จึงบอกว่า แมลงมี 4 ขา?

ทำไม เลวีนิติ 11:20-23 จึงบอกว่า แมลงมี 4 ขา? ถาม ผมสะดุดอย่างมากๆ กับเลวีนิติ 11 ข้อ 20-23 เรื่องแมลงมีปีกซึ่งมี 4 ขา ผมอธิษฐานถามและมาถามที่นี่ครับ เพราะแมลงมี 6 ขา และทำให้อยากรู้ว่าภาษาเดิมก็ระบุว่ามี 4 ขา หรือแปลผิดคลาดเคลื่อน  คนที่ไม่เชื่อพระเจ้ายิ่งบอกว่าพระคัมภีร์ไม่จริงอยู่ด้วย ทำให้ผมร้อนใจและร้อนรนที่จะทราบคำตอบมากไม่อยากให้คนไม่เชื่อพระเจ้าว่าเรา งมงาย พระเจ้าอวยพรครับ ตอบ ขอบคุณมากครับที่ให้ความสนใจในรายละเอียด คำถามว่า แปลผิดหรือเปล่า? ขอ ยืนยันว่าไม่ได้แปลผิดจากต้นฉบับ เพราะฉบับอื่นๆ ก็แปลเหมือนกัน ในตอนนี้ไม่ได้บอกว่าแมลงมีเพียง 4 ขา แต่บอกว่าแมลงชนิดที่ใช้ขา 4 ขาคลานกับพื้น คือเป็นการบอกว่าแมลงชนิดนี้มีลักษณะแตกต่างจากแมลงชนิดอื่นโดยดูจากลักษณะ การเคลื่อนไหวของมันบนพื้นดิน เช่นตั๊กแตนมี 6 ขา แต่มันใช้ 4  ขา คลาน ส่วนขาคู่หลังสุดจะซ่อนอยู่เพื่อเอาไว้กระโดด แมลงมีหลายชนิด วงจรชีวิตของมันก็ไม่เหมือนกัน เช่น ผีเสื้อมีตัวหนอนและดักแด้ แล้วค่อยเป็นผีเสื้อ […]

ช่องพระแกลตาข่ายหมายถึงอะไรกันแน่?

ช่องพระแกลตาข่ายหมายถึงอะไรกันแน่? คำถาม เมื่ออ่านพระคัมภีร์ไทย แล้วพบคำราชาศัพท์คือ “ช่องพระแกล” ใน พระธรรม 1 พงศาวดาร บทที่ 15 ข้อที่  29 (ความว่า  และเมื่อหีบพันธสัญญาของพระเจ้ามาถึงนคร ของดาวิดแล้ว มีคาลราชธิดาของซาอูลแลดูตามช่องพระแกล เห็นกษัตริย์ดาวิดทรงเต้นรำและทรงร่าเริงอยู่  พระนางก็มีใจดู หมิ่นพระองค์) และ “ช่องพระแกลตาข่าย” ในพระธรรม 2 พงศ์กษัตริย์ บทที่ 1ข้อที่  2  (ความว่า  ฝ่ายอา หัสยาห์ทรงตกลงมาจากช่องพระแกลตาข่ายที่ห้องชั้นบนของพระองค์ในกรุงสะมาเรีย และทรงประชวร …) แล้วไม่เข้าใจว่าหมายถึงอะไร?  จนได้ไปอ่านพระคัมภีร์อังกฤษจึงเข้าใจว่า “ช่องพระแกล” ก็คือ ช่องหน้าต่าง (window) และ “ช่องพระแกล ตาข่าย” คือ ช่องหน้าต่างที่มีไม้ระแนงขัดกันเป็นตารางกั้นไว้ (lattice) ดังนั้นจึงทำให้เกิดคำถามว่า ทำไมสมาคมพระคริสตธรรมไทยไม่แปลพระคัมภีร์ออกมาเป็นภาษาง่ายๆ โดยไม่ต้องใช้คำราชาศัพท์?  และอีกคำถามหนึ่งก็คือ ในพระธรรม 2 พงศ์กษัตริย์ บทที่ 1ข้อที่  2  กษัตริย์อาหัสยาห์ทรงตกลงมาจากหน้าต่างห้องชั้นบนได้อย่างไร?  เพราะมีแผงเป็นตารางกั้นอยู่ จึงไม่น่าจะตกลงมาได้ […]

การใช้สรรพนามที่ถูกต้องและเหมาะสมมีความสำคัญในการแปลพระคัมภีร์อย่างไร?

การใช้สรรพนามที่ถูกต้องและเหมาะสมมีความสำคัญใน การแปลพระคัมภีร์อย่างไร ถาม : การใช้ สรรพนามที่ถูกต้องและเหมาะสมมีความสำคัญในการแปลพระคัมภีร์อย่างไร ตอบ : เรื่อง นี้เป็นเรื่องที่ฝ่ายแปลเอาใจใส่และใช้เวลาในการพิจารณาเพื่อหาสรรพนามที่ ถูกต้องเหมาะสมตาม เหตุการณ์  เวลา สถานที่ และสถานะของบุคคล ตัวอย่างเช่นเมื่ออับราฮัมพาซาราห์ไปยังดินแดนเนเกบ และไปอยู่เมืองเก-ราห์ในฐานะผู้อาศัย ท่านเกรงว่าจะถูกคนในเมืองทำร้าย จึงได้ให้ซาราห์บอกคนอื่นว่านางเป็นเพียงน้องสาว ไม่ให้บอกว่าเป็นภรรยาของท่าน กษัตริย์อาบีเมเลคซึ่งเป็นพระราชาของเมืองเก-ราห์เข้าใจว่านางซาราห์เป็น น้องสาวของอับราฮัมจึงไปรับนางซาราห์มา แต่ในคืนนั้น พระเจ้าทรงเตือนกษัตริย์อาบีเมเลคทางพระสุบินและทั้งทรงเปิดเผยให้รู้ว่าอับ ราฮัมเป็นผู้เผยพระวจนะ เมื่อกษัตริย์ตื่นบรรทมแต่เช้ามืด ทรงตรัสเรียกอับราฮัมมาเข้าเฝ้าและต่อว่าท่าน ในบริบทนี้ผู้แปลประสบปัญหาว่าจะใช้สรรพนามอะไรระหว่างกษัติริย์กับอับราฮัม โดยทั่วไปกษัตริย์อาบีเมเลคย่อมมีตำแหน่งสูงกว่าอับราฮัมซึ่งเป็นคนธรรมดา สามัญ พระคัมภีร์ฉบับ 1971 และฉบับแก้ไขคำแปลจึงได้กำหนดให้ กษัตริย์อาบีเมเลคเรียกอับราฮัมว่า “เจ้า” และ เรียกตัวพระองค์เองว่า “เรา” ส่วนอับราฮัมเรียก กษัตริย์อาบีเมเลคว่า “ฝ่าพระบาท” และแทนตัวเอง ว่า “ข้าพระบาท” ดังที่ปรากฏในปฐมกาล 20:1-18 แต่เมื่อมาถึงบทที่ 21:22-331971 มีการใช้สรรพนามที่ ไม่เสมอต้นเสมอปลาย คือบางครั้งกษัตริย์อาบีเมเลคจะใช้คำว่า “เจ้า” กับอับราฮัม บางครั้งก็ใช้คำว่า “ท่าน” เช่นใน ข้อ 22 ใช้คำว่า […]

การแปลพระคัมภีร์และการอธิบายพระคัมภีร์ต้องยึดหลักจากภาษาเดิมหรือไม่? อย่างไร?

การแปลพระคัมภีร์และการอธิบายพระคัมภีร์ต้องยึดหลักจากภาษาเดิมหรือไม่? อย่างไร? คำถาม : การแปลพระคัมภีร์และการอธิบายพระคัมภีร์ต้องยึดหลักจากภาษาเดิมด้วยหรือไม่ อย่างไร? คำตอบ : สำหรับ คำถามช่วงแรกนั้น ตอบได้เลยว่าต้องยึดหลักจากภาษาเดิมแน่นอน เพราะว่าพระคัมภีร์เขียนโดยใช้ภาษาฮีบรูและภาษากรีก ผู้เขียนต้องการสื่อความจริงโดยสองภาษานี้ที่พวกเขาคุ้นเคย ภาษาทั้งสองมีความแตกต่างกับภาษาไทยอย่างแน่นอน คนที่ใช้ภาษาทั้งสองก็มีวัฒนธรรมและสภาพเบื้องหลังที่ต่างจากคนไทย คำหรือข้อความที่เขาเขียนนั้นอาจมีความหมายต่างจากคำไทย แม้จะเป็นคำที่เหมือนกัน เช่น เมื่อเปาโลกล่าวว่าให้ทาสเชื่อฟังนาย (อฟ.6:5) ทาสในสังคมโรมันและโดยเฉพาะสังคมยิวในสมัยนั้นแตกต่างจากทาสในสังคม ไทยสมัยก่อนมาก ทาสของพวกเขาเป็นชนชั้นในสังคมที่ไม่มีสิทธิในการเป็นเจ้าของตัวเอง แต่ไม่ใช่ชนชั้นต่ำที่ทำงานต่ำต้อยและถูกดูหมิ่นเสมอไปดังเช่นในสังคมไทย ทาสในสังคมโรมันหรือยิวมีบทบาทหลากลายในบ้านนายหรือในสังคม ทาสบางคนมีอำนาจหน้าที่เป็นผู้ดูแลหรือจัดการบ้านแทนนายของตนเอง ทาสของทางราชการบางคนเป็นหมอ บางคนทำหน้าที่แทนข้าราชการเมื่อจำเป็น บางคนทำหน้าที่เหมือนตำรวจของทางการ ทาสจำนวนไม่น้อยจึงเป็นคนที่สังคมให้ความเคารพนับถือ นอกจากนี้พวกเขามีอิสระพอควรที่จะนับถือศาสนาหรือร่วมกิจกรรมทางศาสนาโดย เฉพาะในสังคมยิว บางครั้งคำในภาษาเดิมบางคำไม่สามารถหาคำแปลที่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้ กัน จึงมีการหาคำที่มีส่วนคล้ายกันบ้างมาแปล เช่น ในสดุดี 2:2 “…ต่อสู้ พระเจ้าและผู้รับการเจิมของพระองค์” “ผู้รับการเจิม” แปล จากคำว่า “เมสสิยาห์” ในภาษาเดิมซึ่งในที่นี้ หมายถึงกษัตริย์ที่พระเจ้าทรงแต่งตั้ง คำว่า “เมสสิยา” ใน ภาษาเดิมหมายถึงผู้ที่ได้รับการเทน้ำมันลงบนศีรษะเพื่อแต่งตั้งให้เป็น ปุโรหิต หรือกษัตริย์ หรือผู้เผยพระวจนะ (1 ซมอ.16:13) พิธีนี้ไม่มีในสังคมไทย จึงมีการหาคำที่มีส่วนคล้ายกันบ้างคือ “การเจิม” […]

ทำไมมัทธิวบทที่ 17 จึงไม่มีข้อ21?

ทำไมมัทธิวบทที่ 17 จึงไม่มีข้อ21? ถาม : ทำไมพระธรรมมัทธิวบทที่ 17 ของ สมาคมฯ จึงมีข้อ 20 และข้อ 22 แต่ไม่มีข้อ 21 (ในส่วนที่เป็นเนื้อหาของพระคัมภีร์นั้น) หมายความว่าอย่างไร? ตอบ : โดยปกติ เมื่อเราอ่านพระคัมภีร์ เรามักจะได้รับคำแนะนำว่าไม่ต้องสนใจเลขบทและเลขข้อ เพราะจะทำให้อ่านติดขัดและยากที่จะเข้าใจเนื้อหา เมื่ออ่านพระคัมภีร์ ให้สนใจกระแสความคิดของพระคัมภีร์ว่าเคลื่อนที่ไปอย่างไรบ้าง ซึี่งคำแนะนำนั้นก็ถูกต้องและเป็นประโยชน์จริงๆในการศึกษาพระคัมภีร์  นอก จากนี้ต้นฉบับพระคัมภีร์ในภาษาเดิมทั้งภาษาฮีบรูและภาษากรีก ก็ไม่มีการแบ่งเป็นบทและเป็นข้อ การแบ่งดังกล่าวเกิดขึ้นในสมัยหลัง (ราวศตวรรษที่ 13 – 16) เพื่อให้สะดวกในการอ้างอิงเท่านั้น แต่คำอธิบายข้างต้น ไม่ได้มีจุดประสงค์ที่จะเบี่ยงเบนประเด็นความสนใจของผู้อ่านไปจากคำถาม ทั้งนี้เพราะคำถามก็สำคัญ และหากไม่ได้รับคำตอบ ก็อาจนำผู้อ่านไปสู่การสรุปความหลายอย่างที่ไม่เป็นจริงก็ได้ อาทิเช่น สมาคมฯ ทำข้อ 21 ตกหล่นด้วยความไม่รอบคอบ ดังนั้นพระคัมภีรืของสมาคมนจึงไม่น่าเชื่อถือแต่อย่างใด  หรือ อาจสรุปว่า สมาคมฯไม่มีความเชื่อตามข้อ 21 ฉะนั้นจึงตัดข้อนี้ ออกตามอำเภอใจ เป็นต้น ดังนั้น เพื่อจะตอบคำถามนี้ ก็ขอให้ผู้อ่านเปิดพระคัมภีร์พิจารณาตามไปด้วย  เราพบความจริงว่า ไม่มีข้อ 21 อยู่ในส่วนที่เป็นเนื้อหาของพระคัมภีร์  แต่ที่ปลายข้อ 20 มี สัญลักษณ์เป็นตัวเลขให้ไปดูที่เชิงอรรถ (footnote) และเมื่อ เราตามไปดู เราก็พบข้อความต่อไปนี้ […]

1 7 8 9 10