สมาคมพระคริสตธรรมไทย
ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19
เป็นช่วงที่ประเทศไทยกำลังอยู่ในระหว่างการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาในทุกด้านพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกาศเลิกทาส ทรงเปลี่ยนระบบราชการโดยนำเอาระบบตุลาการเยี่ยงตะวันตกมาใช้ มีการปรับปรุงการเก็บภาษีแผ่นดิน มีการค้าขายติดต่อกับต่างประเทศ จัดตั้งกรมไปรษณีย์โทรเลข กรมรถไฟและปรับปรุงระบบสาธารณูปโภคต่างๆให้ดีขึ้น ซึ่งในขณะ นั้นประเทศเพื่อนบ้านในแถบเอเชียกำลังเผชิญกับการขาดแคลนและโรคภัยไข้เจ็บ ต่างๆ แต่ชาวไทยส่วนใหญ่มีความเป็นอยู่อย่างสมบูรณ์ ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ คนไทยเป็นคนที่รักสันติ ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธและอิสลาม (ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามนั้นส่วนมากอยู่ทางภาคใต้ของประเทศไทย)
ค.ศ. 1838 งานประกาศพระกิตติคุณของโปรแตสแตนท์ได้เข้ามาสู่ประเทศไทย โดยได้รับอนุญาตจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวให้ประกาศพระกิตติคุณทางภาคเหนือของประเทศไทยและลาว (ซึ่งในขณะนั้นเป็นดินแดนไทย) คณะมิชชั่นที่ทำงานในแถบนั้นคือ คณะเพรสไบทีเรียน
ค.ศ. 1861 คณะเพรสไบทีเรียนได้ตั้งโรงพิมพ์ขึ้นในกรุงเทพฯ โดยมีจุดประสงค์เพื่อจัดพิมพ์พระคัมภีร์ออกเผยแพร่ โรงพิมพ์แห่งนี้ได้ร่วมมือกับสมาคมพระคริสตธรรมอเมริกาในการจัดพิมพ์พระคริ สตธรรมคัมภีร์ที่แปลเป็นภาษาไทยแล้วออกจำหน่ายจ่ายแจกประชาชนในสมัยนั้น นับได้ว่า เป็นการเริ่มต้นของสมาคมพระคริสตธรรมแห่งอเมริกาในประเทศไทย
โรงพิมพ์ของสภาคริสตจักรฯ (คณะเพรสไบทีเรียน) ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อปี 1861 ดูแลและดำเนินการโดย ดร.แมคโดนัลด์ มีสมาคมพระคริสตธรรมอเมริกาสนับสนุนเงินปีละ 1,000 เหรียญเพื่อให้โรงพิมพ์ใช้จ่ายในการจัดพิมพ์และจำหน่ายจ่ายแจก โรงพิมพ์นี้ได้จัดพิมพ์พระคริสตธรรมคัมภีร์ทั้งเล่มได้พิมพ์สำเร็จเมื่อวัน ที่ 16 กันยายน 1894 และพระธรรมบทเพลงซาโลมอนเป็นพระธรรมเล่มสุดท้ายที่พิมพ์ โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน มีหมอบรัดเลย์เป็นผู้อำนวยการ ในปี 1863 เริ่ม แรกหมอบรัดเลย์ได้เขียนจดหมายถึงสมาคมพระคริสตธรรมอเมริกาเพื่อขอจำหน่าย จ่ายแจกพระคริสตธรรมคัมภีร์ในโรงพยาบาลและนำรายได้จากการจำหน่ายไปใช้ใน กิจการของโรงพยาบาล ซึ่งนอกจากสมาคมพระคริสตธรรมอเมริกาจะอนุญาตให้จำหน่ายแล้วยังสนับสนุนด้วย เงินปีละ 500 เหรียญสหรัฐอีกด้วย
ผลการจำหน่ายจ่ายแจกของ โรงพิมพ์โดย ดร.แมคโดนัลด์ พอสรุปได้ว่า
งานจำหน่ายสมัยนั้นส่วนมากจะเป็นกลุ่มมิชชั่นนารีซึ่งมีกำลังคนจำกัด
เนื่องจากคนไทยเคยได้รับการแจกหนังสือฟรีมาตลอดเวลา เมื่อต้องเสียเงินซื้อก็ไม่ค่อยซื้อกัน ดังนั้นทำให้ยอดการจำหน่ายลดลง
กำลังการผลิตในสมัยนั้นยังมีขีดความสามารถน้อยมาก ไม่พอแก่ความต้องการของคนไทยที่มีมากขึ้น
ค.ศ.1939 มีการเปลี่ยนชื่อจากประเทศสยามมาเป็นประเทศไทย และชื่อสมาคมพระคริสตธรรมก็เปลี่ยนเป็นสมาคมพระคริสตธรรม อเมริกาในไทย
ค.ศ.1958 สมาคมพระคริสตธรรมอเมริกาในประเทศไทย เป็น “หอพระคริสตธรรมไทย” หรือ Thailand Bible House เพื่อ ให้มีความเป็นไทยมากขึ้น
ค.ศ.1978 หอพระคริสตธรรมไทย ได้จดทะเบียนเป็นสมาคมกับกองกำกับการ 3 (กองตำรวจสันติบาล กรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย) เปลี่ยนชื่อเป็น “สมาคมพระคริสตธรรมไทย” จนถึง ปัจจุบัน
ประวัติสำนักงานที่ตั้งของสมาคมฯ
ค.ศ.1938 เป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลขึ้นครองราชย์ และรัฐบาลได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 1938 ศจ.แฟรงกลินได้หาซื้อตึกที่ทำการของสมาคมฯ และท่านได้ตกลงซื้อบ้านเลขที่ 703 ถนนสาธรเหนือ ต.สีลม อ.บางรัก ซึ่งอยู่ใกล้กับโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย เป็นที่ทำการของสมาคมฯ ประกอบด้วยตัวตึก 2 ชั้น ตัวอาคารทันสมัยแบบยุโรปตามความนิยมของต่างชาติในสมัยนั้น (ต่อมามีการเปลี่ยนบ้านเลขที่เป็น 150)
ค.ศ.1981 เลขาธิการสมาคมฯ ในยุคนั้นคือ ศจ.ทรงเดช กุสาวดี ได้ให้วิศวกรมาสำรวจความเสียหายของอาคารเพื่อทำการซ่อมแซมเนื่องจาก ตัวอาคารมีการใช้งานมายาวนานและเริ่มทรุดโทรม เมื่อวิศวกรรายงานว่าอาคารอยู่ในสภาพที่ไม่สามารถซ่อมแซมได้แล้ว ประกอบกับขณะนั้นมีการก่อสร้างสะพานตากสิน ซึ่งปลายสะพานมีความยาวเกือบถึงหน้าสมาคมฯ เมื่อก่อสร้างสะพานเสร็จก็จะมียานพาหนะมาใช้สะพานดังกล่าวมากจะส่งผลให้ตัว อาคารทรุดและพังเร็วยิ่งขึ้น กรรมการอำนวยการเห็นควรให้ย้าย สำนักงานและหาซื้ออาคารที่เหมาะสมเป็นสำนักงาน เมื่อขายที่ดินและอาคารสำนักงานเก่าได้แล้วจึงได้นำเงินมาซื้อห้องแถว 4 คูหาริมถนนวิภาวดีทำเป็นสำนักงานและอาคารด้านในอีก 3 คูหาเป็นสต๊อกเก็บสินค้าในเวลาต่อมา
อาคารใหม่ของสมาคมพระคริสตธรรมไทยตั้งอยู่ที่เลขที่ 319/52 – 55 ถ.วิภาวดีรังสิต พญาไท กทม. ได้มีการทำพิธีเปิดอาคารสมาคมฯในวันที่ 27 กันยายน ค.ศ.1981 โดยมี ดร.ธนู แสวงศักดิ์ อธิบดีกรมศาสนา เป็นประธาน และได้ใช้สำนักงานนี้มาถึงปัจจุบัน
ลำดับเลขาธิการสมาคมพระคริสตธรรมไทยตั้งแต่ยุคแรก–ปัจจุบัน
ค.ศ.1886–1889 ดร.ลูเธอร์ เอส กูลลิค
ซึ่งเป็นเลขาธิการสมาคมฯประเทศจีนในขณะนั้นเข้ามารับงานของสมาคมฯในประเทศ ไทยอีกแห่ง ช่วงนั้นมีการสั่งงด(ในอนุสรณ์ 100 ปีไม่ได้ระบุไว้ว่าใครสั่งงด)ไม่ให้แจกพระคริสตธรรมคัมภีร์ด้วยการให้เปล่า แต่ผู้รับจะเสียเงินซื้อในราคาที่ต่ำกว่าทุนมาก แม้ว่าตอนนั้นจะมีปัญหาเกี่ยวกับอาสาสมัครจำหน่ายซึ่งมีจำนวนลดลงแต่ยอดการ จำหน่ายกลับสูงขึ้นถึง 4 เท่า ที่เป็นเช่นนั้นเนื่องจากพระธรรมสุภาษิตเป็นคำกลอนและพระคริสตธรรมคัมภีร์ คัดตอนเล่มอื่นก็พิมพ์ด้วยตัวหนังสือที่ใหญ่ทำให้เป็นที่ชื่นชอบของผู้อ่าน โดยทั่วไป
ค.ศ.1889-1907 ศจ.จอห์น คาร์ริงตัน
เป็นเลขาธิการคนแรกฯประจำประเทศไทยอย่างเป็นทางการ
- ศจ. จอห์น คาร์ริงตันเคยเป็นมิชชั่นนารีของสภาคริสตจักรในประเทศไทยมาก่อน ท่านได้ลาออกจากการเป็นศิษยาภิบาลที่ซานฟรานซิสโกมารับตำแหน่งเลขาธิการ สมาคมฯ เต็มเวลา ในช่วงปลายปีแรกการจำหน่ายเพิ่มขึ้นถึงสาม เท่าตัว ตัวเลขเพิ่มขึ้นกว่า 7,000 เล่มและจำนวนการสั่งพิมพ์เพิ่มขึ้นกว่า 4 เท่าตัวภายใน 10 ปี ซึ่งหมายความถึงค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานก็เพิ่มมากขึ้นจากเดิม 1,178 ดอลล่าร์ เป็น 4,144 ดอลล่าร์ต่อปี
- จากประสบการณ์การทำงานรับใช้พระเจ้าของ ศจ.คาร์ริงตัน ท่านได้ถ่ายทอดสิ่งที่น่าสนใจเป็นคำพูดของท่าน ดังนี้ “เรา ได้ประกาศพระกิตติคุณเข้าไปในหลายจังหวัด ได้ประกาศเข้าไปในหมู่บ้านต่างๆ หนังสือพระคริสตธรรมคัมภีร์จำนวนมากได้ขายไป คนหลายร้อยคนได้พบกับพระเจ้า ซึ่งคนเหล่านั้นไม่มีโอกาสได้ยินข่าวประเสริฐจากมิชชั่นนารีหรือผู้รับใช้ พระเจ้าคนอื่นๆเลย ที่กรุงเทพฯ ข้าพเจ้าได้มีโอกาสไปเยี่ยมราษฎรชาวกรุงเทพฯตามถนนหนทาง ตรอกซอกซอยต่างๆตามวัดวาอารามเพื่อจำหน่ายจ่ายแจกพระวจนะของพระเจ้าแก่คน เหล่านั้น”
หลังจากนั้นไม่กี่ปี ท่านได้บันทึกเอาไว้ว่า “เราได้นำ พระคริสตธรรมคัมภีร์ของสมาคมฯเข้าไปจำหน่ายในบ่อนการพนัน ในโรงฝิ่น ในโรงเหล้า ร้านหนังสือ ร้านตัดผม บนเรือ ในเรือนแพ ในย่านของคนยากจนในย่านของคนร่ำรวย”
- ในตอนต้นของศตวรรษที่ 20 เป็นครั้งแรกที่พระคริสตธรรมคัมภีร์ทั้งเล่มได้ถูกพิมพ์เป็นภาษาไทย นอก จากนั้นยังมีพระคริสตธรรมคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่ พระธรรมคัมภีร์ตอนต่างๆ จากพระคริสตธรรมคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิมและใหม่และ ภาษาลาว พระคริสตธรรมคัมภีร์ภาษาเขมร พระกิตติคุณลูกาและกิจการภาษาเขมรก็ถูกพิมพ์ขึ้นในช่วงนี้เช่นกัน หนังสือทั้งหมดนี้ได้รับการสนับสนุนจากสมาคมพระคริสตธรรมอเมริกาทั้งสิ้น
ค.ศ.1907–1912 ศจ.ดับบลิว.เอ็ม. คาเมอร์ตัน
ได้มารับหน้าที่แทนต่อจาก ศจ.คาร์ริงตัน ท่านเดิน ทางเพื่อจ่ายแจกพระวจนะของพระเจ้าหลายครั้ง ทั้งทางเรือและเกวียนเทียมด้วยวัวยังจังหวัดต่างๆในประเทศไทย
ปลาย ค.ศ.1912–1932 ศจ.โรเบิร์ต เออร์วิน
- สิ่งแรกที่ท่านทำคือสะสางเรื่องบัญชีและแก้ไขงานทางด้านบริหารให้ทันสมัย ท่านเห็นว่าการที่เลขาธิการจะออกไปจำหน่ายจ่ายแจกเองนั้นย่อมไม่ คุ้มค่า ท่านจึงจ้างคนงานที่จะช่วยทำงาน ศจ.เออร์วินได้เชิญมิชชั่นนารีให้ว่าจ้างคริสเตียนพื้นเมืองมาอบรมการ จำหน่ายจ่ายแจกพระคริสตธรรมคัมภีร์พร้อมทั้งประกาศพระกิตติคุณไปด้วย โดยสมาคมฯสนับสนุนค่าจ้างและค่าเดินทางให้ ซึ่งการนี้ช่วยให้งานสมาคมฯคล่องตัวยิ่งขึ้น เมื่อมีการ เปลี่ยนแปลงระบบการทำงาน การจำหน่ายจึงเพิ่มขึ้นและรวดเร็ว ทันต่อความต้องการพระวจนะพระเจ้าของผู้คน
- สิ่งหนึ่งที่จะช่วยให้การจำหน่ายประสบความสำเร็จ คือ มีการสัมมนาผู้แทนจำหน่ายพระคริสตธรรมคัมภีร์เต็มเวลา มีศูนย์อบรมผู้จำหน่าย ในปีค.ศ. 1918 ศจ. เกรแฮม ฟูลเลอร์ซึ่งเป็นมิชชั่นนารีสภาคริสตจักรได้จัดตั้งระบบ “ Colporteur” ซึ่งเป็นระบบที่ให้ผู้จำหน่ายมีขอบข่ายการควบคุมในการ จำหน่ายให้เกิดผลมากยิ่งขึ้น
- ศจ.เออร์วินเริ่มโครงการประกาศพระกิตติคุณกับคนตาบอดโดยจัดทำระบบอักษรนูน (Braille) ซึ่งเป็นภาษาสำหรับคนตาบอด เริ่มต้นด้วยพระคริสตธรรมคัมภีร์คัดตอน (พระกิตติคุณ) ทั้ง 2 เล่ม
ค.ศ.1927 ทางสมาคมฯได้ซื้อเครื่องทำอักษรนูน เพื่อทำพระคริสตธรรมคัมภีร์สำหรับคนตาบอด
ค.ศ.1930 พระธรรมคัดตอนสำหรับคนตาบอดก็พิมพ์เสร็จ
ค.ศ.1931–1946 ศจ.โรเบิร์ต โอ แฟรงกลิน
- เริ่มต้นจากการเป็นศิษยาภิบาลที่คริสตจักรเพรสไบทีเรียนในเมืองเออร์วิน รัฐเทนเนสซี่ ท่านและภรรยารักชาวสยามมากและหวังจะเห็นพระคำ ของพระเจ้าถูกหว่านไปทั่วดินแดนนี้ ช่วงนั้นเป็นช่วงที่ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและเปลี่ยนแปลงการ ปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบรัฐธรรมนูญ มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ส่งผลสะท้อนถึงการทำงานของสมาคมพระคริสตธรรมไทยด้วย แม้จะเผชิญกับปัญหารอบด้านแต่ท่านก็สามารถเผชิญได้ด้วยความทรหดอดทนอย่างน่า ยกย่อง
- ศจ.แฟรงกลินพยายามทุกวิถีทางที่จะส่งเสริมให้คริสตจักร องค์กรหน่วยงานคริสตชนมีภาระในการจำหน่ายจ่ายแจกพระคำของพระเจ้าร่วมกับมิ ชชั่นนารี ความกระตือรือร้นในการทำงานของท่านได้เพิ่มความสนใจของชาวอีสานในเรื่องราว ของพระเจ้า มีการเปิดโรงเรียนศาสนศาสตร์ที่โคราชและชั้นเรียนพิเศษสำหรับการประกาศพระ กิตติคุณโดยการจำหน่ายพระคริสตธรรมคัมภีร์ โดยคณะซี เอ็ม เอ มิชชั่น
- ปี 1941 เป็นช่วงที่เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 และคริสเตียนถูกข่มเหงอย่างหนักรวมทั้งองค์กรหน่วยงานคริสเตียนด้วย มีรายงานว่า ศจ. แฟรงกลินถูกกักขังและจะส่งตัวกลับอเมริกาในปีค.ศ. 1942 แต่แล้ว ศจ. แฟรงกลิน ก็ได้กลับมาทำงานในสมาคมฯอีกครั้งในปีค.ศ. 1946 เพื่อตรวจดูสภาพความเรียบร้อยของตัวตึกและเตรียมงานให้เลขาธิการคนใหม่ สภาพบ้านเมืองกรุงเทพฯหลังสงครามยุติไม่ได้ทำให้ท่านท้อใจแต่อย่าง ใด ท่านชื่นชมยินดีที่ได้เห็นว่าของสำคัญไม่ได้ถูกทำลายไป ทรัพย์สินของสมาคมฯยังอยู่ครบ และหลังจากนั้นกว่า 4 สัปดาห์ที่ทำการซ่อมแซมตัวตึกจนแล้วเสร็จ
ค.ศ.1946–1956 ศจ.ปี เตอร์ โวท
ค.ศ.1947 ได้แถลงถึงโครงการ 5 ปีในการทำงานและได้ตั้งเป้าในการจำหน่ายแจกจ่ายพระวจนะของพระเจ้าให้ได้ 500,000 เล่ม โดยเริ่มพร้อมกับโครงการขยายคริสตจักรของสภาคริ สตจักรในประเทศไทย หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง รัฐบาลสนับสนุนให้ประชาชนมีการศึกษามากขึ้น เป็นเหตุให้ความต้องการพระคริสตธรรมคัมภีร์ในหมู่ผู้ได้รับการศึกษามีเพิ่ม ขึ้น
- โครงการ 5 ปี จำต้องใช้ผู้จำหน่ายพระคริสตธรรมคัมภีร์เพิ่มขึ้น และนั่นหมายถึงงบประมาณที่จะเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัวหลายเท่าตัว
ค.ศ.1948–1949 การจำหน่ายได้เพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากการขาดแคลนพระคริสตธรรมคัมภีร์ในช่วงสงคราม แต่ปี ค.ศ. 1950 ความต้องการก็ถึงจุดอิ่มตัว การจำหน่ายได้เฉพาะในจังหวัดที่สำคัญๆและการเพิ่มยอดจำหน่ายก็ทำได้โดยเพิ่ม ผู้จำหน่ายให้เดินทางไปจำหน่ายตามที่ต่างๆก็ต้องเพิ่มงบประมาณค่าจ้างและค่า เดินทางขึ้นด้วย
ค.ศ.1954 มิชชั่นนารีในประเทศไทยจึงเปลี่ยนวิธีการจำหน่ายพระคริสตธรรมคัมภีร์ จากการจำหน่ายแบบคนต่อคน เปลี่ยนเป็นองค์กรหน่วยงานหรือคริสเตียนเป็นผู้จำหน่าย โดยการประกาศด้วยรูปภาพเรื่องราวของพระเยซู แล้วเชิญชวนให้ผู้ฟังซื้อพระคริสตธรรมคัมภีร์
ค.ศ.1956–1958 ศจ.มิง ซี เซา
- สิ่งแรกที่ท่านทำ คือ เปลี่ยนชื่อ สมาคมพระคริสตธรรมอเมริกาในประเทศไทย เป็น “หอพระคริสตธรรมไทย” หรือ Thailand Bible House เพื่อให้สมาคมฯในประเทศไทยมีความเป็นไทยมากขึ้น
- สนับสนุนโครงการ World Wide Bible Reading และ Bible Sunday มีโปสเตอร์ติดตามคริสตจักร และตามร้านหนังสือต่างๆ ทั้งยังโฆษณาผ่านรายการวิทยุโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์สยามรัฐและบางกอกโพสต์ด้วย ตอนนั้นได้วางขายพระคริสตธรรมคัมภีร์ตามร้านหนังสือต่างๆถึง 26 แห่ง รวมในร้านที่ท่าอากาศยานดอนเมืองด้วย
- ผลักดันให้มีการจำหน่ายในต่างจังหวัดมากขึ้นเท่าที่จะมากได้ และบางที่รถไฟไปไม่ถึง และท่านได้ขออนุญาตจากรัฐบาลวางพระคริสตธรรมคัมภีร์ภาษาจีนและอังกฤษตามสถาน ที่สำคัญต่างๆเช่น สนามบินดอนเมือง โรงแรมใหญ่ๆ ที่ทำการไปรษณีย์และสถานีรถไฟเป็นการบริการฟรี ฝ่ายการต่าง ประเทศพอใจในสิ่งที่ ศจ. มิง ซี เซามากและอนุมัติงบประมาณสนับสนุนตามมาอย่างเพียงพอ
ค.ศ.1958–1960 ศจ.ลิออน ไวล์เดอร์
ค.ศ.1960–1962 ศจ.อาเธอร์ อี. เคราซ์
ค.ศ.1962–1971 ศจ.ชาน ยัง ชอย (ชาวเกาหลี)
- ยอดจำหน่ายปีค.ศ. 1962 – 1965 เพิ่มขึ้นจาก 767,000 เป็น 1,427,000 เล่ม และในปี 1967 จำหน่ายถึง 2,000,000 เล่ม ด้วยการจัดหาอุปกรณ์และเครื่องมือช่วยในการออกจำหน่าย เช่น เครื่องเสียง, รถจักรยานยนต์, การออกร้านจำหน่าย
- ศจ. ชาน ยัง ชอย เป็นผู้ริเริ่มให้ความสำคัญในการนำพระคัมภีร์ไปถวายวัด เพื่อชายไทยที่บวชเรียนจะมีโอกาสศึกษาพระวจนะของพระเจ้าได้ด้วย
ค.ศ.1971–1975 ศจ.บุญครอง ปิฎ กานนท์
คลิดที่ภาพเพื่อดาวน์โหลดหนังสือ
ค.ศ.1975–1986 ศจ.ทรงเดช กุสาวดี
คลิดที่ภาพเพื่อดาวน์โหลดหนังสือ
- หอพระคริสตธรรมไทย ได้จดทะเบียนเป็นสมาคมกับกองกำกับการ 3 (กองตำรวจสันติบาล กรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย) เปลี่ยนชื่อเป็น “สมาคมพระคริสตธรรมไทย” จนถึง ปัจจุบัน ซึ่งในการจดทะเบียนเป็นสมาคมฯ จำเป็นต้องมีสมาชิก มีธรรมนูญและกรรมการอำนวยการเพื่อดำเนินงานของสมาคมฯและมีการประชุมสมัชชา ดังนั้น จึงได้จัดการประชุมสมัชชาสมาคมฯ เป็นครั้งแรกในวันที่ 9 ธันวาคม ค.ศ. 1978 และต่อมามีการประชุมกรรมการอำนวยการอย่างน้อยปีละ 4 ครั้งและประชุมสมัชชาปีละ 1 ครั้ง
ค.ศ.1986 ศจ.สมดี ภูสอดสี
คลิกที่ภาพเพื่อดาวน์โหลดหนังสือ
ได้เริ่มต้นจัดทำหนังสือ “เฉลิมพระเกียรติ” จำนวน 300,000 เล่มให้คริสตชนได้ใช้แจกพี่น้องชาวไทยในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ และใบปลิวจำนวน 300,000 ชุด และได้นำหนังสือและใบปลิวจำนวน 60,000 เล่มไปแจกให้กับผู้เข้าชม “เรือดูโลส” หรือห้อง สมุดลอยน้ำลำแรกที่มาแวะเยี่ยมประเทศไทยในปี 1987 อีกด้วย
ปี 1988 สมาคมพระคริสตธรรมอเมริกาได้มีการประชุมประจำปีของสมาคมฯ และที่ประชุมมีมติเลือกพระสังฆราชยอด พิมพิสาร รองประธานกรรมการอำนวยการของสมาคมพระคริสตธรรมไทยเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ ตลอดชีพ เนื่องจากท่านได้บำเพ็ญประโยชน์อย่างใหญ่หลวงแก่สมาคมพระคริสตธรรมไทย แก่สหสมาคมพระคริสตธรรมภาคพื้นเอเชียแปซิฟิคและแก่สมาคมพระคริสตธรรมโลก
ค.ศ. 1986 จัดพิมพ์และเผยแพร่พระคัมภีร์ภาษาลีซู
ค.ศ. 1989 จัดพิมพ์และเผยแพร่พระคัมภีร์ภาษาลาหู่ Common Language
ค.ศ. 1992 จัดพิมพ์และเผยแพร่พระคัมภีร์ภาษากูยรวมเล่ม ภาคพันธสัญญาใหม่ และภาคพันธสัญญาเดิมบางส่วน
ค.ศ. 1993 จัดพิมพ์และเผยแพร่พระคัมภีร์ภาษาละว้า ภาคพันธสัญญาใหม่ เป็นอักษรไทย
จัดพิมพ์และเผยแพร่พระคัมภีร์ภาษาลาหู่ ภาคพันธสัญญาใหม่ และสดุดี, สุภาษิต
ค.ศ. 1994 จัดพิมพ์และเผยแพร่พระคัมภีร์ภาษากะเหรี่ยงสะกอ ภาคพันธสัญญาใหม่ และสดุดี
จัดพิมพ์และเผยแพร่พระคัมภีร์ภาษากะเหรี่ยงโปว์ (ฉบับย่อ) ภาคพันธสัญญาใหม่ เป็นอักษรไทย
จัดพิมพ์และเผยแพร่พระคัมภีร์ภาษาเขมรถิ่นไทย ภาคพันธสัญญาใหม่ และสดุดี
ค.ศ.1995-1997 อ.ประยูร ลิมหุตะเศรณี
ค.ศ. 1996
• จัดพิมพ์และเผยแพร่พระคัมภีร์ภาษาเมี่ยน หมวดเบญจบรรณ เป็นอักษรไทย, อักษรโรมันเก่า และอักษรโรมันใหม่
ค.ศ. 1997
• จัดพิมพ์และเผยแพร่พระคัมภีร์ไทย-เยอรมัน ภาคพันธสัญญาใหม่ และจัดพิมพ์ครั้งที่ 2 ในปี 2009 ภาษาไทย ฉบับ 1971 ภาษาเยอรมัน ฉบับ 1984
ค.ศ.1998-2021 ศจ.ดร.เสรี หล่อกัณภัย
ค.ศ.1998
• จัดพิมพ์และเผยแพร่พระคัมภีร์ไทย ฉบับศึกษา พระกิตติคุณ
ค.ศ.2000
• จัดพิมพ์และเผยแพร่พระคัมภีร์ไทยฉบับศึกษา ภาคพันธสัญญาใหม่
• จัดพิมพ์และเผยแพร่พระคัมภีร์ภาษาอาข่า ภาคพันธสัญญาเดิม
• จัดพิมพ์และเผยแพร่พระคัมภีร์ภาษากะเหรี่ยงโปว์ ภาคพันธสัญญาใหม่ เป็นอักษรไทย
ค.ศ.2001
• จัดพิมพ์และเผยแพร่พระคัมภีร์ภาษาอาข่า ภาคพันธสัญญาใหม่ และสดุดี, สุภาษิต และพระคัมภีร์ภาษาอาข่าเต็มเล่ม
• จัดพิมพ์และเผยแพร่พระคัมภีร์ภาษาละว้า เป็นอักษรไทย
ค.ศ.2002
• จัดพิมพ์และเผยแพร่พระคัมภีร์ไทย-อังกฤษ ภาคพันธสัญญาใหม่ และสดุดี, สุภาษิต
• จัดพิมพ์และเผยแพร่พระคัมภีร์ภาษาฉาน
• เริ่มจัดกิจกรรมแข่งขันพระคัมภีร์ระดับเยาวชน “ซูเปอร์จิ๋วเจาะโลกพระคัมภีร์”
• เริ่มดำเนินงานออกร้านจำหน่ายหนังสือชื่อ “ร้านปัญญาจารย์” โดยร่วมมือจากพันธมิตรสำนักพิมพ์ เช่น CED, IBS, JIL/TRI, OMF, BC, BIT, BSC, SBN, TC, TCS, YWM ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ งานสัปดาห์หนังสือนานาชาติ และงานมหกรรม
• หนังสือระดับชาติ ซึ่งจัดขึ้นที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
ค.ศ.2003
• จัดพิมพ์และเผยแพร่พระคัมภีร์ไทย-อังกฤษ ภาษาไทย ฉบับ 1971 ภาษาอังกฤษ ฉบับ Good News
ค.ศ.2004
• จัดพิมพ์และเผยแพร่พระคัมภีร์ภาษา Blue Hmong
ค.ศ.2005
• จัดพิมพ์และเผยแพร่พระคัมภีร์ภาษา White Hmong 1st printing
• จัดพิมพ์และเผยแพร่พระคัมภีร์ภาษาลาหู่ฉบับศึกษา ภาคพันธสัญญาใหม่
ค.ศ.2007
• จัดพิมพ์และเผยแพร่พระคัมภีร์ภาษาเมี่ยนเป็นอักษรไทย อักษรลาว อักษรโรมันเก่า และอักษรโรมันใหม่
• เริ่มโครงการแปลพระคัมภีร์ภาษามือโดยเริ่มจากพระธรรมมาระโกซึ่งเสร็จสิ้นในเดือนมิถุนายน 2017
ค.ศ.2008
• จัดพิมพ์และเผยแพร่พระคัมภีร์ไทย-จีน ภาคพันธสัญญาใหม่ ภาษาไทย ฉบับมาตรฐาน ภาษาจีนฉบับ RCUV
ค.ศ.2009
• จัดพิมพ์และเผยแพร่พระคัมภีร์ไทย-เกาหลี ภาคพันธสัญญาใหม่ ภาษาไทย ฉบับมาตรฐาน ภาษาเกาหลี ฉบับ New Korean Revised
ค.ศ.2010
• จัดพิมพ์และเผยแพร่พระคัมภีร์ภาษาลาหู่ 2nd Edition
ค.ศ.2011 ค.ศ. 1997
• สมาคมพระคริสตธรรมไทยได้จัดให้มีการแก้ไขคำแปลอีกครั้ง โดยยึดแนวทางการแปลที่ผ่านมา มีหลักการคือให้ผู้ยกร่างที่รู้ภาษากรีกและฮีบรู ยึดพระคัมภีร์ฉบับกรีกและะฮีบรูของสหสมาคมพระคริสตธรรมเป็นหลักในการแก้ไข และได้พิมพ์พระคริสตธรรมคัมภีร์ทั้งภาคพันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่ในปี ค.ศ. 2011 เรียกว่า “พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน” (THSV11)
• จัดพิมพ์และเผยแพร่พระคัมภีร์ภาษากะเหรี่ยงโปว์ หมวดเบญจบรรณ เป็นอักษรไทย
ค.ศ.2012
• จัดพิมพ์และเผยแพร่พระคัมภีร์ไทย– อังกฤษ ภาษาไทยฉบับ มาตรฐาน ภาษาอังกฤษ ฉบับ English Standard Version (ESV)
• จัดพิมพ์และเผยแพร่พระคัมภีร์ภาษา White Hmong 4th printing
ค.ศ.2013
• จัดพิมพ์และเผยแพร่พระคัมภีร์สำหรับครอบครัว ซึ่งมีภาพวาดสี่สีประกอบอยู่ในเล่มมากกว่า 600 ภาพ
ค.ศ.2014
• จัดพิมพ์และเผยแพร่พระคัมภีร์ฉบับมาตรฐานที่เน้นคำตรัสของพระเยซู
• จัดพิมพ์และเผยแพร่พระคัมภีร์ภาษาลาหู่ 3rd Edition ภาคพันธสัญญาเดิม และภาคพันธสัญญาใหม่ ฉบับศึกษา
ค.ศ.2016
• บูรณะอาคารสมาคมฯ และมีพิธีขอบคุณพระเจ้าในวันที่ 1 ตุลาคม 2016
• จัดพิมพ์และเผยแพร่พระคัมภีร์ภาษากะเหรี่ยงโปว์ เป็นอักษรไทย เสร็จสิ้นในเดือนธันวาคม 2016
ค.ศ.2017
• เปิดตัวโครงการ 500 ปีพระคัมภีร์สู่สามัญชน ปลายเดือนพฤศจิกายน 2017 เพื่อมอบพระคัมภีร์สำหรับโรงเรียน ให้โรงเรียนรัฐบาลทั่วประเทศจำนวน 30,000 เล่ม ระยะเวลาโครงการ 3 ปี
• เว็บไซต์ www.thai.bible เป็นครั้งแรก
ค.ศ.2018
• พิมพ์เมนูพระคัมภีร์ประจำปี 2019 เป็นปีสุดท้าย
ค.ศ.2019
• พิมพ์คริสตสายสัมพันธ์ฉบับสุดท้าย (หน้าปก His Life) แต่สามารถหาอ่านได้ทางเว็บไซต์สมาคมฯ
• หยุดดำเนินงานออกร้านหนังสือปัญญาจารย์ เนื่องจากศูนย์สิริกิติติ์ ปิดปรับปรุงอาคาร ผู้จัดงานจึงไปจัดงานที่อิมแพคเมืองทองธานีแทน
• จัดพิมพ์และเผยแพร่พระคริสตธรรมคัมภีร์คัดเล่มอุรักลาโวย 1
ค.ศ.2020
• เผยแพร่เมนูพระคัมภีร์ประจำปี 2020 ทางไลน์ Open Chat และเว็บไซต์ www.thai.bible เป็นครั้งแรก
• จัดงานเสวนา หนังสือ กล้าแตกต่าง แยกถูกแยกผิด
• จัดทำใบปลิว โควิด 19 กับชีวิตประจำวัน เดือนเมษายน
• จัดการแข่งขันอาลักษณ์จิ๋ว และอาลักษณ์ผู้ใหญ่ ระดับประเทศ เป็นครั้งแรก
• แข่งขันเดี่ยว ออนไลน์ ซูเปอร์จิ๋วเจาะโลกพระคัมภีร์ ระดับประเทศ ประจำปี 2020 พระธรรมเอเสเคียล เป็นครั้งแรก
• เพลงซูเปอร์จิ๋วเจาะโลกพระคัมภีร์ คุณ ธัญวรินทร์ สว่างโรจน์
• จัดพิมพ์และเผยแพร่พระคริสตธรรมคัมภีร์ฉบับศึกษา ผู้เผยพระวจนะสมัยอาณาจักรบาบิโลน เอเสเคียล
• จัดพิมพ์และเผยแพร่พระคริสตธรรมคัมภีร์ฉบับศึกษา ผู้เผยพระวจนะสมัยอาณาจักรบาบิโลน เยเรมีย์ บทเพลงคร่ำครวญ
• จัดพิมพ์และเผยแพร่พระคริสตธรรมคัมภีร์ฉบับศึกษา ผู้พระวจนะสมัยบาบิโลนและเปอร์เซีย ดาเนียล
• จัดพิมพ์และเผยแพร่พระคริสตธรรมคัมภีร์คัดเล่มอุรักลาโวย 2
ค.ศ.2021
• ขายหนังสือผ่าน เว็บไซต์ www.thai.bible เป็นครั้งแรก
• จัดพิมพ์และเผยแพร่พระคริสตธรรมคัมภีร์ฉบับศึกษา ผู้เผยพระวจนะสมัยอาณาจักรอัสซีเรียและบาบิโลน อิสยาห์
• เพลง ซูเปอร์จิ๋วเจาะโลกพระคัมภีร์ Remix อาจารย์ พิธาน ราชรักษ์
• ขายหนังสืออีบุ๊คผ่าน เว็บไซต์ www.meb.com เป็นครั้งแรก
• จัดพิมพ์และเผยแพร่พระคริสตธรรมคัมภีร์คัดเล่มอุรักลาโวย 3
ค.ศ.2022 อ.ประกิจ ตรีทศายุธ
ค.ศ.2022
- จัดพิมพ์และเผยแพร่พระคริสตธรรมคัมภีร์ฉบับศึกษา ประวัติศาสตร์สมัยก่อนมีกษัตริย์ปกครองอิสราเอล โยชูวา ผู้วินิจฉัย นางรูธ
- จัดทำเดอะเวิร์ด โมดูลพระคัมภีร์ฉบับศึกษา 13 เล่ม เอสรา เนหะมีย์ เอสเธอร์ โยบ สดุดี สุภาษิต ปัญญาจารย์ เพลงซาโลมอน อิสยาห์ เยเรมีย์ เพลงคร่ำครวญ เอเสเคียล ดาเนียล
- ขายหนังสืออีบุ๊คผ่าน เว็บไซต์ www.ookbee.com เป็นครั้งแรก
- จัดทำบัตร TBS Smile Card
- พิมพ์วารสารข่าว TBS's Friends เป็นฉบับแรก
- พระคริสตธรรมคัมภีร์ พระธรรมมาระโก ให้กับเครือข่ายทวีคูณสาวกและคริสตจักร จ.มุกดาหาร
- จัดนิทรรศการ Bible Journey
- จัดทำใบปลิวหนึ่งเดียวคนนี้ คุณ อัญชลี จงคดีกิจ (ปุ๊)
- จัดพิมพ์และเผยแพร่พระคริสตธรรมคัมภีร์ฉบับศึกษา ประวัติศาสตร์สมัยเริ่มต้นราชอาณาจักรอิสราเอล 1,2 ซามูเอล
- จัดพิมพ์และเผยแพร่ Month Planner ปี 2023
- จัดทำเมนูพระคัมภีร์ 2023 ฉบับอีบุ๊ค
- ปรับปรุงเว็บไซต์ www.thai.bible เพิ่มข้อมูลการประยุกต์สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
- จัดทำฐานข้อมูลสมาชิกใหม่จาก 150 สาทร มาเป็น TBS All Member
ค.ศ.2023
- ลงขายหนังสือ e-book ใน web Hibrary www.hytexts.com
- จัดทำเดอะเวิร์ด โมดูลพระคัมภีร์ฉบับศึกษา 4 เล่ม โยชูวา ผู้วินิจฉัย นางรูธ 1,2 ซามูเอล
- ออกแบบโลโก้ TBS ใหม่
- งานสัมมนา TBS Talk เปิดมุมมองการเงิน เดินเกมใหม่หลังโควิด
- อาลักษณ์จิ๋ว และอาลักษณ์ผู้ใหญ่ 2023
- ซูเปอร์จิ๋วเจาะโลกพระคัมภีร์ ระดับประเทศ 2023 ออนไซด์ และออนไลน์
- กิจกรรมสัญจร รับพระพร 365 วัน
- TTAC การประชุมนำเสนอผลงานวิชาการด้านคริสต์ศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย 2023
- ร่วมขายหนังสือ งานมหกรรมหนังสือระดับชาติ 2 ครั้ง
- ทำหน้าแนะนำหนังสือในเว็ปไซด์ มหัศจรรย์แห่งพระสัญญา วิถีจัดการด้านการเงิน เป็นฮีโร่ให้ลูกคุณ
- กิจกรรมสัญจร รับพระพร 365 วัน มอบหนังสือรับพระพร 365 วัน และพระคัมภีร์ระบายสีของฉัน
- โครงการมอบพระคัมภีร์สู่เรือนจำ มอบพระคัมภีร์ฉบับมาตรฐาน พร้อมภาพประกอบ จำนวน 130 เล่ม