สหสมาคมพระคริสตธรรมสากล

สหสมาคมพระคริสตธรรมสากล

สหสมาคมพระคริสตธรรมสากล

สมาคมพระคริสตธรรมมีกำเนิดขึ้น จากการก่อตั้งสมาคมพระคริสตธรรมอังกฤษและต่างชาติ(The British and Foreign Bible Society)ในกรุงลอนดอน เมื่อปี ค.ศ. 1804 หลังจากนั้น การเพิ่มพูนจำนวนของสมาคมพระคริสตธรรมในประเทศต่างๆ ก็เป็นไปอย่างรวดเร็ว เพียงชั่วเวลาไม่นาน มีสมาคมพระคริสตธรรมเกิดขึ้นเกือบทั่วทุกแห่งหน โดยเฉพาะในประเทศแถบยุโรปและอเมริกาเหนือที่เรียกตัวเองว่าเป็น พวกโปรเตสแตนท์ ต่อมาขอบข่ายงานของสมาคมพระคริสตธรรมเริ่มขยายวงกว้างออกไปอีกคือไม่เพียงแต่รับผิดชอบงานภายในประเทศเท่านั้นยังได้ให้ความช่วยเหลือแก่มิชชันนารีที่ออกไปรับใช้พระเจ้าในประเทศต่างๆทั่วโลกอีกด้วยงานในลักษณะเช่นนี้เอง ที่ได้นำไปสู่การลอกเลียนแบบ และการชิงดีชิงเด่นในงานที่ทำ ดังนั้นในปี ค.ศ.1930 ได้มีความพยายามที่ให้การทำงานมีการติดต่อประสานงานใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น แต่ก็เป็นสิ่งที่ทำได้ยาก จวบจนกระทั่งเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1946 จึงได้มีการก่อตั้งสหสมาคมพระคริสตธรรมขึ้นเพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายดังกล่าว มีสมาคมพระคริสตธรรมจากประเทศต่างๆ ทั่วโลกเข้าร่วมเป็นสมาชิกด้วย 16 แห่ง

หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 สหสมาคมพระคริสตธรรมได้ให้ความสนใจกับงานบูรณะตึกรามบ้านช่องทางแถบยุโรปที่ เสียหายหลังสงคราม ต่อมาในปี ค.ศ. 1950 สหสมาคมพระคริสตธรรมเบนความสนใจไปอยู่ส่วนอื่นของโลกโดยเฉพาะแถบเอเชียซึ่ง มีหลายประเทศที่เริ่มสมัครเข้ามาเป็นสมาชิกของสหสมาคมพระคริสตธรรม เช่น อินเดีย, อินโดนีเซีย, ญี่ปุ่น เมื่อถึงปี ค.ศ. 1960 นิมิตของสหสมาคมพระคริสตธรรมมีการปรับโครงสร้างอีกครั้ง งบประมาณของสมาคมพระคริสตธรรมจะมีเพียงงบใหญ่งบเดียวที่ใช้สนับสนุนงานทั่ว โลก สมาคมพระคริสตธรรมในประเทศใดก็ตามที่สามารถหาทุนสนับสนุนได้เกินกว่าที่ตน เองจำเป็นต้องใช้เงินส่วนที่เหลือนั้นจะนำไปช่วยสมาคมพระคริสตธรรมในประเทศ ที่ขาดเงินหรือมีความจำเป็นต้องใช้เงินเกินกว่าที่จะสามารถหาทุนจากภายใน ประเทศของตนได้

เมื่อถึงเวลานี้ สหสมาคมพระคริสตธรรมโลกมีการแบ่งข่ายงานย่อยออกไปเป้น 4 แห่งหรือ 4 ภาคพื้น ได้แก่ อัฟริกา, อเมริกา, เอเซีย และยุโรป แต่ละภาคพื้นนี้มีศูนย์ปฏิบัติงานของตนเองโดยมีเลขาธิการภาคพื้นเป็นผู้นำ นอกจากนี้ แต่ละภาคพื้นยังต้องมีที่ปรึกษาฝ่ายภาคพื้น ซึ่งจะเป็นผู้เดินทางไปให้ความช่วยเหลืองานเฉพาะอย่างในประเทศต่างๆ ที่อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของภาคพื้น เช่น งานด้านงานแปล งานด้านการผลิต งานด้านการแจกจ่ายและงานด้านการบริหาร แต่ละภาคพื้นยังมีหน้าที่ต้องส่งผู้แทนซึ่งหามาจากตัวเลขาธิการและกรรมการ อำนวยการในประเทศต่างๆ ไปรับการเลือกตั้งเป็นคณะกรรมการฝ่ายภาคพื้น เมื่อได้คณะกรรมการฝ่ายภาคพื้นแล้ว คณะกรรมการชุดนี้ก็จะจ้างเจ้าหน้าที่ชุดหนึ่งมาทำงานประจำภาคพื้นนี้

คณะกรรมการภาคพื้นนี้ มีหน้าที่ดูแลการทำงานในศูนย์ปฏิบัติงานของภาคพื้น มีหน้าที่คัดเลือกกรรมการ 2 ท่าน จากคณะกรรมการภาคพื้น เพื่อเข้าไปดำรงตำแหน่งเป็นคณะกรรมการของสหสมาคมโลก นอกจากนี้คณะกรรมการภาคพื้นยังมีหน้าที่ดูแลสอดส่องงานของสมาคมพระ คริสตธรรมในประเทศต่างๆ ในภาคพื้นนั้น ให้ดำเนินตามนโยบายที่สหสมาคมพระคริสตธรรมได้ตั้งไว้

ในช่วงปี ค.ศ. 1960 เป็นปีที่สมาคมพระคริสตธรรมตามที่ต่างๆ เริ่มมีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นกับทางฝ่ายคาทอลิก และจากการประชุมสำนักวาติกันของทางฝ่ายคาทอลิกระหว่าง ค.ศ. 1962-1964 ได้ทำให้ชาวคาทอลิกมีความสนใจในการแจกจ่ายและใช้พระคัมภีร์กันมากขึ้น จากความสัมพันธ์ดังกล่าวได้มีส่วนดึงชาวคาทอลิกให้เข้ามามีส่วนร่วมใน โครงการแปลและการแจกจ่ายพระคัมภีร์ของสมาคมพระคริสตธรรมมากขึ้นด้วย เหตุการณ์ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นในช่วงที่ด็อกเตอร์โอลิเวีย เบกวิน ดำรงตำแหน่งเป็นเลขาธิการของสหสมาคมพระคริสตธรรมโลก (1949-1972) ซึ่ง ในเวลาต่อมา (1972-1988) ด็อกเตอร์ ยูริค ฟิค ก็ได้เข้ามาดำรงตำแหน่งต่อจากท่าน

สหสมาคมพระคริสตธรรมเริ่มมีสมาชิกเพิ่มพูนขึ้นและมีฐานที่แข็งแรงมากขึ้น เรื่อยๆ ขอบข่ายงานได้ขยายไปจนถึงประเทศต่างๆ ในโลกที่สาม ”ประเทศ ไทย” หรือที่เคยเรียกกันว่า ”สมาคมพระคริสตธรรม ไทย-ลาว” ก็ได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกสมทบของสหสมาคมพระคริสตธรรม เมื่อ ค.ศ. 1972 และได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกสมบูรณ์เมื่อปี ค.ศ. 1984

โดยปกติ สมาคมพระคริสตธรรมทุกแห่งทั่วโลกจะนัดประชุมกัน 1 ครั้ง ทุก 8 ปี การประชุมนี้รู้จักกันในชื่อของ ”การ ประชุมสภาพระคริสตธรรมโลก” ซึ่งได้จัดขึ้นที่เมืองแอดดิส อบาบา ประเทศเอธิโอเปียเมื่อปี ค.ศ. 1972 จัดขึ้นที่จังหวัด เชียงใหม่ ประเทศไทยเมื่อปี ค.ศ. 1980 และจัดที่เมืองบูดาเปส ประเทศฮังการี ในปี ค.ศ. 1988 เป้าหมายของการประชุมก็เพื่อ ทบทวนงานในขอบข่ายของสหสมาคม พระคริสตธรรมทั่วโลก, เพื่อตั้ง นโยบายและจัดลำดับงานที่ต้องทำก่อนหลังในทศวรรษหน้า


United Bible Societies | A History of Serving Together คลิก