ทำไมพระคัมภีร์ไทยจึงแปลยอห์น 6:69 ต่างจากพระคัมภีร์อังกฤษ ฉบับคิงเจมส์?

ทำไมพระคัมภีร์ไทยจึงแปลยอห์น 6:69 ต่างจากพระคัมภีร์อังกฤษ ฉบับคิงเจมส์? คำถามจากผู้เข้าสัมมนาการแปล วันที่ 24 พ.ย. 2001 พระคัมภีร์ภาษา อังกฤษฉบับคิงเจมส์ (King James Version) แปลยอห์น 6:69 ว่า “And we believe and are sure that thou art that Christ, the Son of the Living God.” ส่วนพระคัมภีร์ไทยฉบับ 1971 แปลว่า “และข้าพระองค์ทั้งหลายก็เชื่อและมาทราบแล้วว่าพระองค์ทรงเป็นองค์บริสุทธิ์ ของพระเจ้า”    คำถามก็คือ ทำไมจึงแปลพระคัมภีร์ไม่ตรงกัน? พระคัมภีร์ไทยแปลผิดหรือ? นี่มักจะเป็นคำถามคาใจผู้อ่านพระคัมภีร์สองภาษาหรือมากกว่านั้น เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วพบความแตกต่างในบางจุด ผู้อ่านมักจะคิดว่าฉบับไหนแปลถูก? ฉบับไหนแปลผิด? แต่จะมีสักกี่คนที่คิดว่าแปลถูกทั้งคู่ หรือแปลผิดทั้งคู่? เพื่อจะตอบคำถามข้างต้น จำเป็นที่ผู้อ่านจะต้องเข้าใจบางอย่างเกี่ยวกับพระคริสตธรรมคัมภีร์ ความจริงเกี่ยวกับพระคัมภีร์ 1. ต้นฉบับ (Original […]

พระเยซูถูกตรึงที่กางเขนและเป็นขึ้นจากตายจริงหรือ?

พระเยซูถูกตรึงที่กางเขนและเป็นขึ้นจากตายจริงหรือ? หนังสือเล่มหนึ่ง ที่เขียนโดยผู้นำของศาสนาหนึ่งได้เขียนไว้ว่าการถูกตรึงของพระเยซูเป็น เรื่องไม่จริง พระเยซูไม่ได้ตายที่กางเขนแต่ผู้ที่ถูกตรึงตายคือยูดาส สาวกที่ทรยศพระเยซู โดยกล่าวอ้างสิ่งที่ดูเหมือนขัดแย้งในบันทึกของมัทธิวที่ว่ายูดาสผูกคอตาย (มธ.27:5) กับหนังสือกิจการที่กล่าวว่า ยูดาสล้มคะมำลงแตกกลางตัว ไส้พุงทะลักออกหมด (กจ.1:18) ความเข้าใจของผู้เขียนดังกล่าวเกิดจากการไม่ได้ดูเนื้อหาทั้งหมดของกิตติคุณ และกิจการ และไม่พยายามพิจารณาความน่าเชื่อถือทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเหตุการณ์ดัง กล่าว การที่พระเยซูถูกตรึงและเป็นขึ้นจากตายนั้นมีเหตุผลที่ทำให้เห็นว่าเป็น เรื่องน่าเชื่อถือมากมาย แต่จะกล่าวเพียง 3 ประการในที่นี้ 1. การบันทึกที่สอดคล้องกันทุกฉบับ ผู้เขียนกิตติคุณทั้งสี่เล่มต่างได้บันทึกเรื่องราวการถูกจับกุม ถูกสอบสวน ถูกตรึงกางเขนและเป็นขึ้นจากตายของพระเยซู   เรื่องราวที่บันทึกไว้นั้นสอดคล้องกัน แต่อาจมีรายละเอียดของเล่มหนึ่งที่ไม่ปรากฏในอีกเล่มหนึ่ง และแม้รายละเอียดบางเรื่องอาจดูแตกต่างกัน เช่น จำนวนทูตสวรรค์ที่อุโมงค์ฝังศพ การพบปะระหว่างพระเยซูกับบรรดาสตรีที่จะไปชโลมพระศพ รวมทั้งประเด็นเรื่องการตายของยูดาส แท้จริงรายละเอียดบางตอนที่ดูขัดแย้ง ถ้าวิเคราะห์ให้ถ่องแท้ก็จะเห็นว่าไม่ได้ขัดแย้งกัน เช่น กรณีของยูดาสนั้น ผู้เขียนทั้งสองต่างต้องการกล่าวเพียงสั้นๆ แล้วผ่านไป เพราะไม่ใช่จุดสำคัญที่ต้องการกล่าวถึง หากเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องการกล่าวถึง ก็จะกล่าวไว้มากและให้รายละเอียดมาก เรื่องยูดาสนั้นจึงไม่มีรายละเอียดของภาพทั้งหมดว่าเป็นอย่างไร แต่เราสามารถคาดเดาว่า หลังจากผูกคอตายอาจไม่มีใครพบศพหรือไม่มีใครอยากแตะต้องศพ เพราะจะทำให้เป็นมลทินไม่สามารถร่วมปัสกาในวันรุ่งขึ้น ศพจึงถูกทิ้งไว้จนช่วงเทศกาลปัสกาที่กินเวลาเป็นสัปดาห์จะผ่านไป ศพเน่าพอง เชือกคงขาด แล้วศพตกลงมาแบบหัวคะมำลงพื้นเพราะขาไปเกี่ยวถูกของบางอย่าง พุงแตกเพราะเน่าหรือถูกสัตว์แทะไส้ทะลัก ลูกาที่เขียนกิจการเป็นหมอ อาจสนใจเรื่องสภาพศพที่พบ ในขณะที่มัทธิวสนใจแค่ตายด้วยวิธีผูกคอ ทำนองเดียวกับเรื่องทูตสวรรค์ที่มัทธิวและมาระโกต้องการกล่าวง่ายๆ […]

ภาษาเดิมสำคัญไฉน

ภาษาเดิมสำคัญไฉน คำถาม: การแปลพระ คัมภีร์และการอธิบายพระคัมภีร์ต้องยึดหลักจากภาษาเดิมด้วยหรือไม่ อย่างไร?  คำตอบ: สำหรับ คำถามช่วงแรกนั้น ตอบได้เลยว่าต้องยึดหลักจากภาษาเดิมแน่นอน เพราะว่าพระคัมภีร์เขียนโดยใช้ภาษาฮีบรูและภาษากรีก ผู้เขียนต้องการสื่อความจริงโดยสองภาษานี้ที่พวกเขาคุ้นเคย ภาษาทั้งสองมีความแตกต่างกับภาษาไทยอย่างแน่นอน คนที่ใช้ภาษาทั้งสองก็มีวัฒนธรรมและสภาพเบื้องหลังที่ต่างจากคนไทย คำหรือข้อความที่เขาเขียนนั้นอาจมีความหมายต่างจากคำไทย แม้จะเป็นคำที่เหมือนกัน เช่น เมื่อเปาโลกล่าวว่าให้ทาสเชื่อฟังนาย (อฟ.6:5) ทาสในสังคมโรมันและโดยเฉพาะสังคมยิวในสมัยนั้นแตกต่างจากทาสในสังคม ไทยสมัยก่อนมาก ทาสของพวกเขาเป็นชนชั้นในสังคมที่ไม่มีสิทธิในการเป็นเจ้าของตัวเอง แต่ไม่ใช่ชนชั้นต่ำที่ทำงานต่ำต้อยและถูกดูหมิ่นเสมอไปดังเช่นในสังคมไทย ทาสในสังคมโรมันหรือยิวมีบทบาทหลากลายในบ้านนายหรือในสังคม ทาสบางคนมีอำนาจหน้าที่เป็นผู้ดูแลหรือจัดการบ้านแทนนายของตนเอง ทาสของทางราชการบางคนเป็นหมอ บางคนทำหน้าที่แทนข้าราชการเมื่อจำเป็น บางคนทำหน้าที่เหมือนตำรวจของทางการ ทาสจำนวนไม่น้อยจึงเป็นคนที่สังคมให้ความเคารพนับถือ นอกจากนี้พวกเขามีอิสระพอควรที่จะนับถือศาสนาหรือร่วมกิจกรรมทางศาสนาโดย เฉพาะในสังคมยิว บางครั้งคำในภาษาเดิมบางคำไม่สามารถหาคำแปลที่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้ กัน จึงมีการหาคำที่มีส่วนคล้ายกันบ้างมาแปล เช่น ในสดุดี 2:2 “…ต่อสู้ พระเจ้าและผู้รับการเจิมของพระองค์” “ผู้รับการเจิม” แปล จากคำว่า “เมสสิยาห์” ในภาษาเดิมซึ่งในที่นี้ หมายถึงกษัตริย์ที่พระเจ้าทรงแต่งตั้ง คำว่า “เมสสิยา” ในภาษาเดิมหมายถึงผู้ที่ได้รับการเทน้ำมันลงบนศีรษะเพื่อแต่งตั้งให้ เป็นปุโรหิต หรือกษัตริย์ หรือผู้เผยพระวจนะ (1 ซมอ.16:13) พิธีนี้ไม่มีในสังคมไทย จึงมีการหาคำที่มีส่วนคล้ายกันบ้างคือ “การเจิม” […]

1 8 9 10