คําว่า “พระทรวง” ในพระคัมภีร์บางข้อหายไม่ได้ทําให้ความหมายผิดไป 2/15

คําว่า “พระทรวง” ในพระคัมภีร์บางข้อหายไม่ได้ทําให้ความหมายผิดไป เนื่องด้วยฝ่ายแปลได้รับการสอบถามจากผู้อ่านพระคัมภีร์ฉบับมาตรฐานว่า ทําไมข้อความใน ยอห์น 13:23 และ ยอห์น 13:25 จึงไม่มีคําว่า “พระทรวง” ปรากฏอยู่ด้วย และผู้อ่านต้องการทราบว่าเอกสารต้นฉบับดั้งเดิมนั้นมีคําว่า “พระทรวง” หรือไม่ ฝ่ายแปลได้ตรวจสอบจากต้นฉบับภาษากรีกพบคําศัพท์ที่มีความหมายถึง อก หรือ พระทรวง คือคําว่า (bosom) ใน ยอห์น 13:23 และ (chest) ใน ยอห์น 13:25 หากย้อนกลับไปพิจารณาการแปลของสมาคมฯ เองในฉบับ 1971 จะพบว่าเราแปลคําศัพท์ดังกล่าวแบบตรงตัวด้วยคําว่า “พระทรวง” ลงไปที่พระคัมภีร์ทั้งสองข้อ เมื่อแสดงข้อความเปรียบเทียบกับฉบับมาตรฐานที่สมาคมฯ ยกร่างการแปลเสร็จสิ้นในปี ค.ศ. 2011 จะเป็นดังนี้ ยอห์น 13:23 ฉบับ 1971ที่สํารับมีสาวกคนหนึ่งที่พระองค์ทรงรัก ได้เอนกายอยู่ใกล้พระทรวงของพระองค์ฉบับมาตรฐานสาวกที่พระเยซูทรงรักเอนกายอยู่ใกล้พระองค์ยอห์น 13:25 ฉบับ 1971ขณะที่ยังเอนกายอยู่ใกล้พระทรวงของพระองค์ สาวกคนนั้นก็ทูลถามพระองค์ว่า “พระองค์เจ้าข้า คนนั้นคือใคร”ฉบับมาตรฐานขณะที่ยังเอนกายอยู่ใกล้พระเยซู สาวกคนนั้นก็ทูลถามพระองค์ว่า “องค์พระผู้เป็นเจ้า คนนั้นเป็นใคร?”การรับประทานอาหารตามธรรมเนียมของพวกยิวในสมัยของพระเยซูนั้นไม่มีเก้าอี้นั่งอย่างทุกวันนี้ แต่ละคนต้องนั่งลงกับพื้นและนอนเอียงข้างโดยใช้แขนซ้ายพยุงตัวไว้ แล้วใช้มือขวาหยิบ อาหารใส่ปาก […]

ข้อหาย ข้อความหายและข้อความเปลี่ยน…แจ้งสมาคมฯ 1/15

  ข้อหายข้อความหายและข้อความเปลี่ยน…แจ้งสมาคมฯ  ในคอลัมน์ประจำฉบับนี้ ฝ่ายแปลขอเก็บรวบรวมคำถามของผู้อ่านพระคัมภีร์ใหม่ฉบับมาตรฐานแล้วสงสัยได้ถามมา โดยจัดแบ่งเป็นสามหมวดดังนี้คือ 1.) เกี่ยวกับข้อพระคัมภีร์ที่หายไป ยกตัวอย่างมาระโก 9:44, 46และ 2โครินธ์ 13:14  2.) เกี่ยวกับข้อความที่หายไป ยกตัวอย่าง มาระโก 9:24,29; มัทธิว 24:7และ 1ยอห์น 5:7  3.) เกี่ยวกับคำแปลเก่าที่หายไป และถูกแทนที่ด้วย คำแปลใหม่ ยกตัวอย่าง คำแปลเก่าว่า  “น้ำองุ่น” หายไปโดยถูกแทนที่ด้วยคำแปลใหม่ว่า  “เหล้า  องุ่น” ในยอห์น 2:3และที่อื่นๆ อีก 33 ที่ในพระคัมภีร์ใหม่คำถามเหล่านี้คือ ทำไมสมาคมพระคริสตธรรมไทยทำข้อพระคัมภีร์หายไป ? ทำไมแปลตกข้อความสำคัญไป? ทำไมไม่รักษา คำแปลเก่า ที่ดีและเหมาะกว่า คำแปลใหม่ในวัฒนธรรมไทย? คำถามข้างต้นเกิดจากการที่ผู้อ่าน ได้อ่านพระคัมภีร์ไทยฉบับมาตรฐาน เปรียบเทียบกับฉบับอื่นๆ  เช่น พระคัมภีร์ไทยฉบับ 1940 (หรือที่เรียกว่า ฉบับแปลเก่า ที่เริ่มต้นชื่อพระธรรมว่า เยเนซิศเอ็กโซโด ฯลฯ) หรือ ฉบับคิงเจมส์ (ไทย) […]

ผู้หญิงชาวซีเรียฟีนิเซียเป็นคนต่างศาสนาหรือ? 4/14

ผู้หญิงชาวซีเรียฟีนิเซียเป็นคนต่างศาสนาหรือ? คำถาม ทำไมพระธรรมมาระโก7:26 ฉบับมาตรฐานจึงแปล ผู้หญิงที่อยู่ในเมืองไทระและเมืองไซดอนว่าเป็นคนต่างศาสนา? คำตอบ ก่อนอื่นขอให้เราดูบริบทของพระธรรมข้อนี้ก่อน พระธรรมตอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของพระธรรมมาระโก 7:24-30 ที่บันทึกว่า พระ​องค์​จึง​เสด็จ​ออก​จาก​ที่​นั่น​ไป​ยัง​เขต​แดน​เมือง​ไทระ​และ​เมือง​ไซ​ดอน แล้ว​เข้า​ไป​ใน​บ้าน​หลัง​หนึ่ง​ประ​สงค์​จะ​ไม่​ให้​ใคร​รู้ แต่​พระ​องค์​ไม่​อาจ​หลบ​พ้น​ได้เพราะ​ผู้​หญิง​คน​หนึ่ง​ที่​มี​ลูก​สาว​เล็กๆ ถูก​ผี​โส​โครก​สิง ทัน​ที​ที่​ได้​ยิน​ข่าว​ของ​พระ​องค์​ก็​มา​เฝ้า​และ​กราบ​ลง​ที่​พระ​บาทหญิง​ผู้​นี้​มี​เชื้อ​ชาติ​ซีเรีย​ฟี​นิเซีย เป็น​คน​ต่าง​ศาส​นา นาง​ทูล​อ้อน​วอน​ขอ​ให้​พระ​องค์​ขับ​ผี​ออก​จาก​ลูก​สาว​ของ​นาง พระ​เยซู​ตรัส​กับ​นาง​ว่า “ให้​ลูกๆ กิน​กัน​อิ่ม​เสีย​ก่อน เพราะ​ว่า​ไม่​สม​ควร​ที่​จะ​เอา​อาหาร​ของ​ลูกๆ โยน​ให้​กับ​พวก​สุนัข” แต่​นาง​ทูล​ตอบ​ว่า “จริง​เจ้าค่ะ แต่​สุนัข​ที่​อยู่​ใต้​โต๊ะ​นั้น​ย่อม​กิน​อาหาร​เหลือ​เดน​ของ​ลูกๆ” แล้ว​พระ​องค์​ตรัส​กับ​นาง​ว่า “เพราะ​ถ้อย​คำ​นี้​ท่าน​จง​กลับ​ไป​เถิด ผี​ออก​จาก​ตัว​ลูก​สาว​ของ​ท่าน​แล้ว” หญิง​ผู้​นั้น​เมื่อ​กลับ​ไป​ยัง​บ้าน​ของ​ตน ก็​พบ​ว่า​ลูก​นอน​อยู่​บน​ที่​นอน​และ​ผี​ออก​จาก​ตัว​แล้ว จากบริบทของพระธรรมตอนนี้ เราจะเห็นว่าชื่อเสียงของพระเยซูได้เลื่องลือไปถึงดินแดนของคนต่างชาติ เมื่อพระองค์ไปอยู่ในเขตแดนของไทระและไซดอนซึ่งอยู่นอกอาณาเขตของคนยิวนั้น พระองค์ไม่ได้มีพระประสงค์ที่จะบอกให้ใครรู้ แต่มีแม่ของเด็กหญิงคนหนึ่งที่ถูกผีโสโครกสิง จึงได้มาหาพระเยซูเพื่อต้องการให้พระองค์ช่วยเหลือ เรารู้ว่าผู้หญิงคนนี้มีเชื้อชาติซีเรียฟีนิเซีย และฉบับมาตรฐานได้ระบุต่อไปว่า เธอ “เป็นคนต่างศาสนา” โดยมีเชิงอรรถอธิบายว่า “ภาษา​กรีก​แปล​ตรง​ตัว​ว่า เป็น​กรีก ซึ่ง​อาจ​มี​ความ​หมาย​ได้​ว่า เป็น​พวก​นิยม​กรีก​ที่​พูด​ภาษา​กรีก หรือ เป็น​พวก​ที่​ไม่​ได้​นับถือ​ศาสนา​ของ​ชาว​ยิว” ในขณะที่ฉบับ 1971แปลว่า “พูด​ภาษา​กรีก” และฉบับประชานิยมแปลว่า “หญิงผู้นี้ไม่ใช่ชาวยิว” ฉบับคาทอลิกแปลว่า “นาง​ไม่​ใช่​ชาว​ยิว” โดยมีเชิงอรรถว่า […]

ไขปัญหาพระคัมภีร์ 3/14

ไขปัญหาพระคัมภีร์ ในคริสตสายสัมพันธ์ฉบับนี้ ฝ่ายแปลของสมาคมพระคริสตธรรมไทยจะตอบคำถามสามข้อที่ผู้อ่านพระคัมภีร์ส่งมา คำถามแรกเกี่ยวกับธรรมเนียมปฏิบัติอย่างหนึ่งของคนสมัยอับราฮัมในเรื่องการวางมือ. ส่วนอีกสองคำถามเกี่ยวกับการแปลพระธรรมอิสยาห์บางข้อและการอ้างอิงพระธรรมนั้นในพระคัมภีร์ใหม่ซึ่งมีผู้เขียนบทความอธิบายว่าสมาคมฯ แปลผิดจากต้นฉบับฮีบรูและกรีก. การตอบคำถามสองข้อหลังนี้ เป็นเรื่องละเอียดอ่อนอย่างยิ่ง เราพยายามจะตอบตามเนื้อผ้าโดยปราศจากอคติใดใด และมิได้มุ่งหมายที่จะตอบโต้ผู้ใด เราเคารพความคิดเห็นของทุกท่าน แม้จะไม่เห็นด้วยกับบางความคิดเห็นก็ตาม ฉะนั้นเราจะนำเสนอข้อมูลตามความจริง เพื่อทุกท่านจะได้รับมุมมองอย่างรอบด้าน ไขปัญหาการแปล การวางมือใต้ขาอ่อน (ปฐมกาล 24:2,9 และ 47:29-31) คำถามที่หนึ่ง :  การวางมือใต้ขาอ่อนในพระธรรมปฐมกาลนั้นมีความหมายอย่างไร? มีที่มาอย่างไร? แล้วทำไมจึงไม่ปรากฏเรื่องนี้ในพระธรรมอื่นๆ? คำตอบ : เรื่องการวางมือใต้ขาอ่อนนั้นแตกต่างจากการวางมือแบบอื่นๆ ที่พบในพระคัมภีร์เช่น การวางมือบนศีรษะบุตรหลานเพื่ออวยพร (ปฐมกาล 48:14) การวางมือของปุโรหิตบนหัวสัตว์ก่อนถวายเป็นสัตวบูชา (เลวีนิติ3:8) การวางมือบนผู้ที่จะสืบทอดการเป็นผู้นำ (กันดารวิถี 27:18,20,23) การวางมือบนคนเจ็บป่วยเพื่อให้หายโรค (มาระโก 16:18) การวางมือบนผู้ที่จะรับใช้พระเจ้า(กิจการ 13:3) การวางมือเพื่อแต่งตั้งผู้ทำงานในคริสตจักร (1ทิโมธี 5:22) และการวางมือเพื่อรับพระวิญญาณบริสุทธิ์ (กิจการ 8:17) . การวางมือใต้ขาอ่อนจะทำควบคู่กันไปกับการสาบานซึ่งเราพบเฉพาะในพระธรรมปฐมกาล สองตอนเท่านั้นคือ ในเรื่องอับราฮัมสั่งคนรับใช้อาวุโสให้เดินทางไปยังเครือญาติของท่านเพื่อหา ภรรยาให้แก่อิสอัคบุตรของท่าน ดู ปฐมกาลบทที่ 24  และ […]

สระน้ำที่อยู่ใกล้ประตูแกะชื่ออะไรกันแน่? 2/14

สระน้ำที่อยู่ใกล้ประตูแกะชื่ออะไรกันแน่? คำถาม สระน้ำที่อยู่ใกล้ประตูแกะชื่ออะไรกันแน่? คำตอบ พระธรรมที่ เกี่ยวข้องกับเรื่องราวนี้อยู่ในพระธรรมยอหน์ บทที่ 5 ข้อ 1 ถึงข้อ 18 ผู้ เขียนได้เขียนให้เราทราบว่าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นที่ไหน โดยระบุว่าเกิดที่ กรุงเยรูซาเล็มใก้ลกับประตูแกะแต่ปัจจุบัน ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นประตูสิงโตหรือ Lions’ Gate ประตูเมืองใหม่นี้ถูกสร้างขึ้นโดย Ottoman Sultan ที่มีชื่อว่า Sultan Sulieman the Magnificent สุลต่านองค์นี้ได้ใช้เวลาสร้างกำแพงของกรุงเยรูซาเล็มทั้งหมด 6 ปี (ค.ศ.1538-1544) ประตูเมืองนี้อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงเยรูซาเล็ม  ปัจจุบัน ประตูนี้ ก็ยังมีอยู่ และเมื่อ เข้าประตูนี้ไป แล้ว ทางขวามือของเราจะพบโบสถ์ที่ชื่อว่า St. Anna ซึ่ง เป็นโบสถ์ของนิกายโรมันคาทอลิกซึ่งถูกสร้างใน  สมัยครูเสด เพื่อระลึกถึงว่าสถานที่เกิดของพระแม่มารีย์ ซึ่งมีชื่อว่าแอนนาผู้ที่ก่อสร้างจึงตั้งชื่อโบสถ์ตามชื่อของท่าน  เมื่อเดินลึกเข้าไปหน่อยก็จะพบกับซากของสระน้ำที่พังเสียหายและอยู่ลึกมากทำ ให้เราแน่ใจว่าเป็นสระที่กล่าวถึง ในพระธรรมยอหน์ บทที่ 5 ข้อ 2  พระคริสตธรรมคัมภีร์ไทยฉบับมาตรฐานได้ให้ชื่อสระนี้ว่า“เบธซาธา” แต่ในขณะเดียวกันก็ได้ให้เชิงอรรถไว้ว่า“สำเนาโบราณบางฉบับว่า เบธเธซดา บางฉบับว่า […]

สุสาเมืองป้อม? 1/14

สุสาเมืองป้อม? คำถาม จากพระธรรมเอสเธอร์บทที่ 2 ข้อ 3 และบทที่ 3 ข้อ 15 เราพบคำแปลต่างกันในพระคัมภีร์ต่างฉบับ  เกี่ยวกับเมืองหลวงของอาณาจักรเปอร์เซีย ดังนี้คือ สุสาปราสาท (ฉบับคิงเจมส์ไทย) สุสาเมืองป้อม (ฉบับ 1971 และฉบับ 2011) ป้อมเมืองสุสา (ฉบับอมตธรรมมร่วมสมัย) นครสุสาราชธานี (ฉบับคาทอลิค) นครหลวงสุสา (ฉบับประชานิยม) อยากทราบว่า ความจริงเป็นอย่างไรกันแน่? คำตอบ  คำ แปลต่างกันมาจากคำฮีบรูสองคำคือ Shushan Habira เราไม่มีปัญหากับคำแรกคือ Shushan  เพราะทุกฉบับแปลออกมาตรงกันคือ สุสา ซึ่งเป็นชื่อเมืองหลวงหนึ่งในสี่ของจักรวรรดิเปอร์เซียในกลางศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล แต่สำหรับคำที่สองคือ Habira นั้น มีการแปลออกมาหลายนัย แท้จริงคำนี้มาจากคำ Bira ซึ่งอาจหมายถึง ปราสาท หรือ พระราชวัง (พระตำหนัก) หรือ พระวิหาร ก็ได้. ดังนั้น การพยายามตอบคำถามข้างต้นจากภาษาศาสตร์จึงไม่ได้คำตอบที่ชัดเจนตายตัว. […]

กรุงเยรูซาเล็มเป็นของเผ่ายูดาห์หรือเบนยามิน 4/13

กรุงเยรูซาเล็มเป็นของเผ่ายูดาห์หรือเบนยามิน คำถาม เมื่ออ่านพระธรรมผู้วินิจฉัยบทที่ 1ข้อ 8 และข้อ 21 ทำให้เกิดข้อสงสัยขึ้นมาว่า กรุงเยรูซาเล็มเป็นของเผ่าไหนกันแน่ เป็นของเผ่ายูดาห์ หรือ เผ่าเบนยามิน อีกประการหนึ่งก็คือทำไมเมื่อเผ่ายูดาห์ยึดและเผาเมืองไปแล้ว ยังมีชาวเยบุสเหลืออยู่ คำตอบ เมื่ออ่านพระธรรมสองข้อนี้พร้อม ๆ กัน ก็ดูเหมือนว่าจะขัดแย้งกัน ดังนั้นเราต้องมาพิจารณาความเป็นมาของการยึดครองแผ่นดินคานาอันของคนอิสราเอล ว่าพวกเขามีการปฏิบัติอย่างไร เมื่อโยชูวานำชนชาติอิสราเอลเข้าโจมตีแผ่นดินคานาอันนั้น คนอิสราเอลถูกต่อต้านจากชาวคานาอันที่รวมตัวกันพระธรรมโยชูวาบันทึกว่า กษัตริย์อาโดนีเซเดกกษัตริย์ที่ปกครองเยรูซาเล็มได้รวบรวมกษัตริย์อีก 4 องค์มาต่อสู้กับคนอิสราเอล” ด้วยเหตุนี้อาโดนีเซเดกกษัตริย์แห่งเยรูซาเล็มจึงทรงให้ไปหาโฮฮัมกษัตริย์แห่งเฮโบรนและปิรามกษัตริย์แห่งยารมูทและยาเฟียกษัตริย์แห่งลาคีชและเดบีร์กษัตริย์แห่งเอโลน” (ยชว.10:3) เมื่อทำการรบกษัตริย์ทั้งห้าก็ได้พ่ายแพ้ต่อกองทัพอิสราเอลกษัตริย์ทั้งห้าได้เข้าไปแอบในถ้ำ โยชูวาได้สั่งให้ทหารปิดปากถ้ำไว้แล้วให้ทหารไล่ติดตามทหารที่เหลือไปจนทหารที่แตกพ่ายได้เข้าไปอยู่ในเมือง โยชูวาจึงให้ทหารนำกษัตริย์ทั้งห้าออกมาประหารชีวิตเมื่อประหารชีวิตกษัตริย์เหล่านี้แล้วก็ได้ยกกองทัพไปยึดเมืองได้อีกหลายเมือง แต่ไม่ได้กล่าวถึงการยึดเยรูซาเล็ม (โยชูวา10:22-43) เป็นไปได้ว่าหลังจากสมัยของโยชูวายังมีคนเหลืออยู่ในกรุงเยรูซาเล็ม ต่อมาในสมัยผู้วินิจฉัยเผ่ายูดาห์และเผ่าสิเมโอนได้ยกกองทัพเข้ายึดอาณาเขตที่ได้ถูกจัดแบ่งไว้ให้ ซึ่งเมื่อเราพิจารณาชื่อเมืองที่โยชูวาแบ่งให้เผ่าต่างๆ เราก็จะพบว่าชื่อของเยรูซาเล็มปรากฏอยู่ในอาณาเขตของเผ่ายูดาห์ ตามโยชูวา 15:63 ที่กล่าวว่า “แต่คนเยบุสซึ่งเป็นชาวเมืองเยรูซาเล็มนั้นคนยูดาห์ไม่สามารถขับไล่ไปได้คนเยบุสจึงอาศัยอยู่กับคนยูดาห์จนถึงทุกวันนี้” ในขณะเดียวกันเผ่าเบนยามินก็ได้รับเยรูซาเล็มเป็นมรดกด้วยในโยชูวา18:28 “เศลาหะเอเลบุส (คือเยรูซาเล็ม) กิเบอาห์และคีริยาทรวมเป็น 14 เมืองกับหมู่บ้านโดยรอบเมืองนั้นๆ ด้วย นี่เป็นมรดกของพงศ์พันธุ์เบนยามินตามตระกูลของเขา” เมื่อเราพิจารณาจากแผนที่ประกอบเราก็อาจจะพอเข้าใจได้ว่าเยรูซาเล็มเป็นเมืองที่อยู่ชายแดนของทั้งสองเผ่า บางส่วนของเมืองอาจจะอยู่ในส่วนของยูดาห์และอีกส่วนอยู่ในเขตแดนของเบนยามิน ลักษณะที่เมืองหนึ่งอยู่ในสองอาณาเขต ก็พอให้เราเห็นได้ในปัจจุบัน เช่น Kansas City ซึ่งเป็นเมืองเก่าแก่ของประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อมีการแบ่งเขตแดนของรัฐใหม่เมือง Kansas ส่วนใหญ่จะอยู่ในเขตของรัฐ Missouri อีกส่วนหนึ่งที่ไม่ค่อยเจริญนักก็จะอยู่ในเขตของรัฐ Kansas และจะถูกเรียกรวมกันว่า Kansas City […]

จะปกครองอย่างไรดี? 3/13

จะปกครองอย่างไรดี? มีผู้หนึ่งถามมาว่า  เมื่ออ่านพระธรรมสุภาษิตบทที่ 29  ข้อ 21 ในพระคัมภีร์ไทยหลายฉบับ แล้วเกิดข้อสงสัยสองประการคือ คำกริยาในวรรคแรก ควรเป็นคำใดจึงถูกต้องกับบริบท? บางฉบับว่า “ประคบประหงม” บางฉบับว่า “ทนุถนอม” (ซึ่งควรแก้ไขให้ถูกต้องเป็น “ทะนุถนอม”) และบางฉบับว่า “ตามใจ” เนื้อความในวรรคสอง ควรเป็นอย่างไร? เพราะคำแปลต่างฉบับต่างกัน ขอเชิญพิจารณาดูคำแปลจากพระคริสตธรรมคัมภีร์ไทยฉบับต่างๆ ข้างล่างนี้ คนที่ถนอมเลี้ยงบ่าวของตนมาแต่เด็กที่สุดปลายเขาก็จะทะนงตัวว่าเป็นลูกชาย (ฉบับ1940) บุคคลที่ทนุถนอมคนใช้ของตนตั้งแต่เด็กๆ ที่สุดจะเห็นว่าเขาเป็นผู้รับมรดกของตน (ฉบับ1971) คนที่ตามใจคนรับใช้ของตนตั้งแต่เด็กๆ ในที่สุดจะพบว่าเขานำความยุ่งยากมาให้ (ฉบับ2011) ผู้ตามใจผู้รับใช้ตั้งแต่ผู้รับใช้ยังเป็นเด็ก จะต้องเสียใจในที่สุด (ฉบับคาทอลิก) บุคคลที่ทะนุถนอมคนใช้ของตนตั้งแต่เด็กๆ ที่สุดจะเห็นว่าเขากลายเป็นบุตรชายของตน (ฉบับไทยคิงเจมส์) การประคบประหงมคนรับใช้ตั้งแต่เด็ก เขาจะนำความทุกข์โศกมาให้ในที่สุด (ฉบับอมตธรรมร่วมสมัย) ถ้าเลี้ยงดูคนใช้แต่วัยเยาว์  ให้สิ่งเขาต้องประสงค์จำนงจิต  สักวันหนึ่งจะเสียดายกลายเป็นพิษทุกชนิดของเราเขาครอบครอง (ฉบับประชานิยม) ก่อนอื่นทางสมาคมฯต้องขอออกตัวว่าการนำพระคัมภีร์ฉบับต่างๆมาเทียบเคียงกันนี้มิได้มีจุดประสงค์จะเปรียบเทียบว่าฉบับใดดีกว่าฉบับใดเพียงแต่ต้องการให้ผู้อ่านเห็นความแตกต่างในคำแปลของฉบับต่างๆและพยายามหาความหมายออกมาต่างหาก. เมื่อพิเคราะห์ดูเนื้อหาโดยรวมของทุกฉบับเราพบความมุ่งหมายของผู้เขียนสุภาษิตข้อนี้ซึ่งนอกจากจะนำเสนอความจริงด้านหนึ่งของชีวิตแล้วยังเตือนสติผู้ใหญ่หรือผู้ปกครองหรือเจ้านายให้ทราบว่าควรจะปฏิบัติต่อคนในบังคับบัญชาหรือคนในปกครองอย่างไรจึงจะส่งผลดีต่อเราและต่อเขา? แม้ว่าสุภาษิตจะกล่าวในเชิงลบแต่แน่นอนว่าผู้เขียนมีความประสงค์ในเชิงบวกโดยเนื้อความในวรรคแรกเป็นสาเหตุและเนื้อความในวรรคสองเป็นผลลัพธ์ซึ่งสืบเนื่องจากการกระทำในวรรคแรก แม้ว่าสังคมสมัยพระคัมภีร์จะต่างจากสังคมปัจจุบันบ้างกล่าวคือคนรับใช้หรือบ่าวไพร่ในสมัยนั้นอยู่กับเจ้านายตั้งแต่เกิดก็มีเนื่องจากบิดามารดาของเขาเป็นทาสหรือข้ารับใช้ในบ้านนั้นแต่เริ่มแรกดังนั้นคนรับใช้จึงเป็นเด็กในการปกครองของเจ้านายคล้ายบุตร ด้วยเหตุนี้หลักการต่างๆในพระธรรมสุภาษิตที่เกี่ยวกับการปฏิบัติต่อคนรับใช้และต่อบุตรจึงอาจนำมาประสานกันได้บ้างตามควรจะขอหยิบยกตัวอย่างจากสุภาษิตบทที่29 ข้อ15 ,17,19 และ21ฉบับ2011 เราพบหลักการปฏิบัติต่อบุตรในข้อ15 และ17 อีกทั้งหลักการต่อคนรับใช้ในข้อ19 และ21 […]

รองเท้าเกี่ยวข้องกับข่าวประเสริฐอย่างไร? 2/13

รองเท้าเกี่ยวข้องกับข่าวประเสริฐอย่างไร? หลายคนอาจจะสงสัยว่าใครเป็นคนคิดทำรองเท้าเป็นคนแรก ถ้าจะค้นหาจริงๆ ก็อาจจะไม่มีใครรู้ แต่การที่มนุษย์เราใส่รองเท้านี้นับว่าเป็นอารยธรรมเก่าแก่มาก Cameron Kippen 2013 ได้เขียนไว้ใน History of Sandals blogspot  ของเขาว่ารองเท้านี้น่าจะมีใช้กันในวัฒนธรรมเก่าแก่ของมนุษย์ที่อยู่ระหว่างแม่น้ำไทกริสและยูเฟรติส ซึ่งกินอาณาบริเวณกว้างมาก ถ้าจะพูดถึงประเทศในปัจจุบันก็คือดินแดนที่เริ่มจากอิหร่านไปจนถึงซีเรียในปัจจุบัน อารยธรรมเก่าแก่สมัยโบราณก็ได้แก่พวกสุมาเรียนที่อยู่ในดินแดนเมโสโปเตเมียเป็นอารยธรรมเก่าแก่ตั้งแต่สมัยประมาณ4,000ปีก่อนคริสตกาล ในพระคริสตธรรมคัมภีร์เรื่องของเท้าถูกกล่าวถึงครั้งแรกในพระธรรมปฐมกาล“แม้เส้นด้ายหรือสายรัดรองเท้าหรือทุกอย่างที่เป็นของของท่านข้าพเจ้าก็จะไม่รับเพื่อไม่ให้ท่านพูดได้ว่า‘เราได้ทำให้อับรามมั่งมี’” (ปฐก.14:23) คำพูดนี้เป็นคำพูดของอับราฮัมที่กล่าวกับกษัตริย์เมืองโสโดมในบริบทนี้เราจะเห็นว่าเส้นด้ายและสายรัดรองเท้าเป็นสิ่งเล็กน้อยมากแสดงว่ารองเท้าเป็นสิ่งที่มีมานานแล้วอับราฮัมก็มีรกรากดั้งเดิมอยู่ที่เมโสโปเต-เมียก่อนที่จะอพยพมาอยู่ที่ดินแดนคานาอันแต่อย่างไรก็ดีการใช้รองเท้าหรือรองเท้าแตะที่มีสายรัดก็เป็นสิ่งที่มีแพร่หลายอยู่ในคานาอันอยู่แล้วการใส่รองเท้าจึงเป็นสิ่งปกติตั้งแต่สมัยโบราณ การถอดรองเท้ามีความหมายหลายอย่าง ประการแรก การถอดรองเท้าเป็นการแสดงความเคารพต่อสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เช่นเมื่อโมเสสได้พบกับพระเจ้าที่พุ่มไม้เพลิงพระเจ้าได้ตรัสให้โมเสสถอดรองเท้าออก(อพย.3:5; กจ.7:33) และก่อนที่โยชูวาจะเข้ายึดเมืองเยรีโคท่านได้พบกับทูตของพระเจ้าผู้เป็นจอมทัพของพระเจ้าและทูตนั้นก็ได้บอกให้โยชูวาถอดรองเท้าออก(ยชว.5:15) อีกสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจคือปุโรหิตหรือมหาปุโรหิตจะต้องสวมชุดตำแหน่งเพื่อปรนนิบัติพระเจ้าในพลับพลาหรือพระวิหารแต่เราจะไม่พบว่ามีรองเท้าอยู่ในชุดตำแหน่งนั้นเลยเป็นไปได้ว่าเมื่อปุโรหิตหรือมหาปุโรหิตทำหน้าที่นั้นจะไม่ได้สวมรองเท้าเลย ประการที่สอง การไม่สวมรองเท้านั้นแสดงถึงการไว้ทุกข์เช่นใน2ซมอ.15:30; อสค.24:17, 23ประการที่สามเชลยและทาสจะไม่ได้สวมรองเท้า(2พศด.28:15; อสย.20:2) ประการที่สี่?เป็น การตำหนิคนที่ไม่ทำหน้าที่ของญาติสนิทในกรณีที่หญิงม่ายที่ถูกน้องชายของ สามีปฏิเสธที่จะทำหน้าที่สามีแทนโดยรับนางเป็นภรรยาเพื่อจะมีผู้สืบสกุลพี่ ชายต่อไปหญิงม่ายจะถอดรองเท้าของน้องชายของสามีออกต่อหน้าสาธารณชนแล้วถ่ม น้ำลายใส่หน้าเขาเพื่อเป็นการตำหนิเขา(ฉธบ.25:9-10) ประการที่ห้าการถอดรองเท้าแสดงถึงการผูกมัดทางกฎหมายที่มีการตกลงกันอย่างเป็นทางการคล้ายๆกับการลงลายมือชื่อในปัจจุบัน(นรธ. 4:7) ประการที่หกพระเจ้าทรงโยนรองเท้าของพระองค์เหนือเอโดม(สดด. 60:8; 108:9) น่าจะมีความหมายว่าพระเจ้าจะยึดครองแผ่นดินเอโดม ส่วนการสวมรองเท้านั้นก็มีความหมายได้หลายอย่างเหมือนกันได้แก่ ประการแรกการสวมรองเท้าเล็งถึงการเตรียมพร้อมเช่นในอฟ.6:15พูด ถึงการให้คริสตชนสวมรองเท้าแห่งข่าวประเสริฐในสมัยที่คนอิสราเอลจะอพยพออก จากอียิปต์พระเจ้ารับสั่งคนอิสราเอลให้เตรียมพร้อมที่จะออกจากอียิปต์ด้วย การรับประทานปัสกาขณะยังสวมรองเท้าอยู่ (อพย.12:11) ประการที่สองเป็นการเล็งถึงการเอาใจใส่ดูแลของพระเจ้าขณะคนอิสราเอลเดินทางอยู่ในถิ่นทุรกันดารนานถึง40ปีพระเจ้าทรงดูแลเอาใจใส่พวกเขาพระเจ้าตรัสว่า“เราได้นำพวกเจ้าอยู่ในถิ่นทุรกันดารสี่สิบปีเสื้อผ้าของเจ้าไม่ได้ขาดวิ่นไปจากเจ้าและรองเท้าไม่ได้ขาดหลุดไปจากเท้าของเจ้า” (ฉธบ. 29:5) ประการที่สามรองเท้าเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญอย่างหนึ่งที่สาวกสิบสองคนจะต้องมีติดตัวเมื่อพระเยซูใช้ให้พวกเขาออกไปสั่งสอนและขับผีตามหมู่บ้านต่างๆ“แต่ให้สวมรองเท้าและไม่ให้สวมเสื้อสองตัว” (มก. 6:9) ถ้าดูตามพระธรรมข้อนี้คือผู้ที่จะประกาศข่าวประเสริฐจะต้องมีรองเท้า1คู่และเสื้อ1ชุดไม่ต้องมีกระเป๋าและไม่ต้องมีเงินแสดงว่าต้องออกไปอย่างรีบเร่งและพระเจ้าจะเป็นผู้จัดเตรียมสิ่งจำเป็นข้างหน้าให้หากเราอ่านเรื่องเดียวกันนี้ในพระธรรมเล่มอื่นจะมีความแตกต่างบางอย่างในพระธรรมลูกาพระเยซูตรัสว่า“อย่าเอาถุงเงินหรือย่ามหรือรองเท้าไปและอย่าทักทายใครตามทาง” (ลก.10:4) หากเราอ่านอย่างผิวเผินเราอาจจะเข้าใจผิดว่าเป็นคำสั่งให้เดินเท้าเปล่าแต่ถ้าเราอ่านเรื่องเดียวกันในพระธรรมมัทธิวเราจะพบข้อมูลเพิ่มเติมอีกในพระธรรมมัทธิวพระเยซูตรัสว่า“อย่าเอาย่ามหรือเสื้อสองตัวหรือรองเท้าอีกคู่หรือไม้เท้าเพราะว่าคนที่ทำงานก็สมควรจะได้อาหารกิน” (มธ.10:10) เมื่อเราอ่านพระธรรม3ตอนนี้แล้วจะเห็นว่าคนที่จะออกไปประกาศหรือรับใช้พระเจ้าไม่ต้องเตรียมหรือเอาอะไรติดตัวไปเลยมีเสื้อที่สวมอยู่และรองเท้าที่สวมอยู่เพียงคู่เดียวก็พอแล้วไม่ต้องเอาเสื้อใหม่หรือรองเท้าใหม่ไปอีกคู่หนึ่ง […]

จุ๊ จุ๊… จงเงียบ 1/13

จุ๊ จุ๊… จงเงียบ ถาม ทำไมหลายตอนในพระคริสตธรรมคัมภีร์ฉบับมาตรฐานจึงต่างจากฉบับเดิม? เนื้อความบางตอนก็แปลกๆ อ่านแล้วไม่เข้าใจ  ยกตัวอย่าง พระธรรมอาโมสบทที่ 8 ข้อที่ 3 เนื้อหาคำแปลต่างจากฉบับอื่นๆ ? ดังนั้นจึงอยากให้สมาคมพระคริสตธรรมไทยตรวจสอบคำแปลอีกครั้ง เพื่อผู้อ่านจะไม่เข้าใจผิดหรือรู้สึกงง ตอบ ก่อนจะตอบคำถาม ก็ขอเริ่มต้นด้วยการทำความเข้าใจกับพระคริสตธรรมคัมภีร์ฉบับมาตรฐาน 2011 พระคัมภีร์ฉบับนี้เป็นการแก้ไขคำแปลจากพระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับ 1971 โดยตรวจสอบคำแปลอย่างใกล้ชิดกับสำเนาต้นฉบับภาษาเดิม และยึดหลักว่า หากคำแปลในฉบับ 1971 ดีอยู่แล้ว (หมาย ความว่า 1.คำแปลถูกต้องกับความหมายในภาษาเดิมคือ ภาษาฮีบรู ภาษาอาราเมค และภาษากรีก ซึ่งพระเจ้าทรงใช้บันทึกพระวจนะของพระองค์และ 2.คำแปลนั้นยังสามารถสื่อความหมายได้ดีกับคนไทยในปัจจุบัน) คณะ กรรมการแก้ไขพระคัมภีร์ก็จะรักษาคำแปลนั้นไว้โดยไม่แก้ไขแต่อย่างใด หากตรงกันข้าม คำแปลเดิมนั้นไม่สื่อความหมายของภาษาเดิม หรือ ไม่อาจทำหน้าที่ได้ดีเหมือนก่อนแล้ว คณะกรรมการก็จำเป็นต้องแก้ไขเท่าที่จำเป็น เพื่อผู้อ่านจะสามารถเข้าใจความหมายของพระคัมภีร์ได้อย่างสมบูรณ์ ดังนั้น คำแปลฉบับมาตรฐานจึงต่างจากฉบับ 1971 บ้างในบางตอนเป็นธรรมดา ความแตกต่างไม่ได้เป็นสาระสำคัญเท่ากับความเข้าใจในความหมายภาษาเดิม แม้ว่าความแตกต่างอาจกระทบความรู้สึกคุ้นเคยกับฉบับเดิมบ้างก็ตาม สมาคมฯ ได้ตีพิมพ์พระคัมภีร์ฉบับมาตรฐานออกมาในปี ค.ศ. 2011 โดยประสงค์จะให้พี่น้องคริสตชนได้อ่าน ได้ศึกษา ได้ใคร่ครวญพระวจนะในภาษาที่เข้าใจง่าย […]

1 2 3 4 5 6 10