ทำไมพระคัมภีร์ฉบับมาตรฐานเปลี่ยนจากคำว่า “เจิม” เป็น “ชโลม”? 4/12

ทำไมพระคัมภีร์ฉบับมาตรฐานเปลี่ยนจากคำว่า “เจิม” เป็น “ชโลม”? ความจริงพระคริสตธรรมคัมภีร์ฉบับมาตรฐานยังคงรักษาคำว่า “เจิม” ไว้ในกรณีที่บริบทนั้นเกี่ยวข้องกับการแต่งตั้ง หรือ การคัดสรร แต่หากหมายถึงการชำระร่างกายก็จะใช้คำว่าชโลม เพราะคำว่า เจิมในภาษาไทยนั้นมีความหมายไม่เหมือนกับคำว่า anoint ในภาษาอังกฤษทุกครั้ง ถ้าเราจะตรวจดูว่า คำว่า “anoint” เราก็จะพบคำแปลใน Dictionary English-Thai ฉบับ LEXiTRON แปลความหมายเป็นไทยว่า “แต่งตั้ง” หรือ “ทาด้วยน้ำมัน” ความหมายของคำว่า “เจิม” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2542 ได้ให้คำนิยามว่าเอาแป้งหอมแต้มเป็นจุดๆ ที่หน้าผากหรือสิ่งที่ต้องการให้มีสิริมงคล; เสริม, เพิ่ม, เช่น เจิมปากกระทง สิ่งที่เราเห็นความแตกต่างที่ชัดเจนคือ ธรรมเนียมปฏิบัติในการเจิมของไทยคือ เอาแป้งหอมมาแต้มเป็นจุดๆ ที่หน้า ผาก แต่ในขณะที่การเจิมของพระคัมภีร์เดิมนั้นจะใช้นำ้มันที่บรรจุในเขาสัตว์แล้ว เทลงบนศีรษะของผู้รับการเจิม คนไทยส่วนใหญ่เมื่อได้ยินคำว่า “เจิม” จะคิดถึงการเอาแป้งแต้มที่หน้าผากมากกว่าคิดถึงการเทน้ำมันลงบนศีรษะ ในพระคัมภีร์เดิมมีคำกริยาฮีบรู 2 คำที่ใช้กับการชโลมและการเจิมด้วยน้ำมันมะกอกคือคำว่า “ซูค”   มักจะใช้ในบริบทที่น้ำมันมะกอกนั้นเป็นยาหรือเครื่องสำอางที่ใช้กับร่างกาย และคำว่า “มาชาฆ”  ซึ่ง เป็นคำกริยามักจะใช้กับบริบทที่เกี่ยวกับพิธีกรรมทางศาสนาคือ […]

ทำไมพระคัมภีร์ฉบับมาตรฐานจึงเปลี่ยนระบบชั่ง ตวง วัดแบบโบราณ เป็นระบบเมตริก? 3/12

ทำไมพระคัมภีร์ฉบับมาตรฐานจึงเปลี่ยนระบบชั่ง ตวง วัดแบบโบราณ เป็นระบบเมตริก? พระคริสตธรรมคัมภีร์ฉบับ 1971 ที่จัดทำโดยสมาคมพระคริสตธรรมไทยนั้นได้รักษาคำแปลของมาตรา ชั่ง ตวง วัดแบบโบราณโดยได้จัดพิมพ์มาตราชั่ง ตวง วัด (เทียบมาตราเมตริก) ไว้ด้านหน้า โดยแบ่งเป็นหัวข้อดังต่อไปนี้ คือ การชั่งในพันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่ การตวงในพันธสัญญาเดิม แบ่งเป็นการตวงของแห้งกับการตวงของเหลว การวัดในพันธสัญญาเดิม การวัดที่ใช้เฉพาะในพระธรรมเอเสเคียล และการวัดในพันธสัญญาใหม่ หาก ผมจะถามผู้อ่านว่า เคยใช้ประโยชน์จากตารางมาตราดังกล่าวอย่างจริงจังบ้างหรือไม่? ก็คงจะพอจะเดาคำตอบว่า ไม่เคยใช้ หรือ ไม่ค่อยใช้ และเมื่อท่านอ่านพระคัมภีร์ที่มีการบอกขนาด หรือ น้ำหนัก หรือปริมาตรในระบบ การชั่ง ตวง วัดแบบโบราณ ท่านสามารถจินตนาการได้หรือไม่? เท่า ที่สังเกตผู้ที่อ่านพระคัมภีร์ฉบับ 1971 เมื่ออ่านถึงหน่วยของการชั่ง ตวง วัด ก็มักจะอ่านผ่านไปโดยไม่ได้คิดอะไร เพราะถึงแม้จะอ่านออกแต่ก็จะไม่สามารถรู้ได้ว่า ขนาด หรือ น้ำหนัก หรือปริมาตรที่แท้จริงเป็นเท่าไร เนื่องจากหน่วยที่ใช้ยังเป็นระบบโบราณท่ต้องแปลงมาให้เป็นระบบที่เข้าใจได้ ในปัจจุบัน แต่ถึงแม้มีหน่วยบางอย่างที่มีชื่อที่คุ้นเคยเหมือนการวัดของไทยคือคืบและ ศอกเราก็พบว่า 1 คืบของไทยนั้นเท่ากับ […]

ตัวกระจงผา มีลักษณะอย่างไร? ทำไมจึงปรับเปลี่ยนคำแปลจาก ตั๊กแตน เป็น ตั๊กแตนปาทังก้า… 2/12

ตัวกระจงผา มีลักษณะอย่างไร? ทำไมจึงปรับเปลี่ยนคำแปลจาก “ตั๊กแตน” เป็น “ตั๊กแตนปาทังก้า” และจาก “ตุ๊กแก” เป็น “จิ้งจก”? มีผู้สนใจอยาก ทราบว่าในพระธรรมสุภาษิต 30:24-28 ตัวกระจงผา มีลักษณะอย่างไร? ทำไมจึงปรับเปลี่ยนคำแปลจาก “ตั๊กแตน” เป็น “ตั๊กแตนปาทังก้า” และจาก “ตุ๊กแก” เป็น “จิ้งจก” ? ดังนั้น เพื่อให้ผู้ถามและผู้อ่านได้รับประโยชน์มากที่สุด เราจะอธิบายความหมายของทั้งตอนนี้และตอบคำถามไปในเวลาเดียวกัน มีสี่สิ่งในโลกที่เล็กเหลือเกิน แต่มีปัญญามากเหลือล้น มด เป็นประชากรที่ไม่แข็งแรง แต่มันยังเตรียมอาหารของมันไว้ในฤดูแล้ง ตัวกระจงผา เป็นประชากรที่ไม่มีกำลัง แต่มันยังสร้างบ้านของมันในซอกหิน ตั๊กแตนปาทังก้าไม่มีราชา แต่มันทั้งหมดยังเดินขบวนเป็นแถว จิ้งจกนั้น เจ้าเอามือจับได้ แต่มันยังอยู่ในพระราชวัง มีสี่สิ่งในโลกที่เล็กเหลือเกิน แต่มีปัญญามากเหลือล้น สุภาษิต 30:24 ท่านอากูร์ได้พิเคราะห์ดูสิ่งมีชีวิตในโลก แล้วท่านเห็นสัตว์สี่ชนิดที่ดูเล็กน้อย แต่มีปัญญาเหลือล้นซ่อนอยู่ในชีวิตของพวกมัน พระธรรมข้อนี้เป็นบทนำและบทสรุปของตอนคือ สุภาษิต 30:24-28 เล็ก ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงขนาดอย่างเดียว แต่หมายถึงความสำคัญด้วย ดูตัวอย่าง ดาวิดเล็กน้อยในสายตาของเจสซีผู้เป็นบิดา […]

ตรีเอกานุภาพควรแปลว่าอย่างไร? 1/12

ตรีเอกานุภาพควรแปลว่าอย่างไร?  ถาม ตรีเอกานุภาพควรแปลว่าอะไร? ตอบ ก่อนอื่นต้องขอตอบว่า คำนี้ไม่ได้ปรากฏในพระคริสตธรรมคัมภีร์เลยแม้แต่ครั้งเดียว แต่เป็นคำสอนเกี่ยวกับพระลักษณะของพระเจ้าที่ปรากฏในพระคริสตธรรมคัมภีร์ คำๆ นี้เป็นคำที่แปลมาจากภาษาอังกฤษคือคำว่า Trinity ซึ่ง มีความหมายกว้างๆ ว่า สามรวมเป็นหนึ่ง นักวิชาการหลายท่านจึงเสนอว่าควรจะแปลว่า ตรีเอกภาพ เรื่องนี้ไม่ใช่เป็นเพียงเรื่องภาษาศาสตร์ แต่เป็นเรื่องทางศาสนศาสตร์ หรือ หลักข้อเชื่อของคริสตชนที่เชื่อในพระเจ้าเที่ยงแท้องค์เดียวแต่ปรากฏเป็นสาม พระภาค หรือ สามบุคคล ได้แก่ พระบิดา พระบุตร (หมายถึงพระเยซูคริสต์) และพระวิญญาณบริสุทธ์ิ (หรือพระจิต) แนวความคิดนี้กว่าจะเป็นที่ยอมรับสำหรับคริสตชนนี้ต้องใช้เวลาโต้แย้งกันใน ระดับผู้นำคริสตจักรเป็นเวลาถึงร้อยกว่าปี เพราะไม่ต้องการให้เกิดความเข้าใจผิดว่า คริสตชนมีพระเจ้าสามองค์ แต่ต้องการถ่ายทอดว่า พระบิดา พระบุตร และพระวิญญาณบริสุทธิ์คือพระเจ้าองค์เดียว เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอย่างสมบูรณ์ ในพระธรรมยอห์น 17:11 พระเยซูได้อธิษฐานเผื่อสาวกให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเหมือนกับพระองค์กับ พระบิดา และได้กล่าวซำ้อีกในข้อ 21 เมื่ออธิษฐานเผื่อคนที่สาวกจะนำมาวางใจในพระเยซูในอนาคตด้วย พระเยซูไม่ทรงปิดบังความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างพระเจ้ากับพระองค์ พระเยซูทรงเรียกพระเจ้าว่า พระบิดาต่อหน้าพวกยิว จนพวกเขาโกรธดังปรากฏในพระธรรมยอห์น 5:17-18 แต่พระเยซูตรัสตอบพวกเขาว่า “พระบิดาของเรายังทรงทำงานอยู่เรื่อยๆ และเราก็ทำด้วย” เพราะเหตุนี้พวกยิวยิ่งหาโอกาสที่จะฆ่าพระองค์ ไม่ใช่เพราะพระองค์ฝ่าฝืนกฎวันสะบาโตเท่านั้น แต่ยังเรียกพระเจ้าเป็นบิดาด้วย ซึ่งเป็นการทำตัวเสมอพระเจ้า […]

เจ็ดสิบคูณเจ็ด ครั้งหรือ เจ็ดสิบเจ็ด ครั้ง? 4/11

เจ็ดสิบคูณเจ็ด ครั้งหรือ เจ็ดสิบเจ็ด ครั้ง? ขณะ นั้นเปโตรมาทูลพระองค์ว่า “องค์พระผู้เป็นเจ้า ข้าพระองค์ควรยกโทษให้พี่น้องที่ทำผิดต่อข้าพระองค์สักกี่ครั้ง? ถึงเจ็ดครั้งเชียวหรือ? พระเยซูตรัสตอบเขาว่า “เราไม่ได้บอกท่านว่าเจ็ดครั้ง แต่เจ็ดสิบครั้งคูณเจ็ด” (มัทธิว 18:21-22 ฉบับมาตรฐาน) Peter came up to the Lord and asked, “How many times should I forgive someone who does something wrong to me? Is seven times enough? Jesus answered: Not just 7 times, but 77 times!* (Matthew 18:21-22, Contemporary English Version, Us […]

ทำไมไม่มี ไม้ หน้า กางเขน? 3/11

ทำไมไม่มี ไม้ หน้า กางเขน? ถาม ทำไมพระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน (THSV) ที่แปลโดยสมาคมพระคริสตธรรมไทย จึงไม่มีคำว่า “ไม้” หน้าคำว่า “กางเขน”? ซึ่งอาจจะทำให้เป็นที่เข้าใจผิดว่าหมายถึง นกกางเขน ได้ ตอบ เราไม่สามารถรู้แน่ชัดว่าคำภาษาไทยนี้ถูกใช้เมื่อไร บางคนบอกว่า น่าจะมาจากคำว่า “กางแขน” แล้วต่อมาเพี้ยนเป็น “กางเขน” ซึ่งเราไม่มีหลักฐานยืนยัน แต่เมื่อค้นย้อนกลับไปดูพระคัมภีร์ฉบับ 1834, 1940 และฉบับ 1971 เราก็พบว่า ทั้งสามฉบับก็ได้เขียนโดยไม่มีคำว่า “ไม้” นำหน้า จึงเป็นไปได้ว่า คนไทยรู้จักคำว่า “กางเขน” มานานมากแล้ว ในพจนานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2493 มีการบัญญัติศัพท์ไว้ทั้งสองอย่างคือ กางเขน และไม้กางเขน โดยมีคำอธิบายประกอบดังนี้ กางเขน น. นกตัวขนาดนกเอี้ยง อกขาว ขนปีกด่าง; ไม้รูปกากบาทเป็นเครื่องหมายคริสต์ศาสนา ถ้าตามพจนานุกรมนี้ก็แสดงว่า เขาละคำว่า “ไม้” ไว้ แต่ก็เป็นที่เข้าใจได้ กางเขนไม่ได้แปลว่านกเพียงอย่างเดียว ไม้กางเขน น. เครื่องหมายของคริสต์ศาสนา […]

สมาคมฯ แปลดีแล้วหรือ? เกี่ยวกับเนื้อความสุดท้ายของพระธรรมเอสรา 4:7 2/11

สมาคมฯ แปลดีแล้วหรือ? เกี่ยวกับเนื้อความสุดท้ายของพระธรรมเอสรา 4:7 ถาม เกี่ยวกับเนื้อความสุดท้ายของพระธรรมเอสรา 4:7 “…ฎีกานั้นได้เขียนขึ้นเป็นอักขระอารัม แล้วก็แปลเป็นภาษาอารัม” ฉบับ 1971 “…จดหมายนั้นได้เขียนขึ้นเป็นภาษาอาราเมคและอธิบายด้วยภาษาอาราเมค” ฉบับมาตรฐาน 2011 ผู้ถามมิได้ สนใจความแตกต่างเล็กน้อยของคำแปลสองฉบับ ไม่ว่าจะเป็น ฎีกาหรือจดหมาย การแปลหรือการอธิบาย ภาษาอารัมหรือภาษาอาราเมค แต่ผู้ถามเห็นว่า ทางสมาคมฯ ได้แปลข้อนี้โดยไม่สื่อความหมายชัดเจนและสมเหตุสมผล กล่าวคือเมื่ออ่านข้อนี้แล้ว ยังทำให้เกิดข้อสงสัยว่า ทำไมจดหมายที่เขียนเป็นภาษาอาราเมคแล้วยังต้องแปลหรืออธิบายด้วยภาษาอาราเม คอีก? เหมือนกับว่า จดหมายเขียนเป็นภาษาไทยแล้ว ทำไมต้องแปลเป็นไทยหรืออธิบายด้วยภาษาไทยอีก? ตอบ เพื่อจะตอบคำถามข้างต้น ขอให้เราทำความเข้าใจบริบทก่อนคือ ในเวลานั้น ศัตรูของคนอิสราเอลไม่ต้องการเห็นกรุงเยรูซาเล็มและพระวิหารได้รับการซ่อม แซม ดังนั้นจึงเขียนจดหมายฟ้องร้องกล่าวโทษคนอิสราเอลไปยังราชสำนักเปอร์เซีย ทั้งในรัชกาลอาหสุเอรัส และในรัชกาลของอาทารเซอร์ซีสกษัตริย์แห่งเปอร์เซีย เพื่อยับยั้งมิให้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์เกิดขึ้น ในพระธรรมเอสรา 4:7 จดหมายนั้นเขียนด้วยภาษาอาราเมค ซึ่งเป็นภาษาทางการของอาณาจักรเปอร์เซีย ซึ่งก็หมายความว่า ราชสำนักเปอร์เซียและกษัตริย์เปอร์เซียรู้ภาษาอาราเมคเป็นอย่างดี เมื่อเป็นเช่นนั้น จึงไม่จำเป็นต้องมีการแปลหรืออธิบายด้วยภาษาใด รวมทั้งภาษาอาราเมคด้วย ดังนั้นข้อความ “แล้วก็แปลเป็นภาษาอารัม” (ฉบับ 1971) “และอธิบายด้วยภาษาอาราเมค” (ฉบับมาตรฐาน 2011) จึงน่าจะละไว้ […]

คำฮีบรูว่า เชคินาห์ หมายความว่าอย่างไร? 1.1/11

คำถามแรกนั้นเกี่ยวกับความหมายของคำฮีบรูคำหนึ่งคือ เชคินาห์ ถาม คำฮีบรูว่า Shekinah มีความหมายว่าอย่างไร ตอบ คำ Shekinah เป็นคำนาม ที่มาจากคำกริยาว่า Shakan ซึ่งแปลว่า พัก,อาศัย ดังนั้น คำ Shekinah จึงแปลว่า การ พัก หรือ การอาศัย หรือ การตั้งรกราก คำนี้ไม่ปรากฏในพระคัมภีร์ฉบับฮีบรู แต่ปรากฏบ่อยครั้งในพระคัมภีร์ทาร์กุม (หมายถึง พระคัมภีร์เดิมฉบับภาษาอาราเมค) นอกจากนี้คำนี้ยังนำมาใช้ในแวดวงศาสนศาสตร์ของคนยิว ในความหมายของการสถิตอยู่ด้วยของพระเจ้าท่ามกลางประชากรของพระองค์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสถิตในพระวิหารที่กรุงเยรูซาเล็ม การสถิตอยู่ด้วยนี้มิใช่ในระยะเวลาอันสั้นแต่เป็นระยะเวลานานหรือถาวร Shekinah แสดงถึงการที่พระเจ้าผู้สูงสุดทรงอยู่ใกล้ชิดกับประชากรของพระองค์อย่างเห็น ได้ชัด ตัวอย่างหนึ่งที่ให้เราเห็น Shekinah ของพระเจ้าคือในพระธรรมอพยพ 40:34-35 ฉบับมาตรฐาน 2011 ว่า “ในขณะนั้น มีเมฆมาปกคลุมเต็นท์นัดพบไว้ และพระรัศมีของพระยาห์เวห์ก็ปรากฏอยู่เต็มพลับพลานั้น. โมเสสเข้าไปในเต็นท์นัดพบไม่ได้ เพราะเมฆปกคลุมอยู่ (shakan)และพระรัศมีของพระยาห์เวห์ก็อยู่เต็มพลับพลานั้น.”โมเสสสัมผัสได้ ถึงการสถิตอยู่ด้วยของพระเจ้าในเต็นนัดพบนั้น และสำหรับคนอิสราเอลแม้ไม่เห็นพระเจ้า แต่ทราบว่าพระองค์สถิตกับพวกเขาโดยสังเกตดูเสาเมฆและเสาไฟ ดังนั้นทั้งเสาเมฆและเสาไฟจึงแสดงถึง Shekinah แก่พวกเขา อนึ่งคำ Shekinah […]

รถรบ หรือ โล่? 1.2/11

รถรบ หรือ โล่? ถาม พระธรรมสดุดี 46:8-9 ฉบับ 1971 มาเถิด มาดูพระราชกิจของพระเจ้า ว่าพระองค์ทรงกระทำให้เริศร้างในแผ่นดินโลกอย่างไร พระองค์ทรงให้สงครามสงบถึงที่สุดปลายแผ่นดินโลก พระองค์ทรงหักคันธนูและฟันหอกเสีย พระองค์ทรงเผารถรบเสียด้วยไฟ พระธรรมสดุดี 46:8-9 ฉบับ Good News Bible (GNB) Come and see what the Lord has done. See what amazing things he has done on earth. He stops wars all over the world; he breaks bows, destroys spears, and sets shields on fire. เมื่ออ่านพระธรรมสดุดี […]

นกยูง หรือ ลิงบาบูน? 1.3/11

นกยูงหรือลิงบาบูน? ถาม พระธรรม 1 พงศ์กษัตริย์ 10:22 ฉบับ 1971 เพราะว่าพระราชามีกองกำปั่น เมืองทารชิช เดินทะเลพร้อมกับกองกำปั่นของฮีราม กองกำปั่นเมืองทารชิชนำทองคำ เงิน งาช้าง ลิง และนกยูงมาสามปี ต่อครั้ง พระธรรม 1 พงศ์กษัตริย์ 10:22 ฉบับมาตรฐาน 2011 (THSV) เพราะ ว่า พระราชา มี กอง เรือ เมือง ทารชิช เดิน ทะเล พร้อม กับ กอง เรือ ของ ฮีราม กอง เรือ เมือง ทารชิช นำทองคำ เงิน งาช้าง ลิง และ นกยูง๘มา สาม ปี ต่อ ครั้ง๘แปลได้อีกว่า ลิงบาบูน พระธรรม […]

1 3 4 5 6 7 10