​สุหนัต ​Circumcision

​สุหนัต ​Circumcision ​“​สุหนัต​” ​คือ​พิธี​ตัด​หนัง​หุ้ม​ปลา​ยองค​ชา​ตของ​ผู้ชาย ​เป็น​ธรรม​เนียม​ที่​คน​ใน​แถบ​ตะวันออก​ใกล้​ยุค​โบราณ​ปฏิบัติ​กัน​ทั่วไป ​เรา​ไม่​ทราบ​เหตุผล​ที่​แน่​ชัด​ของ​การ​ทำ​สุหนัต​ดังกล่าว ​ใน​พันธ​สัญญา​เดิม​ได้​เอ่ย​ถึง​การ​เข้า​สุหนัต​เป็น​ครั้ง​แรก​ใน​คราว​ที่​พระ​เจ้า​ประทาน​พระ​สัญญา​แก่​อับ​ราฮัม​ว่า ​จะ​ให้​เขา​มี​ลูกหลาน​มากมาย ​จะ​ได้​เป็น​ชน​ชาติ​ใหญ่ ​ได้​แผ่นดิน ​และ​จะ​เป็น​พร​ไปสู่​บรรดา​ประชาชาติ ​พระ​เจ้า​ทรง​สั่ง​อับ​ราฮัม​ให้​ตัว​เขา​และ​ชาย​ทุก​คน​ใน​ครัวเรือน​ของ​เขา​ต้อง​เข้า​สุหนัต ​เพื่อ​เป็น​เครื่องหมาย​ทาง​กาย ​ที่​ติด​ตัว​พวก​เขา​ไป​ตลอด​ชีวิต ​ว่า​พวก​เขา​เป็น​ชน​ชาติ​ที่​พระ​เจ้า​ทรง​เลือก (ปฐก.​17:9-14; ​34:21-23; ​ลนต.​12:3) ​ดังนั้น​อับ​ราฮัม​และ​ลูกหลาน​ของ​เขา​จึง​เชื่อ​ฟัง​พระ​เจ้า ​โดย​ให้​ชาย​ทุก​คน​ที่​อยู่​ใน​ครัวเรือน​เข้า​พิธี​สุหนัต (ปฐก.​17:1-14) ​แม้แต่​คน​ต่างชาติ​ที่​ต้องการ​เข้า​มา​เป็น​ส่วน​หนึ่ง​ของ​คน​อิสราเอล ​พวก​เขา​ก็​ต้อง​เข้า​สุหนัต​เช่นกัน (ปฐก.​34:21-24) ​สุหนัต​ได้​กลายเป็น​ส่วน​หนึ่ง​ใน​บัญญัติ​ของ​โมเสส (ลนต.​12:3) ​ใน​พันธ​สัญญา​ใหม่​มี​บันทึก​ว่า ​ทั้ง​ยอห์น​ผู้ให้​บัพ​ติศ​มา​และ​พระ​เยซู​ต่าง​ก็​ได้​เข้า​สุหนัต​ใน​วันที่​แปด​หลัง​กำเนิด (ลก.​1:59; ​2:21) ​ประชาชน​ชาว​ยูดาห์​ยังคง​ให้​บุตรชาย​ของ​พวก​เขา​เข้า​พิธี​สุหนัต ​เป็น​เครื่องหมาย​ภายนอก​แสดง​ถึง​การ​อุทิศ​ชีวิต​แด่​พระ​เจ้า ​แต่​พวก​เขา​กลับ​ไม่ได้​ถวาย​จิต​วิญญาณ ​หรือ​ชีวิต​ภายใน​ของ​ตน​แด่​พระ​เจ้า ​ผู้​เผย​พระ​วจนะ​เยเรมีย์​จึง​ประกาศ​เตือน​ประชาชน​ว่า ​การ​เข้า​สุหนัต​แต่​ภายนอก​นั้น ​ไม่ใช่​เครื่องหมาย​ที่​แท้จริง​ของ​การ​เป็น​ประชากร​ของ​พระ​เจ้า ​เพราะ​คน​ต่างชาติ​อื่นๆ ​ก็​เข้า​สุหนัต​เช่นกัน ​สิ่ง​ที่​สำคัญ​กว่า​นั้น​คือ​การ​นมัสการ​พระ​เจ้า ​เยเรมีย์​ได้​กล่าว​ถ้อยคำ​อัน​รุนแรง​กับ​ประชาชน​ยูดาห์​ว่า ​“​พงศ์พันธุ์​ทั้งสิ้น​ของ​อิสราเอล​ก็​ไม่ได้ ​เข้า​สุหนัต ​“​ทาง​ใจ​” (ยรม.​9:26) ​ต่อมา ​เยเรมีย์​ได้​อธิบาย​ถึง​พันธ​สัญญา​ใหม่ ​ซึ่ง​จะ​เป็น​พันธ​สัญญา​สุดท้าย​และ​เป็น​พันธ​สัญญา​ถาวร​ที่​พระ​เจ้า​จะ​ทรง​ทำ​ขึ้น​ใหม่ ​ซึ่ง​จะ​จารึก​ไว้​บน​แผ่น​ดวงใจ​มนุษย์ (ยรม.​31:31-34) ​ผู้เขียน​พระ​ธรรม​ฮีบรู​ใน​พันธ​สัญญา​ใหม่ ​ได้​ยก​คำ​กล่าว​ของ​เยเรมีย์​เพื่อ​สนับสนุน​ความคิด​ของ​ท่าน​ว่า ​พันธ​สัญญา​แรก​ที่​พระ​เจ้า​ทรง​ทำ​นั้น​ตั้งอยู่​บน​พื้นฐาน​ของ​ธรรม​บัญญัติ ​ซึ่ง​ได้​ถูก​แทนที่​ด้วย ​“​พันธ​สัญญา​ใหม่​” […]

เบลชัสซาร์

เบลชัสซาร์ ตามข้อมูลทางประวัติศาสตร์ในรายชื่อของกษัตริย์บาบิโลนนั้นเราไม่พบว่ามีชื่อเบลชัสซาร์อยู่ด้วย กษัตริย์องค์สุดท้ายของบาบิโลนเป็นชาวเคลเดียชื่อว่า เนโบนิดัส ผู้ขึ้นปกครองบาบิโลนในปี 556 ก่อน ค.ศ. หลังจากที่เนบูคัดเนสซาร์สิ้นพระชนม์ไปแล้วหลายปี นอกจากนี้ยังมีบันทึกว่า กษัตริย์บาบิโลนที่พ่ายแพ้แก่เปอร์เซียคือเนโบนิดัส อย่างไรก็ดี เป็นไปได้ว่าเบลชัสซาร์ผู้นี้คือโอรสของเนโบนิดัส และเนโบนิดัสได้มอบหมายให้เบลชัสซาร์ว่าราชการดูแลกรุงบาบิโลนช่วงที่เนโบนิดัสไม่ได้อยู่ที่กรุงนั้นนานถึง 10 ปีจนกระทั่งปี 539 ก่อน ค.ศ. ดังนั้นเบลชัสซาร์แม้ไม่ได้เป็นกษัตริย์ แต่ก็ได้ทำหน้าที่กษัตริย์ตามที่เนโบนิดัสมอบหมาย มีหลักฐานทางโบราณคดีของดินแดนตะวันออกใกล้สมัยโบราณบ่งว่าอาจมีการเรียกผู้สำเร็จราชการว่ากษัตริย์ ปัญหาอีกอย่างหนึ่งเกี่ยวกับเบลชัสซาร์คือ เราไม่มีหลักฐานว่าเบลชัสซาร์สืบเชื้อสายมาจากเนบูคัดเนสซาร์ การที่เบลชัสซาร์เรียกเนบูคัดเนสซาร์ว่า “พระราชบิดา” จึงไม่สอดคล้องกับข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ด้วยเหตุนี้จึงมีนักวิชาการพระคัมภีร์บางคนเสนอว่า เบลชัสซาร์อาจสืบเชื้อสายจากเนบูคัดเนสซาร์ทางพระมารดา หรือมิฉะนั้นเบลชัสซาร์ก็เรียก “พระราชบิดา” ในความหมายว่าเป็นกษัตริย์ที่ปกครองมาก่อน ข้อมูลจาก พระคริสตธรรมคัมภีร์ฉบับศึกษาดาเนียล ภาพ www.christianindex.org

บทบาทและลักษณะของทูตสวรรค์ในพระธรรมดาเนียล

บทบาทและลักษณะของทูตสวรรค์ในพระธรรมดาเนียล โดยทั่วไปในพระคัมภีร์เดิมเราจะไม่พบชื่อของทูตสวรรค์ แต่ในพระธรรมดาเนียลมีชื่อของทูตสวรรค์ปรากฏอยู่ คือ “กาเบรียล” (8:16) กับ “มีคาเอล” (10:13) และโดยทั่วไปทูตสวรรค์ในพระคัมภีร์เดิมมักจะเป็นผู้มาแจ้งข่าว หรือเป็นตัวแทนของพระเจ้ามาพบกับประชากรของพระองค์ ดู “ทูตสวรรค์” ในประมวลศัพท์ แต่ในพระธรรมดาเนียล ทูตสวรรค์ยังมีบทบาทอีกหลายอย่างคือ ช่วยกู้ให้พ้นภัย ได้แก่ คนที่ดูเหมือนองค์เทพบุตรผู้อยู่ในเตาไฟพร้อมกับเพื่อนทั้งสามของดาเนียล (3:24‑25) และทูตสวรรค์ผู้ปิดปากสิงโต (6:20‑22) ประกาศคำพิพากษา ได้แก่ทูตสวรรค์ที่ปรากฏในความฝันของกษัตริย์เนบูคัดเนสซาร์ (4:13‑17) และนิ้วมือที่เขียนบนผนังพระราชวังในสมัยของกษัตริย์เบลชัสซาร์ (5:5‑6,24‑25) อธิบายนิมิตหรือความฝัน ได้แก่ ท่านผู้ปรากฏในนิมิตของดาเนียลเรื่องสัตว์มหึมาทั้งสี่ (7:16,23) ผู้บริสุทธิ์ที่ปรากฏในนิมิตเรื่องแกะผู้และแพะผู้ (8:13‑14) ทูตสวรรค์กาเบรียล (8:16) และชายสวมเสื้อผ้าป่าน มีทองเมืองอุฟาสคาดเอว (10:5‑6) ช่วยเสริมกำลัง ได้แก่ท่านผู้หนึ่งที่ดูเหมือนมนุษย์ (10:15‑16) เป็นเจ้าผู้ครอบครองและผู้คุ้มกันชนชาติอิสราเอล ได้แก่ทูตสวรรค์มีคาเอล (10:13,21; 12:1) ดังนั้น จากข้อมูลในพระธรรมดาเนียลพอสรุปได้ว่า ทูตสวรรค์มักปรากฏด้วยรูปลักษณ์คล้ายคลึงกับมนุษย์ และมักไม่มีชื่อ แต่มีอยู่สององค์ที่มีชื่อคือ กาเบรียลและมีคาเอล โดยทูตสวรรค์ในพระธรรมดาเนียลมีหน้าที่หลักคืออธิบายนิมิตให้คนของพระเจ้าเข้าใจ ปกป้องคุ้มครองช่วยกู้คนของพระเจ้าให้พ้นภัย ตักเตือน ลงโทษคนที่ไม่ถ่อมใจ […]

ความสัมพันธ์ระหว่างพระธรรมดาเนียลกับพระธรรมวิวรณ์

ความสัมพันธ์ระหว่างพระธรรมดาเนียลกับพระธรรมวิวรณ์ พระธรรมทั้งสองเล่มเป็นวรรณกรรมแบบวิวรณ์ธรรม มีหนังสือนอกพระคัมภีร์อีกหลายเล่มที่มีลักษณะเป็นวิวรณ์ธรรม ทั้งหนังสือของชาวยิวและของคริสเตียน อย่างไรก็ดี วิวรณ์ธรรมของชาวยิวนั้นเขียนขึ้นในช่วงท้ายของศตวรรษที่ 3 ก่อน ค.ศ.จนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 2 ส่วนวิวรณ์ธรรมของคริสเตียนเริ่มตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 1 จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 4 องค์ประกอบสำคัญของวิวรณ์ธรรมได้แก่ นามแฝง เราพบว่าหนังสือในกลุ่มนี้จะเขียนโดยผู้เขียนที่ใช้นามแฝงหรือชื่อปลอม เช่น หนังสือ 1 เอโนค ซึ่งเขียนขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 2 ก่อน ค.ศ. ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 1 นั้น โดยผู้เขียนหลายคนที่ไม่มีใครรู้จัก แต่อ้างว่าเขียนโดยเอโนคที่เป็นเชื้อสายของอาดัม (ปฐก.5:21-24) นอกจากนี้ยังมีหนังสือวิวรณ์ธรรมของคนยิวอีกหลายเล่มที่อ้างว่าเขียนโดยบุคคลต่างๆ เช่น อาดัมและเอวา โมเสส อิสยาห์ บารุค ซาโลมอน และเอสรา ทั้งที่ความจริงหนังสือเหล่านี้เขียนขึ้นหลังพระธรรมทุกเล่มในพระคัมภีร์เดิม ผู้เขียนเหล่านี้อาจคิดว่าการใช้นามแฝงเป็นชื่อบุคคลที่มีชื่อเสียงในพระคัมภีร์เดิมจะช่วยให้ผู้อ่านยอมรับงานของพวกเขา ส่วนหนังสือวิวรณ์ธรรมของคริสเตียนก็มักจะอ้างว่าเขียนโดยเปโตร เปาโล หรือโธมัสในกรณีของพระธรรมดาเนียลก็เช่นกัน อาจจะเขียนโดยบุคคลอื่นแล้วอ้างชื่อดาเนียล เพราะดาเนียลเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงในสมัยโบราณ และในกรณีของพระธรรมวิวรณ์ก็อาจจะเขียนโดยอัครสาวกยอห์นหรือบุคคลอื่นก็เป็นได้ นิมิต ผู้เขียนมักบอกว่าได้รับการสำแดงจากพระเจ้าเป็นนิมิต นิมิตนี้จะมีรายละเอียดมากมายและมักตามมาด้วยการตีความหมายของนิมิต ส่วนที่สองของพระธรรมดาเนียล (7-12) เต็มไปด้วยนิมิต และส่วนใหญ่ของพระธรรมวิวรณ์ก็เต็มไปด้วยนิมิต ถึงแม้ผู้เผยพระวจนะในสมัยพระคัมภีร์เดิมจะเห็นนิมิตเป็นครั้งคราว […]

วาระสุดท้าย Eschatology 10-20

วาระสุดท้าย Eschatology คำว่า “วาระสุดท้าย“ในความหมายของคริสต์ศาสนานี้มีรากศัพท์มาจากคำภาษากรีกสองคำคือ เอสคาทอส ซึ่งแปลว่า “สุดท้าย” กับ โลกอส ซึ่งแปลว่า “ถ้อยคำ” หรือ “สิ่งที่สำคัญ” คำว่า “วาระสุดท้าย” จึงเป็นหลักคำสอนเกี่ยวกับวาระสุดท้าย หรือ ยุคสุดท้ายของโลก ในพระคัมภีร์เดิม หมายถึงยุคของพระเมสสิยาห์ (อสย.2:2; มคา.4:1) แต่สำหรับผู้เขียนพระคัมภีร์ใหม่ พวกเขาเข้าใจว่าตนอาศัยอยู่ในวาระสุดท้ายแล้ว เช่นในวันเพ็นเทคอสต์เปโตรได้อธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่า “แต่เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นตามคำที่โยเอลผู้เผยพระวจนะกล่าวไว้ว่า ‘พระเจ้าตรัสว่า ในวาระสุดท้าย เราจะเทพระวิญญาณของเราบนมนุษย์ทั้งหมด…’”(กจ.2:16-17) เหตุการณ์วันนั้นจึงเป็นการสำเร็จตามคำเผยพระวจนะในพระธรรมโยเอล 2:28 ยังมีผู้เขียนพระธรรมฮีบรูที่ได้ประกาศว่า “นานมาแล้วพระเจ้าตรัสกับบรรพบุรุษของเราหลายครั้ง และหลายวิธีผ่านทางพวกผู้เผยพระวจนะ แต่ในวาระสุดท้ายนี้ พระองค์ตรัสกับเราทางพระบุตร” (ฮบ.1:1-2) จากพระคัมภีร์ใหม่หลายตอน เราจะเห็นว่า วาระสุดท้ายได้เริ่มต้นขึ้นแล้วเมื่อพระเยซูคริสต์เสด็จมาในโลกและกระทำพระราชกิจของพระองค์ แต่ก็ยังไม่ถึงจุดสุดท้ายจริงๆ เพราะพระเยซูได้ตรัสสอนว่า “ข่าวประเสริฐเรื่องแผ่นดินของพระเจ้านี้จะถูกประกาศไปทั่วโลก ให้เป็นคำพยานแก่บรรดาประชาชาติ แล้วที่สุดปลายจะมาถึง” (มธ.24:14) คำตรัสของพระเยซูบอกเราว่าวาระสุดท้ายจะเกิดขึ้นในอนาคต สำหรับสมัยของพระองค์และสมัยของเราด้วย นอกจากนี้เปาโลเองก็กล่าวถึงวาระสุดท้ายว่าเป็นเรื่องของอนาคต “แล้วก็จะเป็นเวลาอวสานซึ่งพระคริสต์จะทรงมอบอาณาจักรแห่งพระเจ้าพระบิดา และจะทรงทำลายภูตผีที่ครอบครองทั้งหมด ภูติผีที่มีสิทธิอำนาจและที่มีฤทธานุภาพ เพราะว่าพระคริสต์ทรงต้องครอบครองจนกว่าพระเจ้าจะทรงปราบศัตรูทั้งหมดให้อยู่ใต้พระบาทของพระคริสต์” (1 คร.15:24-25) […]